สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัวโครงการ “ASEAN Sense of Citizenship”

จันทร์ ๑๖ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๐๙:๒๕
สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร ( ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ) สานต่อสถานะความเป็นผู้นำอาเซียนของประเทศไทย เปิดตัวโครงการ “ASEAN Sense of Citizenship” เพื่อวางแนวทาง นโยบาย ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการส่งเสริมความรู้สึกของการเป็น “ประชากรอาเซียน” ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ ภายใต้แนวคิด “ 10 ประเทศ ” ไปสู่ “1 ประชาคม” มุ่งหวังยกระดับศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศผ่านการพัฒนาคน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยท่านเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ร่วมแสดงความยินดี และให้การสนับสนุนโครงการ ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันก่อน...

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร ได้กล่าวถึงโครงการ “ASEAN Sense of Citizenship” ว่า ”ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน หรือ AEC ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) มีทั้งหมด 10 ประเทศ อันได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ บรูไน โดยประเทศไทยเองอยู่ในสถานะผู้นำอาเซียนอันเกิดจากการเป็นผู้ริเริ่มก่อเกิดความร่วมมือในภูมิภาค ทั้งยังเป็นประเทศเจ้าภาพ ดังนั้นเพื่อธำรง และสานต่อสถานะความเป็นผู้นำในอาเซียนของประเทศไทย ทางสถาบันทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานอันมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการส่งเสริม และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงขอเสนอตัวในการเป็นผู้ดำเนินโครงการสร้าง และส่งเสริมความเป็น “ประชากรอาเซียน” ให้กับประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะยกระดับศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศผ่านการพัฒนาคน พร้อมได้ริเริ่มโครงการ “ASEAN Sense of Citizenship” เพื่อศึกษาสถานะความคิดความเชื่อทัศนคติ และค่านิยมในด้านต่างๆ ในปัจจุบันของประชากร พร้อมทั้งการผลิตสื่อความรู้ออกแบบแนวทาง และเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อการฝึกอบรม ตลอดจนการจัดกิจกรรมในหลาก หลายรูปแบบที่จะช่วยสร้างความตื่นตัว และส่งเสริมความรู้สึกในการเป็นประชากรอาเซียนให้เกิดขึ้น โดยปรับปรุงแนวทาง การดำเนินโครงการ และขยายผลการสร้างความเป็นประชากรอาเซียนไปสู่ความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศสมาชิก โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักในการเผยแพร่สื่อฝึกอบรม และกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ เด็กและเยาวชนไทยตั้งแต่ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ครูและอาจารย์, ข้าราชการไทยในกระทรวงต่างๆ, กลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุนไทยที่ทำธุรกิจ/ลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน และบุคคลากรใน 8 กลุ่มวิชาชีพหลัก ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีภายใน ประชาคมอาเซียน ตามข้อตกลง Mutual Recognition Arrangements: MRAs ซึ่งได้แก่ วิศวกรรม, การสำรวจ, สถาปัตยกรรม, แพทย์, ทันตแพทย์, พยาบาล, บัญชี, การบริการ และ การท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การจะมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนตามคำขวัญ “One Vision, One Identity, One Community” “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จากเพียงการลงนามในเอกสารของเหล่าผู้นำประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศเท่านั้น หากยังมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อันนำไปสู่พื้นฐานทางความคิด ความเชื่อ และทัศนคติต่อเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ประชากรของเหล่าประเทศสมาชิกนั้นยังอาจขาดความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับประเทศสมาชิกในบริบทต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ในการเปลี่ยนผ่านจาก “10 ประเทศ” ไปสู่ “1 ประชาคม” เป็นไปอย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้าง และส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกร่วมบางอย่างที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายใต้แนวคิดความเป็น “ประชากรอาเซียน” ( ASEAN Sense of Citizenship : ASC )”

รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ทางสถาบันฯ คาดว่าจะได้รับความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตรในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อต่อยอดขยายผลการสร้าง และส่งเสริมความรู้สึกถึงการเป็นประชากรอาเซียนให้เกิดขึ้นในวงกว้าง ครอบคลุมประชากรของประเทศสมาชิก โดยการนำข้อมูลสถานะปัจจุบันในด้านความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมในด้านต่างๆ ของประชากรในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้จากการศึกษาวิจัย สื่อความรู้ หลักสูตรฝึกอบรม และกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ออกแบบไว้ในลักษณะที่เข้าใจง่ายสนุกสนาน และน่าสนใจไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาในบางส่วนให้สอดคล้อง กับสถานะทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมในปัจจุบันของประชากรในแต่ละประเทศ นอกจากนี้การร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรในประเทศสมาชิกนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยในการขยายผล และส่งเสริมความรู้สึกถึงการเป็นประชากรอาเซียนให้เกิดขึ้นในวงกว้างเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนช่วยในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อไปในอนาคต และปลูกฝังความรู้สึกการเป็นประชากรอาเซียนให้อยู่ในจิตสำนึกของประชากรอาเซียนในทุกประเทศสมาชิก เพื่อวางแนวทาง นโยบาย ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการสร้างให้เกิดความรู้สึกของความเป็นประชากรในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติ และก้าวสู่ความเป็นผู้นำในระดับอาเซียน / เอเชีย ต่อไป”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO