ผู้นำสมาคมพุทธศาสนาย้ำความจำเป็นด้านการศึกษาและการสร้างพลังก่อนการประชุม Rio+20

พฤหัส ๐๗ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๑๕:๐๕
ไดซากุ อิเคดะ ประธานสมาคมพุทธศาสนาโซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ เอสจีไอ (Soka Gakkai International: SGI) นำเสนอแนวคิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน โดยย้ำว่าการสร้างพลังให้กับปัจเจกบุคคลและชุมชนเป็นสิ่งสำคัญอันจะนำไปสู่สังคมโลกที่ยั่งยืน นับเป็นการเสนอแนวคิดที่มีความเกี่ยวข้องกับการประชุม Rio+20 หรือการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะจัดขึ้นที่นครริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในวันที่ 20 มิถุนายนนี้

ท่านอิเคดะ กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้หากจะมองว่า การแสวงหาความยั่งยืนเป็นเพียงเรื่องของการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อสร้างสมดุลระหว่างความจำเป็นทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศให้ดีขึ้น หากแต่เราต้องเข้าใจว่าความยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งท้าทายและเป็นพันธะผูกพันที่ปัจเจกบุคคลทุกคนพึงยึดมั่น เพื่อสร้างสังคมที่พร้อมใจให้ความสำคัญสูงสุดกับเกียรติของชีวิต”

ข้อเสนอในหัวข้อ “สู่สังคมโลกที่ยั่งยืน : เรียนรู้การสร้างพลังและความเป็นผู้นำ” เน้นย้ำว่าการศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสังคมโลกที่ยั่งยืน

ท่านอิเคดะเป็นผู้สนับสนุนหลักในการตั้งทศวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Decade of Education for Sustainable Development: DESD) ซึ่งจะสิ้นสุดในปีค.ศ.2014 และบัดนี้เขาได้เรียกร้องให้มีการกำหนดกรอบการทำงานต่อเนื่อง นั่นคือโครงการให้ความรู้สู่สังคมโลกที่ยั่งยืน ซึ่งจะเริ่มขึ้นในปีค.ศ.2015 โดยจะมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนวิถีทางแห่งการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก โครงการดังกล่าวนี้จะส่งเสริมการสร้างพลัง และยิ่งไปกว่านั้นคือภาวะผู้นำ ซึ่งจะก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างแท้จริง

ท่านอิเคดะได้หยิบยกแนวคิดสำหรับการปฏิรูปองค์กรในวงกว้าง สำหรับองค์กรต่างๆในเครือสหประชาชาติที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยเขาเสนอให้มีการควบรวมสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กับสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) รวมไปถึงองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง “องค์กรระดับโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่เป็นหนึ่งเดียว

นอกจากนี้ ท่านอิเคดะยังเสนอให้มีการประสานความร่วมมือให้มากขึ้นกับภาคประชาสังคม และเสนอให้มีการจัดตั้งที่ประชุม “คณะกรรมการคนรุ่นใหม่” เพื่อให้ตัวแทนเยาวชนสามารถให้คำแนะนำแก่องค์กรใหม่ในเรื่องของแผนงานประจำปีและนโยบายต่างๆได้

ท่านอิเคดะยังย้ำว่าจำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมกับเน้นย้ำถึงความสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้และการปฏิบัติตลอดชีวิต

ตัวอย่างการมีส่วนร่วมเชิงรุกประกอบด้วย การปลูกต้นไม้ การป้องกันภัยพิบัติ การเพิ่มผลผลิตและการบริโภคในท้องถิ่น การสนับสนุนการรีไซเคิลและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน

มุมมองของท่านอิเคดะเรื่องบทบาทของมนุษยชาติบนโลกใบนี้ก่อให้เกิดความหวังอย่างมาก โดยเขากล่าวว่า “แม้ทรัพยากรทางกายภาพจะมีอยู่อย่างจำกัด แต่ศักยภาพของมนุษย์ไร้ขีดจำกัด เช่นเดียวกับศักยภาพของเราในการสร้างมูลค่า ความหมายที่แท้จริงของความยั่งยืนคือ ความคิดสร้างสรรค์ที่ประกอบไปด้วยการดิ้นรนหรือการแข่งขันกันเพื่อสร้างมูลค่าเชิงบวก และแบ่งปันสิ่งนี้กับโลกและกับอนาคต”

สามารถดูข้อเสนอของท่านอิเคดะได้ที่ www.sgi.org/sgi-president/proposals/environment-2012.html

เพื่อให้สอดคล้องกับการประชุม Rio+20 ทางสมาคมเอสจีไอ, เอิร์ธ ชาร์เตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Earth Charter International) และเมืองริโอเดอจาเนโร ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการในหัวข้อ “เมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง: วิสัยทัศน์แห่งความยั่งยืน ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง” ในภาษาอังกฤษและโปรตุเกส ณ แพลเน็ตทาเรียม ออฟ ริโอเดอจาเนโร (Planetarium of Rio de Janeiro) ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน ถึงวันที่ 15 กรกฎาคมนี้

ในวันที่ 15 มิถุนายน ณ แพลเน็ตทาเรียม จะมีการภาพยนตร์ความยาว 10 นาทีเรื่อง "Nurturing Seeds of Hope in the Amazon" ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับงานเผยแพร่ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของศูนย์อนุรักษ์ระบบนิเวศแห่งอเมซอน (Amazon Ecological Conservation Center) ซึ่งก่อตั้งโดยท่านอิเคดะ เมื่อปีค.ศ.1992 โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sgi.org/resource-center/video-and-audio/educational-tools/nurturing-seeds-of-hope.html

ในการประชุม Rio+20 นั้น ทางสมาคมเอสจีไอและองค์กรอื่นๆจะจัดการประชุมโต๊ะกลมว่าด้วยการเรียนรู้ที่จะสร้างพลังและสั่งสมประสบการณ์จากการศึกษาเรื่องความยั่งยืน สันติภาพและการปลดอาวุธ และสิทธิมนุษยชน ในวันที่ 20 มิถุนายน ที่ห้อง T-10 ณ ศูนย์การประชุมริโอเซ็นโทร (Riocentro) ตั้งแต่เวลา 19.00 น.เป็นต้นไป

ไดซากุ อิเคดะ (ค.ศ.1928-ปัจจุบัน) เป็นนักพุทธปรัชญา นักประพันธ์ และนักสร้างสันติภาพ นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 เขาได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายต่างๆ และได้นำเสนอแนวคิดมากมายเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ที่มา: โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล

ติดต่อ :

โจแอน แอนเดอร์สัน

สำนักงานข้อมูลสาธารณะ

โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล

โทรศัพท์: +81-80-5957-4711

โทรสาร: +81-3-5360-9885

อีเมล: janderson[at]sgi.gr.jp

AsiaNet 49578

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ