ความท้าทายของธุรกิจ
เมื่อภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น กิจกรรมในการผลิตสินค้าและบริการเป็นสาเหตุสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน นับวันปัญหาดังกล่าวยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จากผลกระทบภาวะโลกร้อน ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวในการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Analysis) เป็นวิธีการหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในระดับโรงงาน อุตสาหกรรม และระดับประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคสามารถใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แนวทางแก้ไข
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยจากผลิตภัณฑ์ ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA: Life cycle Assessment) โดยเริ่มตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน จนถึงการจัดการส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นหลังการใช้งาน โดยจะคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซค์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ โดยเป็นการต่อยอดจากการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ซึ่งมุ่งไปที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ คือ องค์ความรู้ในเรื่องการประเมินผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) และการพัฒนาฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory Database: LCI) ของผลิตภัณฑ์พื้นฐานต่างๆ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถใช้ข้อมูลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของวัตถุดิบพื้นฐานมาใช้ในการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสินค้าที่ผลิตหรือ ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้
ประโยชน์ของการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์
ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิต หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยลดใช้พลังงานซึ่งหมายถึงการลดต้นทุนการผลิต
เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบของประเทศคู่ค้า
สื่อสารถึงความตั้งใจในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
ขั้นตอนในการให้บริการ
1.เจ้าของผลิตภัณฑ์ดำเนินการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการคำนวณและดำเนินการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์
2.ในการคำนวณจำเป็นต้องอาศัยหลักการของ LIFE CYCLE ASSESSMENT ด้วย โดยต้องจัดทำ LIFE CYCLE FLOW CHART ของผลิตภัณฑ์ และเก็บข้อมูลแต่ละขั้นตอนใน FLOW CHART สำหรับข้อมูลที่เก็บแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ PRIMARY DATA คือเก็บข้อมูลเอง, SECONDARY DATA สามารถใช้ได้จาก NATIONAL DATABASE ของประเทศ (ถ้ามี) และ DEFAULT VALUE คือจากสถาบันอื่นๆ
3.นำข้อมูลมาเปลี่ยนเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจก (CO2 EMISSION INTENSITY)
4.รวบรวมคาร์บอนไดออกไซค์เทียบเท่าจากทุกกระบวนการ
แผนก CLIMATE CHANGE AND SUSTAINABILITY SERVICES MANAGEMENT ของบูโร เวอริทัส ประเทศไทย ให้บริการลูกค้าด้านการวิเคราะคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และการจัดทำ LIFE CYCLE ASSESSMENT ด้วย สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อคุณรัฐพร มาลยพันธุ์, CLIMATE CHANGE & SUSTAINABLE SERVICES MANAGER โทร 02 670 4878 หรือ EMAIL: [email protected]
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณดวงกมล จารุภัทรากร
Corporate Communications Specialist
บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด
โทร 02 670 4800 ext. 862, 081 869 0144
Email: [email protected]
www.bureauveritas.co.th