โอกาสธุรกิจไทยใน AEC

พุธ ๐๖ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๑๖:๒๒
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ แนะธุรกิจไทยเร่งสร้างข้อได้เปรียบเตรียมตักตวงโอกาสทางธุรกิจจาก AEC และพร้อมรับการแข่งขัน เน้นโอกาสมาในหลายรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องรอถึงปี 2015 พร้อมเผยผลการศึกษา SCB Insight เจาะลึกโอกาสของธุรกิจบริการใน AEC

ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า “ทาง EIC ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิเคราะห์และทำความเข้าใจประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มาโดยตลอด โดยเฉพาะในแง่มุมโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจไทย ซึ่งเป็นลูกค้าสำคัญของธนาคาร และได้จัดทำเป็นรายงาน SCB Insight ที่เจาะลึกธุรกิจบริการหลากหลายขึ้นจากฉบับก่อนหน้าที่จัดทำและเผยแพร่ไปเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สำหรับ AEC ในเบื้องต้น เรามองว่าจะทำให้กฎเกณฑ์ ระเบียบและสภาวะแวดล้อมการดำเนินธุรกิจจะเปลี่ยนไปในทางที่สะดวกมากขึ้น ตลาดที่มีขนาดใหญ่กว่าตลาดในประเทศ 10 เท่า และมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็จะมาพร้อมกับการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้นด้วย”

“โอกาสทางธุรกิจจะเกิดขึ้นทั้งจากตลาดและการใช้ปัจจัยการผลิตในต่างประเทศ และจากตลาดในประเทศที่จะขยายตัวจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยการตักตวงโอกาสในต่างประเทศในปัจจุบันสามารถทำได้แล้วจากทั้งการขยายตลาดสินค้าไปในอาเซียนและการมีทางเลือกใช้วัตถุดิบที่หลากหลายขึ้นจากอาเซียนด้วยการใช้ประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้า 0% ในขณะที่ระยะต่อไปอาจจะเป็นการขยายการลงทุนไปยังอาเซียน ซึ่งรูปแบบการเข้าไปในประเทศอาเซียนคงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกันไป บางธุรกิจอาจจะคุ้มค่าสำหรับการย้ายฐานการผลิตไป บางธุรกิจอาจจะเข้าไปลงทุนเพื่อครองตลาดในท้องถิ่น ซึ่งยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องพิจารณา เช่นว่าความสามารถในการเข้าถึงตลาดเป็นอย่างไร เช่น ความเป็นไปได้ในการเข้าถึงผู้บริโภคชาวมุสลิมที่เคร่งครัดหากบริษัทผู้ผลิตหรือเจ้าของธุรกิจไม่ได้เป็นศาสนาอิสลาม เป็นต้น” ดร. สุทธาภา กล่าวเสริม

ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ กล่าวต่อว่า “ ปัจจุบันมีนักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนด้านเกษตรกรรม ทั้งในลักษณะของ contract farming และการขอรับสัมปทานจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกจากรัฐบาลในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านแล้วหลายราย ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยได้รับสัมปทานที่ดินปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลในลาวกว่า 60,000 ไร่ อุตสาหกรรมยางพาราเข้าไปทำสวนยางและเตรียมสร้างโรงงานผลิตยางสำเร็จรูป 3 แห่งในลาว อุตสาหกรรมการเกษตรเข้าไปสัมปทานปลูกข้าวโพดและพืชเลี้ยงสัตว์ในพม่าและลาว อุตสาหกรรมกระดาษเข้าไปลงทุนปลูกยูคาลิปตัสในลาว เป็นต้น โดยพบว่าการลงทุนเหล่านี้ล้วนมีส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา”

“ธุรกิจค้าปลีกเป็นอีกหนึ่งธุรกิจบริการที่มีโอกาสมากขึ้นได้ด้วยการเน้นสร้างความแตกต่างและเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยเฉพาะจากแนวโน้มการเติบโตของความเป็นเมืองในอินโดนีเซียและเวียดนาม ประกอบกับสัดส่วนผู้บริโภคในกลุ่ม middle income ที่เพิ่มขึ้น ที่ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เช่น ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคมีสัดส่วนการใช้จ่ายสินค้าประเภทอาหารสดลดลงและบริโภคอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น อีกทั้งเริ่มมีความต้องการสินค้าและบริการที่หลากหลายรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าประเภท non-grocery ซึ่งความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อรูปแบบที่เหมาะสมในการเข้าไปลงทุน”

ในส่วนของโอกาสทางธุรกิจจากตลาดในประเทศไทยเองนั้น ดร. สุทธาภา มองว่า “AEC เอื้ออำนวยให้ตลาดในประเทศมีโอกาสขยายตัวมากขึ้นด้วย ทั้งในแง่ของขนาดตลาดและความหลากหลาย ซึ่งจะเป็นผลมาจากทั้งกิจกรรมการค้าการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นจากการกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางบกของไทย และการไหลเข้ามาของลูกค้าต่างประเทศเพื่อใช้รับบริการจากธุรกิจที่ไทยมีจุดเด่น ซึ่งตัวอย่างที่อาจจะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนคือ ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพซึ่งเป็นธุรกิจที่ไทยมีข้อได้เปรียบอยู่แล้ว สังเกตได้ว่าคนไข้ต่างประเทศของไทยมีมากที่สุดหากเทียบคู่แข่งในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ โดยเรามีคนไข้ต่างประเทศต่อปีประมาณ 1.4 ล้านคน สิงคโปร์มีประมาณ 600,000 คน AEC จะเอื้อให้ไทยมีตลาดที่ใหญ่ขึ้นจากอาเซียนด้วยการเดินทางในภูมิภาคที่สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าจากอินโดนีเซียที่ปัจจุบันกระจุกตัวใช้บริการอยู่ในมาเลเซียและสิงคโปร์มากกว่า ทั้งนี้ ความมีชื่อเสียงเฉพาะด้านของไทยเช่น จุดเด่นทางด้านศัลยกรรมพลาสติก และการดูแลสุขภาพช่องปาก ร่วมกับชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นหมัดเด็ดในการขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยในอาเซียนเพิ่มเติมจากกลุ่มตลาดคนไข้ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ซึ่งไทยเป็นผู้นำอยู่แล้วในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น การที่ AEC ช่วยอำนวยให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานพยาบาลได้ง่ายขึ้น คาดว่าจะเป็นอีกหนทางในการช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ของไทย”

ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ กล่าวต่อถึงความท้าทายที่จะมาพร้อมกับโอกาสทางธุรกิจที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่า “อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ทุกธุรกิจต้องไม่ทิ้งคือการเตรียมรับมือจากความท้าทายที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ และการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งทางธุรกิจ เพราะธุรกิจจะต้องดำเนินธุรกิจภายใต้กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อาจจะมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าร่วมกันใหม่ซึ่งธุรกิจอาจจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตการจัดส่งตาม กระบวนการศุลกากรที่สะดวกขึ้นแต่ธุรกิจก็จะต้องทำความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์ได้ รวมไปถึงเรื่องการเปิดเสรีการลงทุนที่ทำให้มีคู่แข่งทางธุรกิจเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ศักยภาพการกลายเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของไทย ก็เปรียบเสมือนเค้กก้อนโตที่จะดึงดูดให้ธุรกิจจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนสนใจเข้ามาลงทุน จึงไม่ได้เป็นแค่โอกาสสำหรับเฉพาะธุรกิจไทยเท่านั้น”

“สิ่งที่ธุรกิจควรจะทำตั้งแต่ตอนนี้ควรจะเริ่มตั้งแต่สำรวจธุรกิจตนเอง ศึกษาโอกาสและคู่แข่ง ทำความเข้าใจและประเมินความเสี่ยง เพื่อที่จะหาอาวุธของธุรกิจให้พร้อมรับการแข่งขันเพราะการดำเนินธุรกิจบางเรื่องเราอาจจะได้เปรียบบางเรื่องเราอาจจะเสียเปรียบ หาโอกาสที่เหมาะสมด้วยการศึกษาหาข้อมูลในเรื่องของกฎ ระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไปจากข้อตกลงต่างๆ ของ AEC และการศึกษาตลาดและรากฐานการทำธุรกิจประเทศอาเซียนต่างๆ เพราะบางธุรกิจอาจจะจำเป็นต้องหาธุรกิจพันธมิตรในท้องถิ่นจึงจะสำเร็จ หรือศักยภาพแรงงานประเทศต่างๆ อาจจะยังไม่สอดคล้องความต้องการของธุรกิจ แม้จะมีราคาถูกกว่า เป็นต้น และสุดท้ายคือความจะเป็นที่จะต้องเข้าใจความเสี่ยงในด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องของ credit risk และ country risk เพื่อสามารถบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร. สุทธาภา กล่าวสรุป

“SCB Insight ฉบับนี้ ทาง EIC ได้ศึกษาวิเคราะห์เจาะลึกโอกาสของธุรกิจบริการที่หลากหลายมากขึ้น ตามแนวคิดที่โอกาสจาก AEC จะมาในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละธุรกิจจะมีแง่มุมโอกาสและผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ทางธนาคารไทยพาณิชย์ ยังจะมีการจัดสัมมนาในหัวข้อ “กลยุทธ์เหนือชั้นสู่ประตู AEC” เพื่อถ่ายทอดผลการศึกษาดังกล่าวให้เป็นองค์ความรู้และแนวคิดการเตรียมตัวทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากธุรกิจชั้นนำของไทยที่จะมาแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์การดำเนินธุรกิจในการเข้าสู่ยุค AEC ให้กับลูกค้าของธนาคารในช่วงเดือนมิถุนายนอีกด้วย” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน)

กุณฑลี โพธิ์แก้ว (ผึ้ง) โทร 0-2544-4501-2

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version