เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมเพื่อคุณลูกถูกใจคุณแม่ในงาน “8 ความฉลาดรอบด้าน โดย ซิมิแลค คลับ” เนรมิตลานกิจกรรม ชั้น G ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว เพื่อค้นหาและเสริมสร้าง 8 ความฉลาดรอบด้าน[1] พร้อมขนทัพนักโภชนาการ และผู้เชี่ยวชาญจากแอ๊บบอตมาร่วมให้ข้อมูล และความรู้ที่ถูกต้องในการสร้างสรรค์ลูกน้อยให้ฉลาดรอบด้าน ควบคู่ไปกับการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกน้อย
ผู้ร่วมงานยังได้มีโอกาสร่วมรับฟังเรื่องราวการถ่ายทอดประสบการณ์จากคุณแม่ป้ายแดง พอลล่า เทย์เลอร์ ที่ควงคู่น้องไลลา เจ้าหญิงตัวน้อยออกงานครั้งแรก ร่วมเผยถึงความสำคัญของสารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนาสมองของน้องไลลา โดยได้รับเกียรติจากแพทย์หญิงนลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ร่วมพูดคุยและให้ความรู้
จากภาพ :
แพทย์หญิงนลินี เชื้อวณิชชากร แนะนำว่า “เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 3 ขวบ ควรได้รับสารอาหารสำคัญที่หลากหลาย ครบถ้วนและสมดุล โภชนาการที่ดีนอกจากจะช่วยให้สมองและระบบภูมิคุ้มกันมีพัฒนาการที่ดีแล้ว ยังเป็นรากฐานในการพัฒนาพหุปัญญาในเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 3 ขวบ”
จากภาพ :
พอลล่า เทย์เลอร์ ที่ควงคู่น้องไลลา เจ้าหญิงตัวน้อย ออกงานครั้งแรกร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับความสำคัญของสารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนาสมองของน้องไลลา
จากภาพ :
เด็ก ๆ กำลังสนุกสนานกับกิจกรรมปั้นแป้งเป็นรูปทรงต่าง ๆ อีกหนึ่งในความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ โดยมี มร.พิน คี แลม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมแนะนำน้องๆอย่างเป็นกันเอง
เกี่ยวกับแอ๊บบอต นิวทริชัน
แอ๊บบอต นิวทริชันเป็นผู้พัฒนาและทำตลาดผลิตภัณฑ์นมผง อาหารเสริม อาหารว่าง และผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนในทุกวัย แอ๊บบอต นิวทริชันเป็นส่วนหนึ่งของแอ๊บบอต ผู้นำระดับโลกในด้านการดูและสุขภาพที่ปฏิบัติงานในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.abbott.co.th
เกี่ยวกับแอ๊บบอต
บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการดูและสุขภาพ ที่มุ่งมั่นค้นคว้า พัฒนา ผลิต และทำตลาดยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆ โดยรวมถึงอาหารทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็ก อุปกรณ์ทางการแพทย์หรือแผนกวาสคิวลาร์ และน้ำยา/เครื่องมือตรวจวิเคราะห์โรค บริษัทมีพนักงานรวมทั้งหมด 91,000 คน และมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก
เกี่ยวกับพหุปัญญา 8 ด้าน[2]
ทฤษฏีพหุปัญญานำเสนอโดย ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งมีแนวคิดว่าความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 8 ด้าน ประกอบด้วย ความฉลาดด้านภาษา ความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ ความฉลาดด้านดนตรี ความฉลาดด้านร่างกาย ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ ความฉลาดด้านมนุษย์สัมพันธ์ ความฉลาดด้านเข้าใจตนเอง ความฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ ซึ่งแต่ละด้านต่างก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
พ่อแม่และครูควรค้นหาจุดเด่นของเด็กว่ามีความฉลาดทางด้านใดบ้างแทนการยึดถือตามความเชื่อเดิมๆ ที่นิยามว่า “เด็กเก่ง” คือ เด็กที่มีความฉลาดเพียงบางด้าน เช่น ด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา โดยต้องทำความเข้าใจและอดทนที่จะสอนเด็กให้เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของเขา ถึงแม้ว่าอาจไม่ใช่เรื่องง่าย
เด็กทุกคนคือส่วนผสมของความฉลาดทั้ง 8 ด้าน
แน่นอนว่าเด็กๆ แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน และก็ควรจะได้รับการดูแลในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทฤษฎีพหุปัญญาก็เป็นไปตามแนวคิดนี้เช่นกัน โดยหัวใจหลักของทฤษฎีนี้บ่งชี้ว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่างกันไปในแต่ละด้าน และหากผู้ปกครองและครูค้นพบจุดเด่นของเด็ก ก็จะช่วยส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ทฤษฎีพหุปัญญายังช่วยเปิดประตูสู่เล้นทางการเรียนรู้ที่หลากหลายถึง 8 แนวทาง ซึ่งแนวทางเหล่านี้สามารถนำไปผสมผสานและประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะนิสัยและความถนัดของเด็กแต่ละคน โดยผู้ปกครองและคุณครูสามารถเริ่มต้นจากการค้นหาว่าเด็กมีความถนัดในด้านใดบ้าง แล้วนำแนวทางในแต่ละด้านมาใช้เป็นเส้นทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ ทฤษฎีพหุปัญญาเสนอแนะว่าผู้ปกครองและคุณครูควรให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเพลง กิจกรรมกลุ่ม งานศิลปะ การแสดงละคร การใช้สื่อมัลติมีเดีย ทัศนศึกษา การสะท้อนความคิดและอารมณ์ และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเด็กๆ ได้รับข้อมูลหรือความรู้ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และตรงกับความถนัดของตนแล้ว พวกเขาก็จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองไปได้อย่างรวดเร็ว
โดยสรุปแล้ว เราอาจพูดได้ว่าแก่นแท้และเป้าหมายของทฤษฎีพหุปัญญานั้น ก็คือการทำให้การเรียนรู้เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเด็กๆ โดยโครงสร้างของทฤษฎีนี้จะช่วยให้ผู้ใหญ่สามารถระบุและจำแนกความสนใจของเด็กได้ดียิ่งขึ้น
[1] ทฤษฏีพหุปัญญานำเสนอโดย ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เมื่อปีพ.ศ. 2526 ซึ่งมีแนวคิดว่าความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 8 ด้าน ประกอบด้วย ความฉลาดทางด้านภาษา ความฉลาดทางด้านความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ ความฉลาดด้านดนตรี ความฉลาดด้านร่างกาย ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ ความฉลาดด้านมนุษย์สัมพันธ์ ความฉลาดด้านเข้าใจตนเอง ความฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ ซึ่งแต่ละด้านต่างก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
[2]จากเอกสารนำเสนอของแพทย์หญิงนลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพฯ หัวข้อ “พหุปัญญา: ความหมาย, พัฒนาการกับภาวะโภชนาการในช่วงแรกของชีวิต”