ก.ไอซีที จับมือ 2 สถาบันการศึกษา พัฒนาหลักสูตรปริญญาโทด้านโทรคมนาคมรองรับ AEC

พุธ ๒๕ เมษายน ๒๐๑๒ ๒๐:๐๗
นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการโทรคมนาคม เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2558 ว่า ในปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญและมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554 — 2563 ของไทย ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ก็ได้กำหนดให้มีการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT โดยใช้โอกาสจากการเปิดเสรีการค้าและประชาคมอาเซียน ซึ่งมาตรการและกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรม ICT ให้มีความรู้และมีทักษะระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและผลักดันการส่งเสริมอุตสาหกรรม ICT จึงได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการโทรคมนาคม เพื่อเตรียมความพร้อมในการผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย โดยเฉพาะมาตรฐานบุคลากรด้านโทรคมนาคม ที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 3 ปี ข้างหน้า

ด้าน นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า เป้าหมายหลักของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การนำประเทศสมาชิกอาเซียนไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของภูมิภาค การลดช่องว่างความแตกต่างของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงการบูรณาการสู่ประชาคมเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้มีการรับรองแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2015 (ASEAN ICT Master Plan 2015) เพื่อนำมาใช้เป็นแผนในการกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือและกรอบการดำเนินงานด้าน ICT ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีเป้าหมายสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการผลักดันให้อาเซียนมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. อาเซียนได้รับการยอมรับในฐานะเป็นศูนย์กลางด้าน ICT ของโลกแห่งหนึ่ง 3. ประชากรอาเซียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 4. ให้ ICT มีส่วนช่วยส่งเสริมการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้มีการบูรณาการงานพัฒนาบุคลากรด้าน ICT เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพของบุคลากรตั้งแต่ระดับสถาบันการศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรม ICT โดยการร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วางแผนจัดทำโครงการความร่วมมือหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการโทรคมนาคม (หลักสูตรนานาชาติ) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพด้าน ICT อันเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทในการเป็นศูนย์กลางด้าน ICT ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งกระทรวงฯ มีความยินดี ในการช่วยประสานงานกับภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุนบุคลากรที่สนใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรดังกล่าว รวมถึงประสานงานเพื่อจัดหาวิทยากรพิเศษมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม