สมาคมกุ้งไทยชี้ปัญหาจีเอสพี-อียู จ่อส่งผลวิกฤตกุ้งไทย ฉุดภาคส่งออก

พุธ ๐๔ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๔:๐๓
ผลกระทบจีเอสพียุโรปสะเทือนอุตสาหกรรมกุ้งไทย วอนภาครัฐเร่งหาแนวทาง หวั่นกระทบผู้เลี้ยงและผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบกว่า 2 ล้านคน

นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์การส่งออกกุ้งของประเทศไทยในช่วง 4 เดือนแรก ปี 2555 (มกราคม-เมษายน) มีปริมาณรวม 92,862 ตัน คิดเป็นมูลค่า 26,514 ล้านบาท ซึ่งลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ที่ร้อยละ 10.31 และ 3.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่มีปริมาณ 103,533 ตัน และมูลค่า 27,385 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าลดลงของตลาดสหรัฐอเมริกาที่ลดลงกว่าร้อยละ 20 (ดังตาราง)

การส่งออกกุ้งของไทย เดือนมกราคม-เมษายน 2555

ประเทศ / กลุ่มประเทศ ม.ค.-เมย.55 ม.ค.-เมย.54 %แตกต่าง

ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า

เอเชีย 33,921 9,563 31,164 8,308 8.85 15.11

สหรัฐอเมริกา 33,291 9,624 44,315 11,981 -24.88 -19.67

อียู 15,212 4,294 16,792 4,168 -9.41 3.02

ออสเตรเลีย 2,794 814 2,188 564 27.70 44.33

อื่นๆ 7,644 2,219 9,074 2,364 -15.76 -6.13

รวม 92,862 26,514 103,533 27,385 -10.31 -3.18

ที่มา : กรมศุลกากร

นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า ทิศทางของอุตสาหกรรมกุ้งไทย นับจากนี้ถือว่า น่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อสหภาพยุโรป (อียู) ได้ประกาศปรับเปลี่ยนเกณฑ์การให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี) ตามที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาอียูเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสินค้ากุ้งก็เป็น 1 ใน 57 สินค้าไทยที่ถูกตัดจีเอสพีระบบใหม่ เนื่องจากในอัตราภาษีใหม่ กุ้งดิบจะต้องเสียภาษีในอัตราเต็มที่ร้อยละ 12 จากที่ปัจจุบันเสียภาษีในอัตราร้อยละ 4.2 สำหรับสินค้ากุ้งสุก และกุ้งปรุงแต่ง จะต้องเสียภาษีในอัตราเต็มที่ร้อยละ 20 จากปัจจุบันเสียภาษีที่ร้อยละ 7 จากอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดนี้ จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกอย่างแน่นอน ขณะที่ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ อย่างมาเลเซีย ก็ทำเอฟทีเอกับอียูแล้ว ส่วนเวียดนาม อินเดีย จีน อินโดนีเซีย แม้จะยังไม่ได้ทำเอฟทีเอ แต่ก็มีอัตราภาษีที่ได้เปรียบกว่าไทย

“ขอฝากถึงภาครัฐ ให้ดำเนินการหาแนวทางช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในทุกวิถีทาง เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันได้ เพราะการใช้อัตราภาษีใหม่นี้ มีโอกาสจะทำให้การส่งออกกุ้งของไทยไปตลาดอียูที่ปัจจุบันมีประมาณร้อยละ 20-25 ของการส่งออกทั้งหมด จะเหลือไม่ถึงร้อยละ 5 จึงอยากขอให้รัฐบาลเร่งช่วยเจรจาเรื่องจีเอสพี ไม่ให้ไทยถูกเรียกเก็บในอัตราที่สูงสุดอยู่เพียงประเทศเดียว หรือดำเนินการเจรจาด้านเอฟทีเอกับอียูโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดผลร้ายแรงต่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมกุ้งไทย ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและผู้เกี่ยวข้องในระบบกว่า 2 ล้านคนด้วย ” นายสมศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ เหตุการณ์ในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว เหมือนเช่นเมื่อปี 1997 ที่ไทยเป็นประเทศเดียวที่ถูกตัดสิทธิจีเอสพี และเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องเสียตลาดส่งออกกุ้งที่มีอยู่ให้กับประเทศคู่แข่ง โดยการส่งออกกุ้งในช่วงดังกล่าวลดฮวบเหลือแค่ไม่กี่ร้อยตัน จากที่เคยมีส่วนแบ่งตลาดปริมาณ 30,000 ตัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ