นายประเดิม กล่าวอีกว่า ซีพีเอฟ ไอทีเซ็นเตอร์ เดินหน้าพัฒนาระบบ IT ของซีพีเอฟให้ก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทุกหน่วยงาน การคว้ารางวัลในครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำความสำเร็จอีกก้าวของซีพีเอฟและสะท้อนให้เห็นความพร้อมในการเป็น "ครัวของโลก"
สำหรับการพัฒนาเครื่องมือในการวัดความยาวลูกกุ้งนั้น ซีพีเอฟ ไอทีได้ร่วมกับศูนย์ลูกกุ้ง อ. ปะทิว จ. ชุมพร ในการให้ข้อมูลความต้องการ อุปสรรคและปัญหาในการวัดความยาวลูกกุ้งก่อนนำออกจำหน่าย ให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นจากเดิมการวัดขนาดกุ้งด้วยมือพร้อมจดบันทึกได้เพียงครั้งละ 1 ตัวจากนั้นจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องวัดจำนวน 50 ตัวต่อ 1 บ่อ การพัฒนาเครื่องมือนี้จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มความแม่นยำในการวัดขนาดทั้งยังลดผลเสียด้านสุขภาพด้านสายตาและความอ่อนล้าจากการปฏิบัติงานของพนักงาน
ส่วนโครงงาน VIP-SCADA ซึ่งเป็นความร่วมมือในการให้ข้อมูลความต้องการจากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ สาขาแกลง จ. ระยอง เป็นระบบที่ช่วยในการบริหารจัดการและควบคุมกระบวนการผลิต ตลอดจนควมคุมประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน โดยใช้อุปกรณ์ Radio Frequency Identification (RFID) มาประยุกต์ใช้เก็บข้อมูล ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพงานของพนักงานได้แบบ Real Time และ สามารถดูประสิทธิภาพการผลิตได้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile) อาทิเช่น Smart Phone ได้จากทุกที่ในโลก ช่วยผู้บริหารในการปรับสมดุลในสายการผลิตได้ทันที รวมทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดในสายการผลิต เพื่อใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถวางใจในผลิตภัณฑ์ของ CPF ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเป็นระบบนำร่องในการวางมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับในทุกสายการผลิตของ CPF ต่อไป