เอกชนเสนอคลังเร่งออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นการเสียภาษีสำหรับบริษัทไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศ

ศุกร์ ๐๖ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๑๙
เอกชนเสนอคลังเร่งออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นการเสียภาษีสำหรับบริษัทไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศ หลังค้างมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน ชี้เป็นประโยชน์ในการผลักดันให้คนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ และเตรียมพร้อมรับมือการเปิดเสรี AECในปี 2558

ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานคณะกรรมการกฎหมายภาษีอากร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เอกชนขอเรียกร้องไปยังนายกิตติรัตน์ ณ ระนองรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้เร่งพิจารณาผลักดันร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 442 ที่ว่าด้วยการยกเว้นภาษีให้กับบริษัทไทยที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนให้ธุรกิจคนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับภาคธุรกิจไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558

ทั้งนี้ ร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลก่อน ซึ่งได้มีการตัดเงื่อนไขในเรื่องการเสียภาษีของบริษัทไทยในต่างประเทศ โดยเหลือแค่ว่า หากบริษัทไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศได้เสียภาษีเงินได้ไม่ว่าในชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของบริษัทที่ประกอบการหรือบริษัทที่ถือหุ้นในโฮลดิ้ง เงินปันผลที่ส่งกลับเข้ามาจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้

“หลังจากเปลี่ยนรัฐบาล เรื่องได้ถูกส่งกลับมายังนายกิตติรัตน์ เพื่อพิจารณาว่าเห็นด้วยหรือไม่แต่เอกชนทราบว่าท่านรัฐมนตรีไม่เห็นชอบกับนโยบายภาษีดังกล่าว โดยขอให้กรมสรรพากรพิจารณาข้อมูลใหม่ เพราะเห็นว่าอาจจะเป็นช่องทางในการหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทไทย และไม่อยากให้บริษัทนำเงินต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งตัว ซึ่งไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่แต่เอกชนเห็นว่า รัฐบาลควรจะเร่งออกพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศ เพราะนโยบายที่สวนทาง ทำให้บริษัทไทยมีต้นทุนแพงกว่าบริษัทในประเทศอื่น จึงอยากขอให้นายกิตติรัตน์พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง”นายกิติพงศ์กล่าว

นายกิติพงศ์ กล่าวว่า ปัจจุบันการออกไปลงทุนต่างประเทศของบริษัทไทย หากเป็นการลงทุนในบริษัทโฮลดิ้งในสิงคโปร์ ฮ่องกง หรือในประเทศสวรรค์ผู้เสียภาษี (Tax Haven) ปกติเงินได้หรือกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจในต่างประเทศ จะถือเป็น Foreign Source Income มักจะไม่ต้องเสียภาษีแต่เมื่อบริษัทดังกล่าวจ่ายเงินปันผลคืนมาให้บริษัทไทย และบริษัทไทยนำเงินปันผลกลับเข้าประเทศจะต้องเสียภาษีเต็มจำนวนคือ 23% ในปี 2555 และ 20% ในปี 2556 ซึ่งเป็นเรื่องที่นักลงทุนได้เรียกร้องมานาน 2-3 ปีแล้ว

ทั้งนี้ การที่รัฐบาลไม่สนใจต่อข้อเรียกร้องของเอกชน ทำให้อาจมีบริษัทไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศ ไม่นำเงินปันผลกลับมามาประเทศไทย และจะยิ่งทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์ในภาพรวม เพราะบริษัทก็จะนำเงินไปลงทุนต่อหรือเก็บเงินไว้ในต่างประเทศ ประเทศไทยก็จะไม่ได้อะไรเลย

“ผมเห็นว่าการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทไทยควรเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาและให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมายและภาษี ผมเห็นว่าในภาวะวิกฤติยุโรปอาจทำให้เราซื้อของได้ถูก เราควรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสหาช่องทางการซื้อทรัพย์สินและกิจการในต่างประเทศให้เป็นของคนไทย นอกจากนั้น ในปี 2558 ยังจะมีการดำเนินการเปิดเสรี AEC จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญ”นายกิติพงศ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version