1. ทำให้เก่งในเรื่องของการแยกแยะจำแนกเสียง มีการยืนยันจากผลการวิจัยมาแล้วว่า ภาษาไทยเป็นภาษีที่ดีต่อการพัฒนาสมองของเด็ก ภาษาไทยเป็นเสียงดนตรี มีการออกเสียงวรรณยุกต์ เสียงสระ ซึ่งเป็นลักษณะที่พิเศษทำให้สมองลูกพัฒนา และถ้าลูกสามารถแยกเสียง เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า จะทำให้ลูกเป็นผู้รับรู้ทางเสียงที่ดี เขาก็จะอ่าน เขียน ต่อไปได้ดี
2. การอ่านเอาเรื่อง คือ มีการพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานที่สำคัญตามลำดับ โดยเริ่มจาก นิทานที่หนูอ่านมีตัวละครกี่ตัว --> เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน --> เรื่องที่ลูกฟังมีปัญหาหรือข้อขัดแย้งอะไร --> จะแก้ปัญหากันอย่างไร --> บทสรุปของเรื่องเป็นอย่างไร การตั้งคำถามลำดับเหตุการณ์ เป็นการสร้างลำดับความคิดให้กับลูก ฝึกให้ลูกสร้างกระบวนการคิด วิเคราะห์ อย่างมีเหตุและผล ทำให้เด็กรู้คำศัพท์ที่หลากหลาย และฝึกให้เด็กมีการคิดแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่ควรสอนเด็ก
3. มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับหนังสือ เช่น แนะนำลูกว่า นี่คือปกหน้า นี่คือปกหลัง เด็กก็จะได้ลำดับ หรือ ฝึกการสังเกตของลูก ปกหน้ากับปกรองในมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
“นิทานช่วยแก้ปัญหาต่างๆของลูกได้ และในการเลือกหนังสือควรเลือกหนังสือที่ปลูกฝังคุณธรรมให้กับลูกด้วย ถ้าเราไม่เลี้ยงลูกด้วยหนังสือขณะลูกยังเล็ก โอกาสที่เมื่อโตขึ้น ลูกจะไม่จับหนังสือเลยมีสูง”
โครงการ “เล่านิทาน อ่านหนังสือ เสริมการเรียนรู้ สู่การพัฒนาเด็กปฐมวัย” ยังเหลือการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการอีก 2 พื้นที่ คือ กรุงเทพฯ วันที่ 29 มิถุนายน - วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 และ อยุธยา วันที่ 6-7 กรกฎาคม 2555 สำหรับ พ่อแม่ ครู และผู้ดูแลใกล้ชิดเด็กปฐมวัย ที่ต้องการเทคนิคดีๆ ในการพัฒนาศักยภาพของเด็กอย่างรอบด้าน รีบสมัครด่วนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการฯ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-2241-8000 ต่อ 341 หรือเว็บไซต์ www.onec.go.th