TCELS เผยเคล็ดวิธีสู้ภัยสารเคมีรับมือวิกฤติในอากาศมาบตาพุด

อังคาร ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๔๙
กระทรวงวิทยาศาสตร์โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ห่วงใยสุขภาพประชาชนที่อยู่บริเวรณนิคมอุตสาหกรรม มาบตามพุด จ.ระยอง ที่ต้องเผชิญกับสารเคมีในอากาศ หลังเกิดเหตุระเบิดโรงงานอุตสาหกรรม จนเป็นเหตุให้มีสารพิษรั่วไหล จึงได้มอบหมายศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติแนะนำวิธีป้องกันตัวให้พ้นจากอันตราย

นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า สารเคมีที่รั่วไหลออกมาจากโรงงานอุตสหากรรมมีอยู่หลายชนิดที่ก่อให้เกิดพิษร้ายถึงขั้นส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งมีทั้งพิษเฉียบพลันและพิษสะสม ส่วนลักษณะการเกิดพิษนั้นอาจแบ่งได้เป็นพิษเฉพาะที่กับพิษทั่วตัว ทั้งสองนี้อาจเกิดพร้อมกันได้ ทั้งนี้เคมีพิษที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น น่ากลัวที่สุดจะเป็นชนิดมาเงียบคือไม่มีสีและไม่มีกลิ่นอย่างคาร์บอนมอนน็อคไซด์ ที่ถือเป็นฆาตรกรเงียบที่น่ากลัว

สำหรับตัวร้ายที่เพิ่งระเบิดที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดคือ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อหรือใช้ฟอกขาวทำโซดาไฟก็ได้มีกลิ่นฉุนมาก หากสูดดมเข้าไปก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยจากการได้สารพิษมีชื่อเรียกว่า ท็อกซิโดรมส์ มาจากท็อกซินผนวกกับซินโดรมซึ่งผลของพิษที่ออกฤทธิ์ต่อสุขภาพคือ ระคายเยื่อบุอ่อน อาทิ เยื่อบุตา จมูก ช่องคอ ทางเดินหายใจ,เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ คออักเสบ,หลอดลมบวมตีบ หายใจไม่ออก,คลื่นไส้อาเจียน,วิงเวียนสับสน และอื่น ๆ เช่นฤทธิ์ต่อระบบประสาท,สมอง,ตับ,ไต,หัวใจและกล้ามเนื้อ นายแพทย์กฤษดา กล่าว

ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ กล่าวอีกว่า ดังที่บอกไปแล้วว่าสารเคมีบางชนิดก็มีพิษเมื่อสูดดม,สัมผัสหรือเข้าหูเข้าตา หรือว่าบางชนิดจะอันตรายต่อเมื่อเข้มข้นมาก ที่พูดถึงกันมากในเวลานี้เห็นมีอยู่ 2 เคมีคือ “โทลูอีน(Toluene)” กับ “โซเดียม ไฮโปคลอไรท์(Sodium hypochlorite)” จึงอยากขอนำวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นของทั้ง 2 สารนี้และวิธีที่เผื่อไว้ป้องกันสารพิษที่ลอยตามลม 8 วิธีคือ

1. ดูอวัยวะ คือการดูทางพิษเข้า เช่น กลืนเข้าคอ,สูดเข้าจมูก, สัมผัสกับผิวหนังหรือทางอื่นๆเพราะแต่ละช่องทางการสัมผัสสารพิษจะเป็นตัวกำหนดการดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่นถ้าเข้าคอก็ต้องกลั้วคอล้าง หรือเป็นหมอกควันพิษที่แสบหูแสบตาไปหมดก็ต้องล้างออกด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือปลอดเชื้อดังนี้เป็นต้น

2. ผละให้ไว ไปยัง “Support zone” ที่จัดไว้ให้ไวที่สุด สารกลุ่มโซเดียมไฮโปคลอไรท์เป็นสารระเหยที่ลอยอยู่ในอากาศได้จึงต้องรีบออกมาจากสถานที่เกิดเหตุนั้นโดยไว แต่ก็ต้องไม่ตระหนกจนเกินไปเพราะในความสับสนนั้นอาจทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของสารนั้นมากยิ่งขึ้นได้ 3.ให้ดูพิษ ถ้าเราทราบแหล่งที่มาของสารพิษนั้นด้วยได้จะดีเพราะเป็นข้อมูลที่บอกชนิดของพิษนั้นได้ว่าจะทำอันตรายกับอวัยวะใดของเราบ้าง การมีตัวอย่างสารพิษหรือมีข้อมูลโรงงานผลิตจะช่วยคุณหมอในการดูแลรักษาเบื้องต้นได้มาก

4.ไล่ตามปิด เมื่อทราบชนิดของพิษแล้วก็จะรู้ว่าอวัยวะที่เป็นเป้าใหญ่คืออะไร ให้มาพุ่งเป้าที่ส่วนนั้นๆเช่น ไฮโปคลอไรท์จะทำให้เยื่อบุตาอักเสบ คอเจ็บก็หาอุปกรณ์มาปิดตาปิดปากส่วนที่เสี่ยงเอาไว้ หรืออย่างโทลูอีนก็เป็นสารที่ระเหยได้หรือเป็นของเหลวให้สัมผัสได้ก็ต้องหาเสื้อกันสารเคมีชนิดที่มิดชิดมิดเม้นจะได้เลี่ยงสัมผัสเราง่าย

5.ทิศทางลม ใช้ได้กับสารระเหยที่เป็นเคมีลอยล่องอยู่ในอากาศรอบตัว โดยปกติถ้าเป็นก๊าซจะอยู่ได้ไกลถึง 600 เมตรในที่ลมสงบ แต่ถ้าลมแรงก็จะลอยไปไกลกว่านั้นมาก หากรู้ทิศแล้วจะได้หลบไว้ไม่ไปอยู่ใต้ลม เพราะเคมีบางชนิดก็เป็นก๊าซหนักจะลอยลงไปปกคลุมคนที่นอนอยู่ได้เช่นกรณียูเนียนคาร์ไบด์ที่อินเดีย

6.ผสมน้ำ(Decontamination) การปฐมพยาบาลด้วยน้ำสะอาดยังเป็นสิ่งที่ใช้ได้อยู่เสมอ หากแสบหูแสบตามากให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆน้ำหรือเปิดน้ำก๊อกให้ไหลผ่าน ถ้าเปื้อนตามตัวให้ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนนั้นออกแล้วล้างน้ำให้มากเข้าไว้ จะช่วยให้ไม่ต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสเคมีพิษซ้ำสอง 7.ไม่ซ้ำอาเจียน สำหรับท่านที่เผลอกลืนเข้าไป การให้อาเจียนไม่ใช่ทางแก้ที่ดีนักเพราะความตกใจอยู่แล้วอาจทำให้สำลักลงปอดยิ่งพาให้สารนั้นเข้าปนเปื้อนในตัวเราหนักขึ้นถึงขั้นปอดอักเสบ หรือถ้าไม่สำลักสารก็มักขึ้นมาในหลอดอาหารอีกครั้งทำอันตรายขึ้นมาได้ซ้ำสองอีกครั้งหนึ่งได้

สุดท้ายคือ 8.พบแพทย์ เมื่อแก้เบื้องต้นแล้วให้รีบไปพบแพทย์ด้านพิษวิทยาเพราะจะเป็นผู้เชี่ยวชาญอาการพิษจากเคมีทั้งหลาย เมื่อไปหาแล้วให้ข้อมูลท่านละเอียดก็จะบอกได้ถึงชนิดของพิษนั้นและวิธีแก้หรือการส่งต่อไปพบแพทย์เฉพาะทางในแต่ละด้าน อย่างไรก็ตามสารพิษหลายชนิดทั้ง โซเดียม ไฮโปคลอไรท์หรือ โทลูอีน ก็ไม่ได้มียาต้านพิษ(Antidote)เฉพาะ แพทย์ก็ใช้การรักษาแบบประคับประคองไปเหมือนกับเรา ดังนั้นการจะหายหรือแย่จึงอยู่แค่ความแม่นของผู้ที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าตรงนั้นเท่านั้นเอง

ติดต่อ:

www.tcels.or.th,02-6445499

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO