สคฝ. เผยกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารกลางโลกใช้เช็คลิสต์ Core Principles

พฤหัส ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๑๑:๔๙
สถาบันคุ้มครองเงินฝากเผยล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารกลางโลกประเมินระบบการเงินของประเทศต่างๆ ด้วยเช็คลิสต์ Core Principles เน้นประสิทธิภาพเข้ม

นายสิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ยึดมั่นมาตรฐานสากลในการดำเนินการตาม “หลักการสำคัญของระบบประกันเงินฝากที่มีประสิทธิผล” (Core Principles for Effective Deposit Insurance Systems) ซึ่งเป็นหลักการที่ร่วมกันจัดทำโดยสมาคมสถาบันประกันเงินฝากระหว่างประเทศหรือ International Association of Deposit Insurers (IADI) ในฐานะองค์กรกลางที่เชื่อมโยงสถาบันประกันเงินฝากทั่วโลก และ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) เพื่อเป็นกรอบแนวปฏิบัติสู่ระบบประกันเงินฝากที่มีประสิทธิภาพของสถาบันประกันเงินฝากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

และล่าสุดนั้น หลักการ Core Principles ดังกล่าว กำลังถูกนำไปเป็นเช็คลิสต์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund : IMF) และธนาคารกลางโลก ( World Bank ) ในการประเมินระบบการเงินของแต่ละประเทศอีกด้วย โดยการประเมิน Core Principles แต่ละข้อจะพิจารณาจากปัจจัยหลัก (Essential Criteria) รวมถึงปัจจัยเสริม (Additional Criteria) ต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

ทั้งนี้ หลักการสำคัญของระบบประกันเงินฝากที่มีประสิทธิผลมีอยู่ 18 ประเด็น โดยสามารถสรุปสาระสำคัญเป็น 10 หัวข้อหลัก ดังนี้

ประการแรก สถาบันคุ้มครองเงินฝากต้องมีวัตถุประสงค์หลักในการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบการเงินและการคุ้มครองเงินฝาก และมีการออกแบบอย่างเหมาะสม

สอง ควรมีอำนาจเพียงพอต่อการดำเนินการตามบทบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันกาล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถจ่ายคืนผู้ฝากได้ทันที

สาม ธรรมาภิบาลสถาบันประกันเงินฝากจะต้องดำเนินการด้วยความมีอิสระ โปร่งใส ปลอดจากการแทรกแซงจากการเมืองและจากสถาบันการเงิน

สี่ จะต้องมีความร่วมมือ และแบ่งปันข้อมูลกับหน่วยงานอื่น เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบสถาบันการเงิน

ห้า สถาบันการเงินภายใต้ระบบประกันเงินฝากต้องเป็นสมาชิกแบบบังคับ และกำหนดประเภทเงินฝากที่คุ้มครองที่ชัดเจน และมีการกำหนดวงเงินคุ้มครอง ให้ครอบคลุมผู้ฝากส่วนใหญ่

หก กองทุนคุ้มครองเงินฝาก จะได้จากเงินนำส่งจากสถาบันการเงิน หากจะมีการนำระบบจัดเก็บเงินนำส่งตามความเสี่ยงมาใช้จะต้องมีการเปิดเผยต่อสถาบันการเงินและเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสม

เจ็ด การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ระบบประกันเงินฝากมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

แปด สถาบันประกันเงินฝากและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายจากการตัดสินใจหรือดำเนินการโดยสุจริต รวมทั้งจะต้องมีอำนาจในการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้มีส่วนที่ทำให้สถาบันการเงินล้ม

เก้า การแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ต้องป้องกันปัญหาสถาบันการเงินตั้งแต่เริ่มมีปัญหา โดยมีการแทรกแซงอย่างทันกาล

สิบ การจ่ายคืนผู้ฝากและการจัดการทรัพย์สินของสถาบันการเงิน ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจ่ายคืนแก่ผู้ฝากอย่างเพียงพอ

สำหรับวิธีการประเมินระบบประกันเงินฝากของแต่ละประเทศ อาจดำเนินการได้ 4 วิธี ได้แก่ 1.การประเมินตนเองโดยสถาบันประกันเงินฝาก 2.การประเมินโดย IMF และ World Bank ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินระบบการเงินของประเทศหรือ FSAP (Financial Sector Assessment Program) 3.การจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการประเมิน 4.การประเมินโดย Peer review เช่น ใน IADI regional committee หรือ EFDI

อย่างไรก็ตาม หลักการสำคัญของระบบประกันเงินฝากที่มีประสิทธิผลเป็นเพียงหลักการอย่างกว้าง ในระยะต่อไปยังจำเป็นต้องมีการทดสอบและปรับปรุงแก้ไขแนวปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับผู้สนใจรายละเอียดต่างๆ ความเคลื่อนไหวของสถาบันประกันเงินฝาก สามารถติดตามได้ทาง www.dpa.or.th หรือเข้าชมข้อมูลของสมาคมสถาบันประกันเงินฝากระหว่างประเทศได้ทาง www.IADI.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO