ทีเอ็มบีเปิดประตูอาเซียน แต่งตั้ง BCEL เป็น Banking Agent ช่วยนักธุรกิจไทย-ลาว

พฤหัส ๒๑ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๐๘:๓๕
ทีเอ็มบีเดินหน้าเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่ระบบการค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งกับธนาคารในกลุ่มอาเซียน ล่าสุดจับมือกับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao หรือ BCEL) เป็นตัวแทนในการทำธุรกรรม Cash Management Service และ Trade Finance โดยเน้นความสัมพันธ์ทางการเงินที่ชัดเจนตั้งแต่การลงนามให้ความร่วมมือกัน มีกลุ่มลูกค้าจริงและลูกค้าสามารถใช้บริการได้จริง ก่อนก้าวข้ามไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆ

นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ในส่วนของภาคการเงินซึ่งประกอบ

ด้วยธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับทีเอ็มบีได้จัดการสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการทั้งเอสเอ็มอี และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วประเทศตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงได้มีการพัฒนาระบบงานและสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความสำคัญกับระบบธุรกรรมทางการเงิน (Transactional Banking) ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะมองว่าเป็นเฟืองจักรสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงิน และเป็นการเพิ่มคุณค่าให้การบริการที่ทีเอ็มบีส่งมอบให้กับลูกค้าธุรกิจ

กลยุทธ์สำคัญที่ทีเอ็มบีกำลังก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การสร้างเครือข่ายที่เข็มแข็งกับสถาบันการเงินชั้นนำในอาเซียนให้เป็นตัวแทนส่งมอบธุรกรรมทางการเงินให้ลูกค้าธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องเป็นความร่วมมือที่ชัดเจนระหว่างพันธมิตรทางการเงิน เพื่อให้ลูกค้าธุรกิจใช้บริการได้จริงในวันนี้ทีเอ็มบีได้ลงนามแต่งตั้งสถาบันการเงินตัวแทน(Banking

Agent) กับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao หรือ BCEL) กับนายวันคำ วอระวง ผู้อำนวยการใหญ่ BCEL เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางทางการเงินให้แก่ลูกค้าที่เข้าไปทำธุรกิจในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะ BCEL เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดใน สปป.ลาว มีสาขาทั่วประเทศ โดยการลงนามครั้งนี้จะทำให้ BCEL สามารถให้บริการที่ครอบคลุมถึงระบบ Cash Management Service และ Trade Finance คือ เป็นตัวแทนในการรับฝากเงิน จ่ายเงิน ( Paying Agent) และรับชำระเงิน (Collection และ EDC) ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การให้บริการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการรออนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ปัจจุบันมีลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ของทีเอ็มบีที่เข้าไปทำธุรกิจใน สปป.ลาว เช่น กลุ่มบริษัท ซีพี โดยใช้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ สำหรับธุรกิจด้านอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก ซึ่งทำให้มีความสะดวกต่อการนำวัตถุดิบเข้าไปยังสปป.ลาว และส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมายังประเทศไทย ด้านกลุ่มบริษัท บจก.นันยางเท็กซ์ไทล์ ใช้บริการด้านปริวรรตเงินตราต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬาและเสื้อผ้าเด็ก ซึ่งผลิตโดยบริษัทในเครือ ในนามบริษัท Trimax นอกจากนี้ ทีเอ็มบี ยังให้การสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ วงเงิน 15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงิน 450 ล้านบาทกับกลุ่มบริษัทดาวเรือง ซึ่งเป็นธุรกิจในสปป.ลาว ที่ดำเนินธุรกิจสินค้าปลอดภาษี (Duty Free) และมีขนาดใหญ่ที่สุดใน สปป.ลาว อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟรายใหญ่ของประเทศอีกด้วย ซึ่งทีเอ็มบี มั่นใจว่าการให้บริการร่วมกับ BCEL จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกถอนเงินกู้ และเพิ่มความคล่องตัวในการรับ-จ่าย และโอนเงิน (Transactional Banking) ผ่าน BCEL ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนของทีเอ็มบี

นายวันคำ วอระวง ผู้อำนวยการใหญ่ ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว มหาชน กล่าวว่า BCEL มีความยินดีและมีความพร้อมในการเป็นธนาคารตัวแทนให้กับทีเอ็มบี ด้วยสาขาที่มีถึง 18 แห่ง ครอบคลุมทุกพื้นที่เศรษฐกิจทั่วประเทศ ประกอบกับเป็นธนาคารของรัฐที่มียุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ความร่วมมือครั้งนี้ จึงสอดคล้องกับนโยบายของ BCEL และคาดว่าจะสามารถให้บริการทางการเงินทั้งกับลูกค้าชาวไทย ชาวลาว รวมถึงนักธุรกิจประเทศอื่นๆ ที่เข้าไปทำธุรกิจใน สปป.ลาวได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ทีเอ็มบียังมีแผนงานที่จะขยายขอบเขตการให้บริการไปในประเทศอาเซียนอื่นๆ โดยใช้กลยุทธ์ขยายเครือข่ายไปยังธนาคารท้องถิ่น โดยเน้นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน โดยทีเอ็มบีมองว่ากลยุทธ์เครือข่ายจะสามารถสนับสนุนธุรกิจระหว่างประเทศได้ดีกว่าการที่ธนาคารจะลงไปดำเนินการในประเทศอาเซียนเอง เพราะธนาคารท้องถิ่นย่อมมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจลูกค้าธุรกิจในพื้นที่ของตนมากกว่า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าธุรกิจได้รับประโยชน์และคำแนะนำที่เหมาะสม เป็นการเพิ่มคุณค่าการบริการและตอบโจทย์ให้กับลูกค้าที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศอาเซียนได้อย่างตรงจุด (Customer Centricity) นอกจากนี้ ทีเอ็มบียังมีแผนงานจะสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนามและสิงคโปร์ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ