CAT ทุ่ม 30 ล้าน พัฒนาบริการรูปแบบใหม่รายแรกของไทย e-exhibition เจาะกลุ่มบริษัทรับจัดงานตั้งเป้าสร้างรายได้กว่า 150 ภายใน 5 ปี

ศุกร์ ๐๑ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๑๕:๒๗
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดบริการนิทรรศการออนไลน์รูปแบบใหม่รายแรกของประเทศไทย หวังเจาะกลุ่มลูกค้าจัดงานแสดงสินค้าและหน่วยงาน ห้างร้าน ตั้งเป้าสร้างรายได้กว่า 150 ภายใน 5 ปี

นายสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจบรอดแบนด์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าจากการเติบโตของธุรกิจจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้น โดยคนไทย และชาวต่างชาติที่เข้ามาจัดงานในประเทศ กสท.จึงได้พัฒนาการบริการรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ โดยเรียกการบริการรูปแบบใหม่นี้ว่า “CAT e-exhibition”

CAT e-exhibition คือ บริการจัดนิทรรศการออนไลน์ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการสื่อสารการตลาดสำหรับผู้จัดงานนิทรรศการ (Organizer) หน่วยงาน องค์กร หรือห้างร้าน (Exhibitor) ที่ต้องการเพิ่มช่องทางการนำเสนอสินค้า และบริการผ่านสื่อมัลติมีเดียที่มีความทันสมัย ทำในรูปแบบของเว็บไซต์ที่มากกว่าเว็บไซต์ทั่วไป ซึ่งสามารถทำให้ผู้เข้าชมงานเข้าถึงสินค้าและบริการได้มากขึ้น ด้วยระบบการนำเสนอที่มีทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อมูลรายละเอียดของสินค้า หรือ บริการนั้นๆ เสมือนหนึ่งว่าได้เข้าไปสัมผัสสินค้าหรือบริการเหล่านั้นด้วยตนเอง อีกทั้งยังสามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย

นอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว CAT e-exhibition ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถให้บริการข้อมูล เพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชม พูดคุยสนทนากับเจ้าหน้าที่ภายในงานและเลือกซื้อสินค้าได้จากหน้าเว็บไซต์ โดยใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือผ่านตู้ให้บริการข้อมูล ที่ติดตั้งตามสถานที่ต่างๆ ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้าและลูกค้า อาทิ กลุ่ม Business to Business (B2B) หรือ การค้าแบบ Business to Consumer (B2C) ให้สามารถแลก เปลี่ยนความรู้ทางด้านการซื้อหรือขายสินค้าให้ทุกฝ่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งระบบนี้จะเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก สำหรับผู้ที่ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมภายในงานได้ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ ผู้ค้า หรือลูกค้า แต่ตกลงติดต่อซื้อขายสินค้าได้ ในลักษณะ Business Matching โดยจัดทำเป็น Portal ที่แบ่ง Category สินค้าแต่ละหมวดหมู่ และมีเครื่องมือในการค้นหาและจับคู่ซื้อขายทางธุรกิจได้ ซึ่งสามารถ เรียกชมข้อมูลได้จากทั่วทุกมุมโลกผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เสมือนได้เข้าเยี่ยมชมจากสถานที่จริง

นายสมพลฯ กล่าวต่อว่า การบริการรูปแบบใหม่นี้ จะเน้นบริษัทรับจัดงาน (Organizer) และกลุ่มบริษัท องค์กรที่จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ รัฐวิสาหกิจ กระทรวงทบวงต่างๆ อาทิ กรมส่งเสริมการส่งออก สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ P.K. Exhibition Management Co., Ltd. Union Pan Exhibitions Co., Ltd. N.C.C. Exhibition Organizer Co., Ltd. และ IMPACT Exhibition Management Co., Ltd. เป็นต้น

สำหรับแผนการตลาดในปีแรก จะเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการ CAT e-exhibition โดยจะส่งเจ้าหน้าที่นำเสนอรายละเอียดของการบริการโดยตรง ไม่เน้นการโฆษณา เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเห็นความสำคัญในการนำระบบบรอดแบนด์มาใช้ในการจัดงานแสดงสินค้า ในการเพิ่มช่องทางการแสดงสินค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอีกทางเลือกหนึ่งให้กับกลุ่มผู้จัดงาน นอกจากนี้มีแผนที่จะร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออก และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในนำการบริการ โดยคาดว่าในปีนี้จะมีรายได้จากการบริการใหม่ 3 ล้าน และในปี 2556 คาดว่าจะมีรายได้ 27 ล้านบาท สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์ในปีนี้คาดว่าจะรายได้ประมาณ 7,060 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 6,730 บาท ปัจจุบัน CAT เปิดบริการในสายธุรกิจบรอดแบนด์ไปแล้ว 7 ประเภท คือ

- e — auction ระบบการประมูล (จัดซื้อจัดจ้าง) ทางอิเล็กทรอนิกส์

- e — exhibition ระบบการจัดนิทรรศการออนไลน์

- e — entertainment ระบบทีวีออนไลน์

- e — logistic ระบบการจัดการบัญชีซื้อขายออนไลน์

- e — smartfarm ระบบการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

- CAT Conference ระบบการประชุมออนไลน์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ