สำหรับการประชุมแนวทางการ Implement แผนการทำงานชุมชนและเรียนรู้เครื่องมือการทำงานกับชุมชนนี้ จัดขึ้นภายใต้โครงการสร้างเสริมมิติจิตตปัญญาสู่ระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน ที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำแผนงานการเสริมสร้างมิติจิตตปัญญาในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ( SHA CUP ) โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี และได้เชิญผู้แทนโรงพยาบาลหรือ CUP เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ , โรงพยาบาลหนองวัวซอ จ.อุดรธานี โรงพยาบาลยางตลาด จ.กาฬสินธ์ ,โรงพยาบาลเสาไห้ จ.สระบุรี โรงพยาบาล โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติตามแนวทางของแต่ละเครือข่าย (CUP) จัดทำแผนปฏิบัติการที่แสดงรายละเอียดการทำงาน โดยเชื่อมโยงกับสภาวะการณ์ของโรค ตามบริบท ความต้องการของชุมชน รวมทั้งสอดคล้องกับมิติของระบบบริการในชุมชน ทั้ง 4 ระดับ ได้แก่ Self Care, Home Care, Community Care, Institutional Care
นางดวงสมร บุญผดุง กล่าวว่า หลังจากที่ ทั้ง 4 CUP ได้ระดมความคิดเห็น และวางแนวทางขับเคลื่อนมิติจิตตปัญญาในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ไปเมื่อวันที่ 5-6 มกราคม 2555 ที่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วโดยแต่ละ CUP ได้แลกเปลี่ยนและกำหนดประเด็นในการเชื่อมโยงระบบบริการ ซึ่งทั้ง 4 CUP เลือกตัวเดินเรื่องด้วยภาวะโรค เบาหวาน 3 กลุ่มและผู้สูงอายุ อีก 1 กลุ่ม และการประชุมในครั้งนี้แต่ละ CUP ได้นำผลการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ มารายงานความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน นอกจากนี้ยังได้มีการลงพื้นที่เครือข่ายปฐมภูมิ เพื่อติดตามการเชื่อมโยงการทำงานในพื้นที่ด้วย
นพ.ทวีรัตน์ ศรีกุลวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองวัวซอ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของ CUP หนองวัวซอ เกี่ยวเรื่อง การบูรณาการแบบไร้รอยต่อ ทั้งมาตรฐาน ความปลอดภัย Spiritual Seamless ครอบคลุมทั้งระดับการดูแลโดยโรงพยาบาล ชุมชน บ้านและตนเอง ซึ่งจะเพิ่มความเชื่อมโยงในสามประเด็นได้แก่ Empowerment ชุมชน การ seamless ภายในอำเภอและ Virtual Home ward ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ CUP หนองวัวซอยังได้เปิดพื้นที่ให้เยี่ยมชมการทำงานของ เครือข่ายปฐมภูมิเพื่อเห็นการเชื่อมโยงด้วย
สำหรับความก้าวหน้าของ CUP โรงพยาบาลสันทราย ที่เน้นการทำงานร่วมกันในการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุแบบไร้รอยต่อนั้น ได้มีการทบทวนบริบทและงานประจำที่ทางโรงพยาบาล , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ตลอดจนเครือข่ายและหน่วยงานในพื้นที่ ทบทวนพื้นที่ ทุนทางสังคม ปัจจัยสนับสนุน ปัญหาสุขภาพ ร่วมกับการใช้สุนทรียสนทนาด้วยความเข้าใจทำให้ทุกคนในอำเภอ ซึ่งไม่ได้แยกบุคลากรและทรัพยากรในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและสัมพันธภาพที่ดี มีการดูแลผู้คนอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน โดยรวมเรียนรู้และเติบโตไปพร้อมกับชุมชน
ด้าน CUP โรงพยาบาลยางตลาด เน้นการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยวิธีการคืนข้อมูลให้กับชุมชน มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อติดตามผู้ป่วยเบาหวานในแต่ละกลุ่ม กำหนดแนวทางเวชปฏิบัติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันตั้งแต่ชุมชน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข และเน้นให้ผู้ป่วยตลอดจนผู้ดูแลและชุมได้ได้มีศักยภาพในการดูแลตนเองด้วย
สำหรับ CUP โรงพยาบาลเสาไห้ ที่เน้นการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เรื้อรัง ได้ทำการทบทวบภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์ ทั้ง 7 ข้อ ที่ประกอบด้วย Case management การจัดการรายกรณี, Data base การใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการ, Community base management การจัดระบบส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลศูนย์ ให้มีประสิทธิภาพ, Quality management การพัฒนาคุณภาพ ตามมาตรฐาน, Utilization management การเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายการรักษา รายได้ต่อหัว การจัดการให้สมดุล, Integrate policy นโยบายต่างๆ ทั้งกระทรวง สปสช. และ Happiness ความสุขของคนให้บริการและชุมชน โดยได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการทำงาน 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การแบ่งคนลงพื้นที่ เพื่อทำงานร่วมกับในชุมชน ระยะที่ 2 เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยลง ก็เปิดรับสมัครพยาบาลเพื่อเข้าไปทำงานชุมชน และระยะที่ 3 คนในชุมชนมีความสามารถดูแลผู้ป่วยได้ในระดับหนึ่ง
การประชุมในครั้งนี้นอกจากจะมีการนำเสนอเพื่อรายงานความก้าวหน้าของ CUP ทั้ง 4 แห่งแล้ว ยังได้รับเกียรติจาก ดร.นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ มาร่วมบรรยายในหัวข้อเรื่อง “แนวคิดการใช้แผนที่เดินดินภาคพิสดาร” และได้รับเกียรติจาก นพ.วราวุธ สุรพฤกษ์ นักวิชาการอิสระ มาร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะวิธีการทำงานเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย ด้วย
ติดต่อ:
งานประชาสัมพันธ์ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
ชั้น 5 อาคารสุขภาพแห่งชาติ (ภายในกระทรวงสาธารณสุข ซอย 6)
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร. 02 832 9413 โทรสาร 02 832 9540