สธ.เพิ่มพื้นที่ปลอดควันบุหรี่ พร้อมให้แสดงข้อความในฉลากของบุหรี่ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

ศุกร์ ๐๑ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๑๓:๓๘
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยสุขภาพคนไทย อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดี ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่ปลอดควันบุหรี่ การแสดงข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือจูงใจให้บริโภคหรือการแสดงข้อความเกี่ยวกับสารพิษหรือสารก่อมะเร็งในฉลากของบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นประชาชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติ 2 ฉบับของกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง คือ พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบพ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535

ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัจจุบันการสูบบุหรี่ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติ 2 ฉบับ อย่างเคร่งครัด โดยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 15 พ.ศ.2554 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงคำหรือข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือจูงใจให้บริโภคในฉลากของบุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ ยาเส้น หรือยาเส้นปรุง โดยมีผลใช้บังคับวันแรก วันที่ 21 มีนาคม 2555 และประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 16 พ.ศ.2554 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การแสดงข้อความเกี่ยวกับสารพิษหรือสารก่อมะเร็งในฉลากของบุหรี่ซิกาแรต โดยมีผลใช้บังคับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2555 เป็นต้นมา โดยบุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ ยาเส้น หรือยาเส้นปรุงต้องเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ทั้งหมด และต้องไม่มีคำหรือข้อความต้องห้ามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 15 หากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวจะมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และถ้าผู้ใดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะมีระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

อีกทั้งยังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่มีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 19 พ.ศ.2553 เรื่อง กำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยกำหนดให้สถานที่ 5 ประเภทต่อไปนี้เป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด ได้แก่ สถานบริการสาธารณสุขและสุขภาพสถานศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ยานพาหนะสาธารณะและสถานีขนส่ง รวมทั้งศาสนสถาน ผู้ใดสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่มีความผิดตามกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

นอกจากนี้ สถานที่ที่ต้องปลอดบุหรี่ แต่อาจจัดหรือไม่จัดให้มีเขตสูบบุหรี่ (เฉพาะในพื้นที่ส่วนที่ไม่ใช่อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง) ก็ได้ คือ สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส ทั้งนี้ยกเว้นอาคารสนามบินนานาชาติ โดยเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ต้องมีสภาพ ลักษณะ และมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด โดยให้ผู้ประกอบการหรือผู้ดำเนินการเป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดการดังกล่าว

หากฝ่าฝืนไม่จัดให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะเป็นเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หากไม่จัดให้เขตสูบบุหรี่มีสภาพ ลักษณะ และมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดระวางโทษปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท และหากไม่จัดให้มีเครื่องหมายในเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

และหากพบการละเมิดกฎหมายสามารถร้องเรียนได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กรมควบคุมโรค โทร 1422 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนบุหรี่และสุรา โทร. 02-590-3342 และ Website : http://btc.ddc.moph.go.th หรือ http://www.thaiantitobacco.com

กลุ่มเผยแพร่ สำนักงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

โทรศัพท์: 0-2590-3862 / โทรสาร: 0-2590-3386

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ