ไทยและฟิลิปปินส์เริ่มใช้เครื่องฉายรังสี TomoTherapy รักษาผู้ป่วยมะเร็งเป็นครั้งแรกในประเทศ

พฤหัส ๒๔ พฤษภาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๒๒
เครื่องฉายรังสีภาพนำแบบเกลียวหมุน (TomoTherapy) ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเฉพาะบุคคลที่มีความแม่นยำและมีคุณภาพสูง

แอคคิวเรย์ อินคอร์ปอเรทเต็ด (Accuray Incorporated) (Nasdaq: ARAY) บริษัทชั้นนำด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ประกาศว่า โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย และศูนย์การแพทย์มากาติ หรือ มากาติเมด (MakatiMed) ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เริ่มทำการรักษาผู้ป่วยด้วยเครื่องฉายรังสีภาพนำแบบเกลียวหมุน TomoTherapy(R) ซึ่งใช้เทคนิคการฉายรังสีแบบ IG-IMRT โดยเป็นการผสมผสานอย่างสมบูรณ์ระหว่างการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม หรือ intensity modulated radiation therapy (IMRT) กับการฉายรังสีรักษาภาพนำวิถี หรือ Image guided radiation therapy (IGRT) เครื่อง TomoTherapy ช่วยให้โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมากาติเมด สามารถเสนอทางเลือกการรักษาแบบไม่ทำให้เกิดแผลและเป็นการรักษาเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ป่วยได้ โดยสามารถรักษามะเร็งได้ทุกจุดทั่วร่างกาย ทำให้โรงพยาบาลทั้งสองแห่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่ติดตั้งเครื่อง TomoTherapy และโรงพยาบาลทั้งสองแห่งเริ่มรักษาผู้ป่วยคนแรกด้วยเครื่องนี้เมื่อฤดูใบไม้ผลิ

“ในฐานะโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงและเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่มีเครื่อง TomoTherapy เรามุ่งมั่นที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคมะเร็งที่ทันสมัยที่สุดและได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพสูงสุด” ดร.สมศักดิ์ วรรณวิไลรัตน์ หัวหน้านักฟิสิกส์หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว “เราเล็งเห็นว่าการใช้เทคนิค IMRT รักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เป็นทางเลือกที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของผู้ป่วยทั่ว 17 จังหวัดทางภาคเหนือ รวมถึงผู้ป่วยชาวต่างชาติที่มีเวลารักษาน้อยได้”

“เครื่อง TomoTherapy มีการผสมผสานอย่างสมบูรณ์ระหว่างศักยภาพของเทคโนโลยีภาพนำวิถีและการรักษาด้วยรังสี เราสามารถรักษาโรคมะเร็งได้เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ก้อนมะเร็งรูปร่างผิดปกติ ไปจนถึงการรักษาระยะยาวอย่างการรักษาก้อนมะเร็งหลายจุดบริเวณกระดูกสันหลังหรือในสมอง” ดร.แคธลีน บัลดิเวีย (Dr. Kathleen Baldivia) หัวหน้าหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาของมากาติเมด กล่าว “เครื่อง TomoTherapy จะแบ่งรังสีเป็นรังสีย่อยๆ ทำให้แพทย์เลือกความเข้มของการฉายรังสีได้หลากหลายในการรักษาบริเวณเดียว ช่วยลดอันตรายและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

เครื่อง TomoTherapy มีดีไซน์ที่ล้ำสมัย มาพร้อมกับความแม่นยำในการรักษา และมีการแสดงภาพรายวันเพื่อความเที่ยงตรงในการรักษาอย่างแท้จริง TomoTherapy เป็นเครื่องฉายรังสีแบบ IG-IMRT ซึ่งมีระบบซีทีสแกนรายวัน ทำให้แพทย์ทำการรักษาเฉพาะบุคคลได้อย่างแม่นยำและมีคุณภาพสูงตามความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของผู้ป่วยแต่ละคน ลักษณะเครื่องแบบเกลียวหมุนทำให้รักษามะเร็งได้ครอบคลุมมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยจำนวนมากมีทางเลือกมากขึ้น

“เรายินดีที่การรักษาด้วยเครื่อง TomoTherapy และการแสดงภาพรายวันเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และประเทศใกล้เคียง” ดร.ยวน เอส. ธอมสัน (Euan S. Thomson, Ph.D.) ประธานและซีอีโอบริษัทแอคคิวเรย์ กล่าว “ในฐานะโรงพยาบาลระดับแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียน การติดตั้งเครื่อง TomoTherapy ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมากาติเมดจึงถือเป็นเหตุการณ์สำคัญสำหรับแอคคิวเรย์ ซึ่งกำลังพยายามขยายธุรกิจในระดับสากลและยกระดับการเข้าถึงการรักษา ซึ่งจะทำให้ผลการรักษาผู้ป่วยดีขึ้น”

เกี่ยวกับ แอคคิวเรย์

แอคคิวเรย์ อินคอร์ปอเรทเต็ด (Nasdaq: ARAY) ในซันนี่เวล, แคลิฟอร์เนีย เป็นบริษัทชั้นนำด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ซึ่งพัฒนา ผลิต และจำหน่ายโซลูชั่นการรักษาที่ทันสมัย เป็นส่วนบุคคล และมีมาตรฐาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้น เทคโนโลยีระดับแนวหน้าของบริษัทอันได้แก่ CyberKnife และ TomoTherapy ออกแบบมาเพื่อใช้ในการผ่าตัดด้วยรังสี, การฉายรังสีเทคนิค Stereotactic Body Radiotherapy (SBRT), การฉายรังสีแบบ IMRT, การฉายรังสีแบบ IGRT และการรักษาแบบ adaptive radiation therapy ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบันเครื่องของบริษัทถูกนำไปติดตั้งในโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลกแล้ว 635 เครื่อง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.accuray.com

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ (Safe Harbor)

ข้อความในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ หากแต่เป็นข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า ตามที่มีการจำกัดความในกฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์ส่วนบุคคลปีพ.ศ. 2538 (Private Securities Litigation Reform Act of 1995) ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เกี่ยวข้องกับชื่อเสียง, ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเครื่อง TomoTherapy, คุณภาพการรักษา, การขยายธุรกิจสู่สากล, ความเป็นผู้นำนวัตกรรมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาของบริษัท ฯลฯ ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้ามีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงออกมาแตกต่างอย่างมากจากที่คาดการณ์ ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวระบุอยู่ในหัวข้อ “ปัจจัยเสี่ยง” ในรายงาน Form 10-Q ของบริษัท ประจำไตรมาส 1, 2 และ 3 ของปีงบการเงิน 2555 ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้ากล่าวถึงข้อมูล ณ วันที่มีการจัดทำข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าขึ้นเท่านั้น และอ้างอิงข้อมูลที่บริษัทมี ณ เวลาที่ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าถูกจัดทำขึ้น และ/หรือ อ้างอิงจากความเชื่อโดยสุจริตของทีมบริหารเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆในอนาคต บริษัทไม่จำเป็นต้องปรับปรุงข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าตามผลการดำเนินงานหรือผลลัพธ์ที่แท้จริง ตามการเปลี่ยนแปลงคาดการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อข้อมูลคาดการณ์ล่วงหน้า เว้นเสียแต่ว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นนักลงทุนไม่ควรยึดถือข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าเหล่านี้มากเกินควร

สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญได้ตามลิงก์

ยวน ธอมสัน

https://profnet.prnewswire.com/Subscriber/ExpertProfile.aspx?ei=81869

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO