นายสมชาย กล่าวอีกว่า เว็บไซต์ Cultural Map@Chonburi ได้ออกแบบโดยแบ่งข้อมูลเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ๑.แผนที่เมืองชลบุรีที่สามารถสร้างจุดสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญจำนวนอย่างน้อย ๒,๐๐๐ แห่ง โดยแต่ละแห่งสามารถเลือกภาษาได้ ๔ ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษารัสเซีย พร้อมรูปถ่ายสถานที่ท่องเที่ยว และข้อมูลสำคัญ ๗ ส่วน ทั้งข้อมูลสถานที่พัก (Accommodation) ข้อมูลด้านการขนส่งมวลชน (Public Transport) ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี (Tourism Destination) ข้อมูลของฝากและของที่ระลึก (Souvenir and Shopping) ข้อมูลร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวกลางคืน (Restaurant and Night Life) ข้อมูลด้านสุขภาพและความงาม (Health and Wellness) และข้อมูล ศิลปะ และวัฒนธรรม (Art and Culture) และ ๒.มีระบบค้นหาเชิงแผนที่ แผนภาพ โดยสามารถหาสถานที่ท่องเที่ยวและบริการที่สนใจในอาณาเขตบริเวณจากจุดที่กำหนดบนแผนที่ในรัศมีที่กำหนดได้ นอกจากนี้ เว็บไซต์ดังกล่าวยังได้ออกแบบสัญลักษณ์ (LOGO) เว็บไซต์ที่มีความคิดสร้างสรรค์และเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกเว็บไซต์ ที่สามารถจดจำและสื่อความหมายถึงเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม จะมีการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพาขึ้น เพื่อร่วมดำเนินการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการองค์ความรู้สมัยใหม่ ในการต่อยอดและส่งเสริมกระบวนการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โดยจะมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในจังหวัดชลบุรีเพื่อที่จะนำมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ Cultural Map@Chonburi นี้อีกด้วย
- ๖ พ.ย. มูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย สานต่อเจตนารมณ์ มอบทุนการศึกษา 1.3 ล้านบาท แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
- ๖ พ.ย. บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลัง 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เสริมทักษะบุคลากรเภสัชกรรมไทยสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
- ๗ พ.ย. เอ็นไอเอ เปิดตัว "นิลมังกรซีซั่น 3" ดันนวัตกรรมไทยจากโลคอลสู่โกลบอล