ผศ.ดร.ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น เมื่อวันที่ 22-24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ มรภ.สงขลา ว่า เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป มรภ.สงขลา กับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร?แห?งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการให้ความรู้พื้นฐานและทักษะทางดาราศาสตร?แก่ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต? จำนวน 120 คน ตลอดจนสร?างประสบการณ?ตรงด้วยการให้ผู้อบรมได้ทดลองใช?อุปกรณ?ต่างๆ สังเกตการณ?ทางดาราศาสตร? และศึกษาสภาพท?องฟ?า ซึ่งจะช่วยสร?างแรงบันดาลใจในการนำความรู้ไปประยุกต?ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาดาราศาสตร?ให้กับเยาวชน โดยเฉพาะการปรับเนื้อหาบทเรียนวิชาดาราศาสตร์ให้ทันยุคสมัย เพื่อสร้างนักดาราศาสตร์รุ่นใหม่ออกสู่ประเทศ
ด้าน ดร.พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวว่า ผู้เข้าอบรมมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษากลไกปรากฏการณ์ที่เกิดจากดวงอาทิตย์ รวมทั้งรับชมนิทรรศการทางดาราศาสตร์ เช่น ระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ การจัดระเบียบใหม่ของระบบสุริยะและดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมดาราศาสตร์ภาคปฏิบัติ โดยแบ่งออกเป็นฐานต่างๆ ได้แก่ การใช้แผนที่ดาว การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ การติดตั้งกล้องโทรทรรศน์เพื่อใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เบื้องต้นทางดาราศาสตร์เพิ่มมากขึ้น จนสามารถสังเกตการณ์ท้องฟ้าได้
นายเฉลิมชนม์ วรรณทอง ประธานโปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป มรภ.สงขลา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันที่ 6 มิถุนายน 2555 โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ฯ ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ณ มรภ.สงขลา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ในรอบ 100 ปี จะเกิดเพียง 2 ครั้งเท่านั้น นักดาราศาสตร์เคยใช้ปรากกฎการณ์นี้ในการศึกษาหาระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์มาแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2312 และในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ครั้งแรกเกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน 2555 หากพลาดชมครั้งนี้ต้องรอไปอีก 105 ปี คือจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม 2660