รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่า พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2525 ได้มีการใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการจึงไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ จึงได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการผลิต ครอบครอง ขายนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ มีการกำหนดองค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ การปรับปรุงการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการขอใบอนุญาตเช่นเดียวกับภาคเอกชน มีบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของเชื้อโรคยิ่งขึ้น
นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีผลบังคับใช้เฉพาะกับหน่วยงานภาคเอกชนเท่านั้น ทำให้มีข้อจำกัดในการควบคุมดูแลการผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านของเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในหน่วยงานภาครัฐ ประกอบกับการมีเชื้อโรคชนิดใหม่ๆ เกิดขึ้น และเชื้อก่อโรคเดิม ๆ กลับมาระบาดอยู่เสมอ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องมาร่วมในการทำประชาพิจารณ์เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง พรบ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว 2 ครั้ง โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้แทนจากสภาวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำ โดยจะนำข้อคิดเห็นดังกล่าวไปปรับปรุงพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนนำเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ไปใช้ในการดำเนินกิจการด้วยความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดจนเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและความมั่นคงต่อประเทศชาติ
ติดต่อ:
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
โทรศัพท์ 0-2951-0000 ต่อ 99017 , 99081
โทรสาร 0-2591-1707