กรมสุขภาพจิต ย้ำ ปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย สื่อช่วยได้

พฤหัส ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๐:๒๒
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การฆ่าตัวตายและพยายามฆ่าตัวตาย เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและสังคมทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลกประมาณการว่า ในแต่ละปีมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน คิดเฉลี่ยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ในทุก 40 วินาที ส่งผลกระทบต่อจิตใจของครอบครัวและผู้คน รอบข้างของผู้ตายอีกประมาณ 10—20 ล้านคนในแต่ละปี รวมทั้งส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล สำหรับประเทศไทยปี 2542 เป็นปีที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด 8.59 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเป็นผลจากวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินการโครงการป้องกันการฆ่าตัวตายมาอย่างต่อเนื่องในการ แก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการรณรงค์ การคัดกรอง การปรับปรุงให้เกิดการเข้าถึงบริการ ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลงโดยลำดับ จนทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ตลอด 5 ปี คือ อยู่ระหว่าง 5.97-6.03 รายต่อแสนประชากร ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องจัดว่าประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายต่ำ ทั้งนี้ เพศชายยังคงมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าเพศหญิง และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 30-39 ปี ฆ่าตัวตายมากที่สุด รองลงมา คือ อายุ 20-29 ปี และอายุ 40-49 ปี

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า ในช่วงนี้อาจเห็นว่ามีข่าวการฆ่าตัวตายปรากฏอยู่บ่อยครั้งแสดงว่ามีการฆ่า ตัวตายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงเดือน มิ.ย. และ ก.ค. ซึ่งในความเป็นจริง ไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจาก 6 เดือนที่ผ่านมา ข่าวการฆ่าตัวตายในแต่ละเดือนจะอยู่ระหว่าง 11-25 ราย ส่วนใหญ่อยู่ที่เดือนละ 23-25 ราย ซึ่งเดือน มิ.ย. และ ก.ค. ข่าวการฆ่าตัวตายก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น เพียงแต่มีการรายงานข่าวใหญ่ในกรณีที่เป็นที่น่าสนใจและเป็นการพาดหัวใหญ่ ติดต่อกันหลายวัน

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การฆ่าตัวตายเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนมิได้เกิดขึ้นจากเหตุใดเหตุหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งสื่อมวลชนนับว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะช่วยลดปัญหาการฆ่าตัวตาย โดยสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในประเด็นสำคัญ ๆ ได้ เช่น

- กลุ่ม เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อาทิ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้มีปัญหาสุรา ยาเสพติด ผู้ป่วยโรคจิต และผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางกาย (เช่น มะเร็ง หัวใจ อัมพาต) ซึ่งหากกลุ่มเหล่านี้มีการดูแลตนเอง และการดูแลจากครอบครัวดีจะลดการฆ่าตัวตายได้

- สำหรับวัยรุ่นและคน หนุ่มสาว การฆ่าตัวตายอาจจะมีลักษณะกะทันหันมากกว่าจากปัญหาสุขภาพจิตที่มีอยู่แล้ว เมื่อประสบวิกฤติ เช่น การเรียน สัมพันธภาพหรือการทำงานก็อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

- กลุ่มคนที่ฆ่า ตัวตายมักมีสัญญาณเตือน เช่น พูดบ่นว่าอยากตาย ท้อแท้ ไม่อยากเป็นภาระ เขียนจดหมาย ลาตาย เคยพยายามฆ่าตัวตาย มีความคิดฆ่าตัวตาย มีการสั่งเสีย ทั้งนี้ แต่ละกลุ่มจะมีสัญญาณเตือนแตกต่างกัน เช่น กลุ่มวัยรุ่น มักจะเขียนจดหมายหรือโทรศัพท์ ขณะที่วัยผู้ใหญ่ มักจะเก็บตัวหรือพูดบ่นอยากตาย นอกจากนี้ ร้อยละ 9.1 ของผู้ฆ่าตัวตาย ระบุว่า ได้มีการทะเลาะเบาะแว้งกับบุคคลใกล้ชิดก่อนตัดสินใจ ทำร้ายตนเอง ซึ่งเพศชายมักแสดงสัญญาณเตือนทางพฤติกรรม ท่าทาง ขณะที่ผู้หญิงจะแสดงสัญญาณเตือนทางคำพูด ถ้าหากญาติสังเกตเห็นหรือบุคคลนั้นมีโอกาสพูดคุยหรือรับคำปรึกษาก็จะสามารถ ป้องกันการฆ่าตัวตายได้ เพราะมากกว่า ร้อยละ 37.9 ของผู้ฆ่าตัวตายจะส่งสัญญาณเตือนนี้ไปหาบุคคลใกล้ชิด (ภรรยา บุตร) ขณะที่ ร้อยละ 2.3 เพื่อนร่วมงานจะเป็นกลุ่มที่ได้รับสัญญาณเตือน

รองอธิบดีกรม สุขภาพจิต กล่าวต่อว่า จากการศึกษาทั่วโลก พบว่า ข่าวการฆ่าตัวตาย มีผลให้เกิดการเลียนแบบได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะจิตใจเปราะบาง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเสนอข่าวด้วย จึงมีแนวทางในการเสนอข่าวของสื่อมวลชน ดังนี้ไม่ พาดหัวใหญ่ ไม่ชี้ว่าเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ไม่ใช้ภาษาที่ทำให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องปกติ หรือเป็นทางออกของปัญหาชีวิต ไม่เสนอภาพข่าวซ้ำบ่อยๆ ไม่พรรณนาถึงวิธีการฆ่าตัวตายอย่างละเอียด ไม่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของครอบครัว ขณะเดียวกันก็ ควร ให้ความรู้ประชาชนให้เข้าใจปัญหา รู้จักเฝ้าระวัง และรู้แหล่งบริการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งประเทศไทยมีระบบริการที่สำคัญ คือ1. บริการสาธารณสุข ได้แก่ รพ. ชุมชน ซึ่งทุกแห่งมีผู้ให้คำปรึกษา และ รพศ./รพท. ซึ่ง 90 % มีจิตแพทย์ 2. บริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง และ NGO เช่น สะมาริตันส์ ที่มีผู้ให้คำปรึกษาที่ได้รับการฝึกอบรม3. บริการ รพ.จิตเวช ซึ่งให้บริการทั้ง ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญ ควรดูแลตัวเอง เพราะการติดตามทำข่าวการฆ่าตัวตายอาจสร้างความเครียดและความทุกข์ได้มาก จึงต้องหาทางออกให้ตนเองด้วย อาทิ พูดคุยระบายกับผู้ร่วมงาน เพื่อน คนในครอบครัว หรือองค์กรอื่นๆ ที่ให้ความช่วยเหลือ สื่อมวลชนจึงมีส่วนสำคัญในการป้องกันการฆ่าตัวตายให้ได้ผลดีขึ้น สำหรับ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ ปี 2554 ในประเด็นการจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย (สุขใจ...ไม่คิดสั้น) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยให้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ประสานขอความร่วมมือให้องค์กรสื่อสารมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนา มาตรการควบคุมการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายระหว่างสื่อมวลชนกันเอง โดยอาศัยมาตรการทางจรรยาบรรณวิชาชีพ สนับสนุนการนำเสนอข่าวสารด้านการสร้างความสุขใจ และสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ทางสุขภาพจิต การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว รวมทั้งชี้ช่องทางการเข้าถึงแหล่งให้บริการปรึกษาภายหลังที่มีการนำเสนอข่าว งดเว้นการนำเสนอภาพหรือเนื้อหา ที่สื่อถึงความรุนแรงและวิธีในการฆ่าตัวตายในสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะละคร สื่อภาพยนตร์ สื่อออนไลน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมกระบวนการชื่นชมและเชิดชูเกียรติการทำงานของสื่อมวลชนที่ดี ในการส่งเสริมการสร้างความสุขใจ แก้ไขปัญหาสุขภาพจิต และการป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย นั้น กรมสุขภาพจิตจะเสนอให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านสื่อมวลชนจากผู้แทนสื่อมวลชน ให้เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อร่วมกันพัฒนามาตรการต่างๆ เกี่ยวกับสื่อมวลชนต่อไป รองอธิบดี กรมสุขภาพจิต กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version