อเบอร์ดีน ปลื้ม “กองทุนเปิด อเบอร์ดีน อีเมอร์จิ้ง ออพพอร์ทูนิตี้ส์ บอนด์ ฟันด์” มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 240 ล้านบาท

พุธ ๐๖ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๑๔:๑๒
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน จำกัด ได้นำเสนออีกหนึ่งโอกาสในการลงทุนช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ด้วยการแนะนำให้ลงทุนใน กองทุนเปิด อเบอร์ดีน อีเมอร์จิ้ง ออพพอร์ทูนิตี้ส์ บอนด์ ฟันด์ (AEOB) ซึ่งลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทหรือรัฐบาลในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ณ 31 พฤษภาคม 2555 เท่ากับ 860.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 240.17 ล้านบาท จากสิ้นเดือน เมษายน 2555 ซึ่งเท่ากับ 620.24 ล้านบาท

คุณพงค์ธาริน ทรัพยานนท์ หัวหน้าฝ่ายตราสารหนี้ ของ บลจ.อเบอร์ดีน จำกัด ประเทศไทย กล่าวว่า “พันธบัตรของกลุ่มตลาดเกิดใหม่น่าจะได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่อาจจะไม่ปรับขึ้นสูงนัก ส่งผลให้จะมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ของกลุ่มตลาดเกิดใหม่มากขึ้น เพื่อหาผลตอบแทนที่ดีกว่า แม้ว่านักลงทุนยังคงเป็นกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศสเปนและกรีซว่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไรในช่วงเวลาต่อจากนี้ แต่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นและความกังวลที่ลดลงเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนก็น่าจะเอื้ออำนวยและส่งผลดีต่อตลาดตราสารหนี้ของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ต่อไป”

กองทุนเปิด อเบอร์ดีน อีเมอร์จิ้ง ออพพอร์ทูนิตี้ส์ บอนด์ ฟันด์ (AEOB) จดทะเบียนกองทุนตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ลงทุนในกองทุนรวม อเบอร์ดีน โกลบอล — ซีเลค อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ตส์ บอนด์ ฟันด์ (Aberdeen Global — SelectEmerging Markets Bond Fund) (หรือเรียกว่ากองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่าร้อยละ80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยในส่วนที่เหลือบริษัทจัดการจะพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีการอื่นตามที่กำหนด โดยคณะกรรมการก.ล.ต.อนุญาต ตามความเหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดของ ผู้ถือหน่วยลงทุน

อัตราผลตอบแทน กองทุนเปิด อเบอร์ดีน อีเมอร์จิ้ง ออพพอร์ทูนิตี้ส์ บอนด์ ฟันด์ (AEOB) ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2555

ผลการดำเนินงาน ณ 25 พฤษภาคม 2555 NAV 3เดือน 6เดือน 12เดือน 3 ปี ตั้งแต่ต้นปี ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน

กองทุนเปิด อเบอร์ดีน อีเมอร์จิ้ง 13.3279 0.49% 6.95% 8.50% 38.55% 5.02% 33.68%

ออพพอร์ทูนิตี้ส์ บอนด์ ฟันด์(AEOB)

เกณฑ์มาตรฐาน 4.39% 6.91% 12.04% 30.89% 3.54% 41.45%

*ดัชนี JP Morgan Emerging Markets Bond Index Global Diversified (JPM EMBI GD) เป็นดัชนีที่ถูกจัดทำขึ้นโดย JP Morgan เพื่อใช้ในการติดตามผลตอบแทนโดยรวมของตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ซึ่งออกในสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ

เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2555 อเบอร์ดีนได้เปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอ้างอิงด้วย

การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทของ Bloomberg (BFIX rate)

ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2554 เป็นต้นไป กองทุนมีน โยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามสัดส่วนที่เหมาะสมตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

ที่มา : บริษัทหลักทรัพย์ จัดการ กอง ทุน อเบอร์ดีน จำกัด

ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคตเอกสารการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน

คำเตือน :

การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งอาจทำให้ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก ปัจจุบันผู้จัดการกองทุนทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามสัดส่วนที่เหมาะสม การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ