กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่นส
มาสเตอรการ์ดชี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิกอีก 10 ปีข้างหน้ามาแรง ในงานสัมมนาหัวข้อ อนาคตอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์
จากข้อมูลของสถาบันประชากรศาสตร์แห่งอาเซียนชี้ให้เห็นว่า ภายในปีพ.ศ. 2557 การท่องเที่ยวในเอเชียจะสามารถดูดเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวได้สูงถึง 165 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 6.6 ล้านล้านบาท
ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบัน ประกอบด้วย ดร. ไมเคิล โกลด์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ Universitas 21 Global, ศาสตราจารย์คริสตีน เอนนิว คณบดีคณะกฎหมาย และสังคมศาสตร์ ภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยธุรกิจน็อตติ้งแฮม, ดร. คลิ้นท์ โลรองท์ ผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค สถาบันประชากรศาสตร์แห่งอาเซียน และดร. ยุวะ เฮ็ดริค-หว่อง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ระบุอนาคตการท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิก ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงเติบโต และสร้างเม็ดเงินให้กับเศรษฐกิจของเอเชียอย่างต่อเนื่อง โดยในปีพ.ศ. 2558 ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่จะเป็นรองแชมป์ประเทศในโลกที่สร้างเม็ดเงินให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และสร้างอาชีพเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการบริการ
ฝ่ายดร. ยุวะ เฮ็ดริค-หว่อง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล ชี้ว่า การเพิ่มขึ้นของเงินเดือน การให้เครดิตทางการเงินง่ายขึ้น การเพิ่มขึ้นของสายการบินโลว์คอสต์ การมีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคให้บูมอย่างเห็นได้ชัการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ทำให้รูปแบบการใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวเปลี่ยนไปด้วย จากผลการวิเคราะห์วงจรชีวิตของนักท่องเที่ยว พบว่านักท่องเที่ยวที่มาจากครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่า 4,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 1.6 แสนบาทต่อปี จะมีจำนวนมากขึ้นกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ จาก 384 ล้านคนเมื่อปีก่อน เป็น 639 ล้านคนภายในปีพ.ศ. 2557
นอกจากนี้ผลการวิจัยยังเผยถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้หญิงในเอเชียที่มีแนวโน้มเดินทางท่องเที่ยว และใช้เงินมากขึ้นนำไปสู่กลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ที่เรียกว่า กลุ่มท่องเที่ยวช้อปปิ้ง ซึ่งคาดว่าจะมีการใช้จ่ายเงินสูงถึง 13.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 536,000 ล้านบาท ภายในปีพ.ศ. 2554 ในสี่เมืองช้อปปิ้งสุดฮิต ได้แก่ ฮ่องกง โซล สิงคโปร์ และไทย
สำหรับประเทศที่ติดอันดับเมืองช้อปปิ้งยอดฮิตในเอเชีย มีทั้งหมด 4 เมืองด้วยกัน คือ ฮ่องกง นำโด่งขึ้นแท่นแชมป์สวรรค์การช้อปปิ้ง โดยคาดว่าจะสามารถดูดเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวได้สูงถึง 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 440,000 ล้านบาท ภายในปีพ.ศ. 2549 ตามมาติดๆ ด้วยอันดับสอง คือ กรุงเทพฯ ที่คาดว่าจะสามารถดูดเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวได้มากถึง 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 140,000 ล้านบาท อันดับสามคือโซล ประเทศเกาหลี ที่คาดว่จะมีนักท่องเที่ยวมาใช้เม็ดเงินราว 3,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 124,000 ล้านบาท รั้งท้ายสุดอันดับสี่ ได้แก่ เมืองลอดช่อง สิงคโปร์ ที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวไหลมาราว 2,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 116,000 ล้านบาท
ปัจจัยหลักที่ทำให่ฮ่องกงครองแชมป์เมืองช้อปปิ้งยอดฮิตในเอเชีย เกิดจากความหลากหลายของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าแบรนด์เนมที่มีให้เลือกแทบทุกแบรนด์จากทั่วโลก ส่วนกรุงเทพฯ มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรม และสินค้าแฮนด์เม้ดที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างชัดเจน
ข้อมูลเกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ดอินคอร์เปอเรท
มาสเตอร์การ์ด อินคอร์เปอเรท เป็นบริษัทชั้นนำด้านโปรแกรมการชำระเงินระดับโลก ที่เสนอรูปแบบนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการบริการต่างๆมากมาย อาทิ บัตรเครดิต, การฝากเงิน, การเบิกเงินสดอิเล็คทรอนิค และการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมไปถึงโปรแกรมการใช้จ่ายต่างๆ มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล จึงได้รับการยอมรับว่าแบรนด์การชำระเงินที่มีชื่อเสียงภายใต้โลโก้ MasterCard Maestro และ Cirrus ทั้งยังให้บริการต่อสถาบันการเงิน ผู้บริโภค และองค์กรธุรกิจต่างๆกว่า 210 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ แคมเปญโฆษณา Priceless ของมาสเตอร์การ์ดซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้เผยแพร่ไปแล้วกว่า 105 ประเทศ และดัดแปลงเป็นภาษาต่างๆ ถึง 48 ภาษา ทำให้มาสเตอร์การ์ดเป็นแบรนด์ที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วทุกมุมโลกและครอบคลุมผุ้บริโภคทั่วโลกอย่างแท้จริง
ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลของมาสเตอร์การ์ดได้ที่เว็บไซต์ www.mastercardinternational.com--จบ--
- ม.ค. ๒๕๖๘ เวทีนโยบายสาธารณะ จินตนาการความเป็นไทยกับสถานการณ์ความไม่สงบภาคใต้
- ๒๕ ม.ค. ผถห. PLANET ไฟเขียวเพิ่มทุน-แจกวอร์แรนต์ 3:1
- ๒๕ ม.ค. The Way Communication ร่วมสนับสนุนกิจกรรมงาน "เทียนส่องใจ" สภากาชาดไทย เนื่องในวันเอดส์โลก ประจำปี 2567
- ๒๕ ม.ค. PLANET ผนึก SIEMENS จัดสัมมนาเสริมแกร่ง ป้องกันภัยไซเบอร์ในไทย