พิธีเปิดงานประชุมอุโมงค์โลก 2012 65 ประเทศร่วมมือส่งเสริมการใช้พื้นที่ใต้ดินและอุโมงค์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและรักษาสิ่งแวดล้อม

พฤหัส ๓๑ พฤษภาคม ๒๐๑๒ ๑๗:๑๐
รศ.ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิด งานประชุมอุโมงค์โลก 2012 (World Tunnel Congress) อย่างเป็นทางการ ร่วมกับ รศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานจัดงาน ,นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และศาสตราจารย์ อิน โม ลี ประธานสมาคมอุโมงค์และพื้นที่ใต้ดินนานาชาติ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวแสดงความยินดีผ่านวิดีโอลิงค์ ซึ่งงานได้รับความสำเร็จเกินเป้าหมาย มีผู้เข้าประชุมจากทั่วโลก 1,330 คน จาก 65 ประเทศ ล้วนเป็นผู้มีส่วนตัดสินใจจากวงการวิศวกรรม ก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม พัฒนาเมืองและองค์กรภาครัฐและเอกชนต่างๆ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือและวิทยาการในการใช้พื้นที่ใต้ดินและอุโมงค์ซึ่งช่วยสงวนรักษาพื้นที่ธรรมชาติบนดินให้คงอยู่ ประหยัดพลังงาน ลดมลพิษและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกระดับคุณภาพชีวิตและระบบสาธารณูปโภค นอกจากนี้โครงสร้างใต้ดินยังมีข้อดีในด้านความปลอดภัยต่อแผ่นดินไหวและลดความเสียหายจากภัยพิบัติธรรมชาติ ในงานนี้มีการอภิปราย, ผลเสนอผลงานวิจัย,สัมมนาวิชาการ, บูทนิทรรศการนวัตกรรมอุโมงค์จากทั่วโลก และการเยี่ยมชมไซต์งานก่อสร้างใต้ดินในกรุงเทพฯ

งานประชุมอุโมงค์โลกภายใต้ธีมงาน “การใช้พื้นที่ใต้ดินและอุโมงค์เพื่อประชาคมโลก” มีวัตถุประสงค์ คือ ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้และประสบการณ์ในการใช้พื้นที่ใต้ดินและอุโมงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนพร้อมไปกับสิ่งแวดล้อมที่ดีและคุณภาพชีวิต เป็นเวทีส่งเสริมนวัตกรรมการใช้พื้นที่ใต้ดินและอุโมงค์ของมวลสมาชิก 65 ประเทศ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะและประชาคมโลก เปิดโอกาสให้วิศวกร ผู้บริหารและผู้ตัดสินใจได้มาพบปะและร่วมมือกันพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับประเทศ นานาชาติและระดับโลก

ปัจจุบันการพัฒนาความก้าวหน้าเทคโนโลยีและหัวเจาะอุโมงค์ (TBM-Tunnel Boring Machine) นับเป็นนวัตกรรมด้านวิศวกรรมชั้นเยี่ยมและมีคุณประโยชน์สำคัญทำให้สามารถขุดเจาะพื้นที่ใต้ดินทุกแห่งหนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมีสภาพทางธรณีเช่นใด เพื่อตอบรับความท้าทายของเมืองและสงวนรักษาพื้นที่ธรรมชาติบนดินให้ยังคงอยู่ ประหยัดพลังงาน และเอื้อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและภัยพิบัติธรรมชาติ

บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา)

1.มร.เอนริโก้ ดัล เนโกร ผู้อำนวยการ บ.มาเปอี เอสพีเอ จก.

2.นายประพนธ์ จันทร์ประดับฟ้า ผจก.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บมจ.ช.การช่าง

3.ดร.อิง อี.เอช.มาร์ติน เฮอเรนเคอะเน็ค ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท เฮอเรนเคอะเน็ค,ประเทศเยอรมัน

4. นายซอว์ ซอว์ เอย์ ลขาธิการคณะกรรมการจัดงานอุโมงค์โลก

5. รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานจัดงานและประธานคณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์

6. รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

7. นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

8. ศาสตราจารย์ อิน โม ลี ประธานสมาคมอุโมงค์และพื้นที่ใต้ดินนานาชาติ

9. ดร.นพดล เพียรเวช ประธานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ งานประชุมอุโมงค์โลก

10. นายธวัชชัย สุทธิประภา กรรมการบริหาร บมจ. อิตาเลียน-ไทย ดิเวล๊อปเม้นท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ