สุวิทย์ เร่งฟื้นฟูอนุรักษ์ ป่า-ดิน-ฝาย

พฤหัส ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๑๔:๑๑
กรมป่าไม้เดินหน้า “โครงการตามแผนฟื้นฟู การอนุรักษ์ป่าและดิน การทำฝาย” เผย 4 งานหลัก “ปลูกป่า-ทำฝาย-ปลูกหญ้าแฝก-นาแลกป่า” สนับสนุนให้ชุมชนร่วมปลูกป่าและดูแลรักษาอย่างยั่งยืน หวังช่วยฟื้นฟูพื้นที่ป่ากับจัดการน้ำทั้งระบบ

นายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแลรักษา ส่งเสริม ทำนุบำรุงป่า และการอื่นเกี่ยวกับป่า ให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมกลยุทธ์เสริมสร้างความร่วมมือของประชาชนเป็นหลัก เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จัดทำกิจกรรมสนับสนุนให้ชุมชนร่วมปลูกป่าและดูแลรักษาอย่างยั่งยืน (นาแลกป่า) ภายใต้กิจกรรมโครงการฟื้นฟู การอนุรักษ์ป่าและดิน และการทำฝายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก "ปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง และ ป่าสัก" โดยมีแนวทางการดำเนินงานมุ่งเน้นการพัฒนาชีวิตของเกษตรกรด้วยการลดพื้นที่ปลูกข้าวไร่/ พืชเกษตรเชิงเดี่ยว โดยส่งเสริมให้มีการทำนาขั้นบันไดในพื้นที่เดิม เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากเดิมผลิตข้าวไร่ได้ 17 ถังต่อไร่ ให้เป็น 40-50 ถังต่อไร่ เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภค นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้พื้นที่นาขั้นบันไดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำในฤดูน้ำหลาก ส่วนพื้นที่ที่เหลือจากการปลูกข้าวแบบนาขั้นบันได

จะถูกฟื้นฟูให้กลับมีสภาพเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง โดยจะส่งเสริมให้เกษตรกรทำ "วนเกษตร ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง หรือ ส่งเสริมการจัดตั้งป่าชุมชน" เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ มาเป็นกรอบและแนวทางในการฟื้นฟูป่า อนุรักษ์ดิน และจัดทำฝาย ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และสามารถดำรงชีวิตร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน

นายสุวิทย์กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแผนการฟื้นฟู การอนุรักษ์ป่าและดิน การทำฝาย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เห็นชอบในหลักการ โดยกรมป่าไม้ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามแผนการฟื้นฟู การอนุรักษ์ป่าและดิน การทำฝาย รวม 4 กิจกรรม ได้แก่ การเพาะชำกล้าไม้ การทำฝาย การปลูกแฝก และการสนับสนุนให้ชุมชนร่วมปลูกป่าและดูแลรักษาอย่างยั่งยืน วงเงินงบประมาณ 456.334 ล้านบาท

โครงการดังกล่าว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555จะเริ่มดำเนินงานในพื้นที่ ได้เเก่ 1.ลุ่มน้ำปิง เนื้อที่ 900 ไร่ งบประมาณ 13.5 ล้านบาท 2. ลุ่มน้ำวัง เนื้อที่ 300 ไร่ งบประมาณ 4.5 ล้านบาท 3. ลุ่มน้ำยม เนื้อที่ 900 ไร่ งบประมาณ 13.5 ล้านบาท 4. ลุ่มน้ำน่าน 600 ไร่ งบประมาณ 9 ล้านบาท 5.ลุ่มน้ำสะแกกรัง เนื้อที่ 300 ไร่ งบประมาณ 4.5ล้านบาท 6. ลุ่มน้ำป่าสัก เนื้อที่ 300 ไร่ งบประมาณ 4.5ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งหมด 49.5 ล้านบาท

ในส่วนของขั้นตอนในการดำเนินงานกรมป่าไม้ได้ประชุมได้หารือกันถึงขั้นตอนในการดำเนินโครงการดังกล่าว ดังนี้

1. ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจในโครงการ

2. ดำเนินการสำรวจและคัดเลือกเกษตรกรที่ทำนาข้าวไร่ หรือพืชเกษตรชนิดอื่น ที่มีพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ได้รับการสำรวจและอยู่ในเขตควบคุมผ่อนผันให้อยู่อาศัยทำกินได้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุยายน 2541 และป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีหรือพื้นที่ป่าตาม พรบ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่ราษฎรมีความประสงค์จะปรับเปลี่ยนมาทำนาขั้นบันได ซึ่งพื้นที่นั้นมีเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

3. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมการดำเนินกิจกรรมรับฟัง พร้อมทั้งซักถามข้อสงสัยต่างๆ

4. จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ทำนาของเกษตรกรในพื้นที่โครงการ พร้อมระบบชลประทานในระบบสารสนเทศภูมิศาตร์ (GIS)

5. ดำเนินการปรับพื้นที่เป็นนาขั้นบันไดในแปลงเกษตรกรที่คัดเลือกไว้ โดยการทำหลักกำหนดแนวเขต การขุด ปักหลักกำหนดแนวการขุดในแนวขึ้น-ลง ปักหลักกำหนดแนวการขุดในแนวระดับ และดำเนินการขุด เคลื่อนย้ายดินและปรับแต่งพื้นที่ ซึ่งในส่วนนี้กรมป่าไม้ดำเนินการเองโดยการจ้างแรงงานในพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ที่ดำเนินการส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง โดยการขุดจากล่างขึ้นด้านบนของพื้นที่ โดยการขุดนาคันล่างสุดเป็นคันที่หนึ่ง ความกว้างของนาขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ คันที่หนึ่ง ให้ขุดหน้าดินแยกไว้ก่อน จากนั้นขุดดินล่างไปทำเป็นคันนา เมื่อได้เป็นรูปแปลงนาแล้วจึงนำหน้าดินมาใส่ จากนั้นให้ขุดคันที่สองที่อยู่ด้านบน ขุดหน้าดินโดยใส่ในคันที่หนึ่ง ทำลักษณะนี้ไปจนถึงคันบนสุด คันบนสุดจะไม่มีหน้าดิน แนะนำให้ขุดเป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อกักเก็บน้ำในฤดูฝน หรือจัดทำระบบชลประทานภูเขา เพื่อนำน้ำเข้าสู่แปลงนา โดยนาขั้นบันไดแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

5.1 นาสันเขา เป็นพื้นที่นาที่อยู่บริเวณสันเขา ความลาดชันระหว่าง 2-12 เปอร์เซ็นต์

5.2 นาไหล่เขา เป็นพื้นที่นาที่อยู่บริเวณไหล่เขา ความลาดชันระหว่าง 30-50 เปอร์เซ็นต์

5.3 นาข้างห้วย เป็นพื้นที่นาที่อยู่บริเวณข้างห้วย ความลาดชันระห่าง 12-20 เปอร์เซ็นต์

6. การติดตามประเมินผล โดยจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมแผนที่และค่าพิกัด และภาพถ่ายทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน (ก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงาน ดำเนินงานเสร็จ) เพื่อรายงานกรมป่าไม้ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด เพื่อนำผลการดำเนินงานมาใช้พัฒนาการทำงานในปีต่อๆ ไป

นายสุวิทย์กล่าวทิ้งท้ายว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการบริหาร จัดการน้ำทั้งระบบของรัฐบาล ซึ่งการดำเนินงานต่างๆ เหล่านี้ตั้งเป้าที่จะฟื้นฟูสภาพป่าไม้และแหล่งน้ำในประเทศ รวมทั้งนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version