สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย (สออ. ประเทศไทย) เดินหน้าพัฒนาวิชาชีพครูและ คณาจารย์ระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ

จันทร์ ๓๐ เมษายน ๒๐๑๒ ๑๑:๑๕
สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย (สออ. ประเทศไทย) เดินหน้าพัฒนาวิชาชีพครูและ คณาจารย์ระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศจัดงานมอบรางวัล “โครงการรางวัลอาจารย์ดีเด่น สออ.ประเทศไทย (ASAIHL-Thailand Awards) พ.ศ. 2554”

ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย (สออ.ประเทศไทย) กล่าวว่า สออ.ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อที่จะช่วยเหลือมหาวิทยาลัย/สถาบันสมาชิกให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยผ่านการช่วยเหลือและร่วมมือซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติในเรื่องการสอน การวิจัย และบริการชุมชน จึงได้จัดกิจกรรมระหว่างสมาชิกซึ่งประกอบด้วย 37 สถาบันทั่วประเทศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยพะเยามหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

การดำเนินงานของ สออ.ประเทศไทย มีการจัดการประชุมสามัญ สออ.ประเทศไทย ปีละ 3 ครั้ง การจัดประชุมทางวิชาการ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปเสนอบทความทางวิชาการ(Country Report) การจัดทำวารสาร สออ.ประเทศไทย ปีละ 2 ฉบับ ซึ่งเป็นวารสารรวบรวมบทความ

ในการนำเสนอในการประชุมทางวิชาการ สออ.ประเทศไทย ตลอดจน รายงานความเคลื่อนไหวในแง่มุมต่าง ๆ ของวงการการศึกษามาโดยตลอด อีกทั้งยังจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการประกอบภารกิจด้านการเรียนการสอนของคณาจารย์ระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการอุดมศึกษาไทย ยกย่องและธำรงรักษาไว้ซึ่งเกียรติคุณแห่งวิชาชีพครู และเป็นตัวอย่างให้เยาวชนเจริญรอยตาม อีกทั้งเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจในการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ ทักษะการเรียนการสอน อันจะยังประโยชน์ต่อบัณฑิตให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต สออ.ประเทศไทย จึงได้จัด “โครงการรางวัลอาจารย์ดีเด่น สออ.ประเทศไทย” อย่างต่อเนื่องซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 2 โดยแบ่งรางวัลออกเป็น 2 ประเภท คือ รางวัลอาจารย์อาวุโสดีเด่น และรางวัลอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาสังคมศาสตร์ และสาขามนุษยศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติในอนาคต

รางวัลอาจารย์ดีเด่น “โครงการรางวัลอาจารย์ดีเด่น สออ.ประเทศไทย (ASAIHL-Thailand Awards) พ.ศ. 2554” มหาวิทยาลัย/สถาบันสมาชิก สออ.ประเทศไทย เป็นผู้เสนอชื่ออาจารย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด พร้อมทั้งส่งประวัติ และผลงานเข้าสมัคร การพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น จะพิจารณาครอบคลุมถึงผลงานในอดีตที่ผ่านมา สภาพงานในปัจจุบัน ตลอดจนเจตคติและบุคลิกภาพ โดยมีอาจารย์ที่ได้รับการเสนอชื่อกว่า 100 ท่าน ซึ่งอาจารย์ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่น “โครงการรางวัลอาจารย์ดีเด่น สออ. ประเทศไทย (ASAIHL-Thailand Award) พ.ศ. 2554”

มีดังนี้

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเภทรางวัลอาจารย์อาวุโสดีเด่น ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดม ทิพราช มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ประเภทรางวัลอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น ได้แก่ อาจารย์ ดร.ขรรค์ชัย โกศลทองกี่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ประเภทรางวัลอาจารย์อาวุโสดีเด่น ได้แก่ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจมหาวิทยาลัยมหิดล

ประเภทรางวัลอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฟื่องลดา ทองประเสริฐ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สาขาสังคมศาสตร์

ประเภทรางวัลอาจารย์อาวุโสดีเด่น ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ประเภทรางวัลอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น ได้แก่ อาจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาขามนุษยศาสตร์

ประเภทรางวัลอาจารย์อาวุโสดีเด่น ได้แก่ อาจารย์ ดร.สาโรจน์ พรประภา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเภทรางวัลอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น ได้แก่ อาจารย์ ธีระ รุ่งธีระ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ในงานพิธีมอบรางวัล “โครงการรางวัลอาจารย์ดีเด่น สออ.ประเทศไทย (ASAIHL-Thailand Award) พ.ศ. 2554” ครั้งนี้ สออ. ประเทศไทย ได้รับเกียรติจาก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานการมอบรางวัล พร้อมปาฐกถาพิเศษให้กับอธิการบดี คณาจารย์ และผู้เข้าร่วมประชุมณ หอประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ซึ่งได้สร้างขวัญและกำลังใจที่ดีต่อคณาจารย์ที่จะช่วยพัฒนาสังคมอุดมศึกษาให้ก้าวไกลเทียบเท่าระดับสากลต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ