อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ ผนึก 8 พันธมิตรระดับโลก เปิด “b.cloud” ขยายฐานสู่องค์กรธุรกิจด้วยบริการบนระบบเหนือเมฆรับเทรนด์ธุรกิจยุคดิจิตอล

พุธ ๒๗ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๑๔:๕๙
บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ISSP ผู้ให้บริการระบบ cloud ในประเทศไทย ผนึกพันธมิตรระดับเวิลด์คลาส ซีเอ อีเอ็มซี เอชพี ไมโครซอฟท์ สิงคโปร์เทเลคอมมูนิเคชั่น ทีโอที เทรนด์ไมโคร วีเอ็มแวร์ เปิดตัวบีคลาวด์ “b.cloud” เทคโนโลยีแห่งโลกสารสนเทศสำหรับองค์กรธุรกิจ

นายสุวิทย์ จินดาสงวน ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ISSP (Internet Solution & Service Provider Co., Ltd.) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และการสื่อสารข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตครบวงจร เปิดเผยว่า “บริษัทฯ ได้ร่วมกับ 8 พันธมิตรชั้นนำระดับโลก เปิดให้บริการเทคโนโลยีการจัดการบริหารในรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจสำหรับองค์กร สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล ลดความเสี่ยง มีความยืดหยุ่นในการใช้งานตามความต้องการของแต่ละองค์กร b.cloud จึงถือเป็นบริการที่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของยุคปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อรองรับการปรับตัวอย่างรวดเร็วและเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กรธุรกิจสามารถบริหารจัดการงานไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และถือว่าเป็นการต่อยอดบริการที่มีอยู่เดิม ของ ISSP ที่ประกอบด้วย ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center), การเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet Connectivity), โซลูชั่นระบบความปลอดภัย (Security Solution), โซลูชั่นการติดต่อสื่อสาร (Communication Solution) และการเชื่อมโยงระบบ (System Integration)”

“b.cloud” บีคลาวด์ คือการนำเทคโนโลยี cloud computing มาพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละองค์กร โดยในแต่ละองค์กรสามารถนำเทคโนโลยี cloud มาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในหลายรูปแบบ อาทิ Infrastructure as a Service หรือ IaaS คือ บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นการให้บริการฮาร์ดแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ ระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัย ในรูปแบบเวอร์ชวลไลเซชั่น (virtualization) ซึ่งทำให้เราสามารถจัดสรรทรัพยากรได้แบบไดนามิค เช่น หากต้องการเพิ่ม-ลดขนาดของซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หรือแรมของเครื่องเซิร์ฟเวอร์สามารถทำได้ทันที ตามความต้องการของผู้ใช้งาน (on demand) จาก cloud เทคโนโลยี ทำให้สะดวก ยืดหยุ่น และง่ายต่อการบริหารทรัพยากรไอที

Platform as a Service หรือ PaaS คือบริการด้านแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นการให้บริการแพลตฟอร์มที่รองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่น โดยผู้ใช้บริการสามารถปรับใช้และจัดการได้เอง โดยระบบ PaaS ประกอบด้วยระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล และระบบมิดเดิ้ลแวร์ โดยผู้ใช้ cloud ในรูปแบบนี้จะเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) ที่ต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานบน cloud และให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นนั้นใช้คุณสมบัติต่างๆ ของ cloud ที่จะไม่สามารถหาได้จากสภาวะปกติ (Non-cloud computing) โดยไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์ทุกอย่างเอง เช่น ความสามารถในการขยาย Computing Resource(CPU/Memory) เมื่อต้องใช้ประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก หรือ ลด Computing Resource เมื่อใช้ประมวลผลข้อมูลจำนวนไม่มาก เป็นต้น และ Software as a Service หรือ SaaS เป็นโมเดลทางด้านธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม โดยมีแนวความคิดพื้นฐานเป็นการเอามาแทนที่การซื้อซอฟต์แวร์แบบเก่า ที่มีราคาแพง และการติดตั้งที่ยุ่งยาก โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อซอฟต์แวร์แพคเกจและเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อมาติดตั้งใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง หรือเรียกอีกอย่างว่า การปรับแต่งซอฟต์แวร์ของตนเองและกระบวนการทางธุรกิจ โดยแต่ละองค์กรสามารถเรียกใช้ Business Software บน cloud เทคโนโลยีได้ทันทีทุกที่ทุกเวลา ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การใช้ Email Application, ระบบ File Sharing / Content Management, ระบบ CRM Application สำหรับฝ่ายขายและฝ่ายบริการลูกค้า เป็นต้น

ด้านนายบัณฑิต ว่องวัฒนะสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ISSP กล่าวว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยี cloud เริ่มเป็นที่แพร่หลายในการบริหารจัดการองค์กร ในด้านเทคโนโลยี เนื่องจากสามารถลดต้นทุนการบริหารจัดการ เห็นได้จากอัตราการเติบโตของตลาดที่มีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาตลอด โดยเฉพาะในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทย แนวโน้มการหันมาใช้เทคโนโลยี cloud จะเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีนี้สามารถทำให้องค์กรหรือธุรกิจสามารถขยับขยาย หรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น รวดเร็วมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Business Agility โดยไม่มีภาระผูกพันที่ยาวนาน เมื่อใช้ cloud เทคโนโลยี มาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรธุรกิจ โดยที่ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง Business Software หรือ Virtual Servers และ Virtual Desktop จาก cloud ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆ นอกจากนี้ cloud ยังมีศักยภาพในการรองรับและตอบสนองความต้องการของแต่ละองค์กร ทั้งในรูปแบบ cloud ส่วนบุคคล (Private cloud) และรูปแบบ cloud สาธารณะ (public cloud) คือการใช้บริการบนอินเตอร์เน็ต”

ดร. กนกวรรณ ว่องวัฒนสิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ISSP กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการที่เราได้เป็นผู้บุกเบิกในยุคดอทคอมมาแล้ว คำถามที่พบบ่อยคือ หลังจากยุคดอทคอมแล้ว จะมีอะไรที่เป็นความเปลี่ยนแปลงแบบนั้นเกิดขึ้นอีก และ cloud computing ก็คือคำตอบ บริการ b.cloud ของ ISSP จะเป็นบริการ cloud computing ที่ได้รับความสนใจจากคนในวงการไอที รวมถึงองค์กรและธุรกิจต่างๆ และจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยข้อดีในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบริการที่สามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้ใช้ที่สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถเข้ามาดึงเอาทรัพยากรข้อมูลส่วนกลางไปใช้ได้ไม่ว่าอยู่ที่ใดก็ตาม การที่เราใช้ผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยม จากพันธมิตรระดับโลก และการที่เราเป็นผู้ที่อยู่ในธุรกิจด้านนี้มานาน มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแล จัดการ บริการ b.cloud จะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนา โครงข่ายสื่อสารข้อมูล วงจรที่จะเชื่อมต่อความเร็วสูง เพื่อรองรับข้อมูลมัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”

สื่อมวลชนที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

บริษัท ไมนด์ ทัช จำกัด — ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ หรือ บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด

โทร (02) 225 5844

E-mail: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ