ทีวีไกด์: รายการ "เจาะใจ" เปิดใจ “หมอสันต์” หมอรักษาโรคหัวใจเป็นโรคหัวใจซะเอง ลาออกทิ้งมีดหมอปฏิวัติพฤติกรรมตัวเองจนหาย

อังคาร ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๑๑
รายการเจาะใจ เมื่อหัวใจยังเต้น วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคมนี้ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ในยุคที่มีตัวยานำเข้า มีเครื่องมือแพทย์ทันสมัย แต่กลับมีอัตราการป่วยมากขึ้น เราจะทำอย่างไร ห้ามพลาดคำตอบจากเรื่องราวชีวิตของนายแพทย์ สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์มือดี ที่เชื่อว่า ช่วงก่อนเป็นโรคสำคัญที่สุด การทำอย่างไรให้ไม่ป่วย เพราะคนส่วนใหญ่จะคิดแค่ว่า ไม่เป็นไรไม่สบายก็ไปหาหมอ จากชีวิตที่ลงมีดผ่าตัดรักษาหัวใจมาไม่น้อยกว่า 2,000 ราย แต่ไม่น่าเชื่อหมอรักษาโรคหัวใจกลับเป็นโรคหัวใจซะเอง ในฐานะหมอผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดหัวใจ กลับไม่เชื่อว่า การผ่าตัดสามารถรักษาโรคหัวใจได้ 100% จึงยอมก้าวลงจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล มาเป็นหมอที่ทำงานเฉพาะด้านเวชศาสตร์ครอบครัวเพราะเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต คือวิธีที่ดีที่สุดในการรักษา ไม่เฉพาะโรคหัวใจแต่หมายถึงทุกๆโรค

“ผมว่า ช่วงก่อนเป็นโรคสำคัญที่สุด ทำอย่างไรให้คนไม่ป่วย จะได้ไม่ต้องไปหาหมอ คนจะคิดแค่ว่า ไม่สบายไปหาหมอ ผมเป็นหมอผ่าตัดโรคหัวใจ อาจดูแปลกที่เป็นหมอหัวใจแต่กลับเป็นโรคหัวใจ เพราะหมอจะถูกสอนให้รู้เรื่องโรค แต่ไม่ได้ถูกสอนให้รักษาตัวเอง ดูแลตัวเอง เรียนหนังสือ 6 ปี อ่านหนังสือทั้งกลางวันกลางคืน ผมอยากเลิกเป็นหมอ หมอไม่ใช่อาชีพในฝันเลย ตอนเด็กอยากเป็นเกษตรกร เป็นจิตรกร เป็นทหาร ผมจบ ปวช. เกษตร ตอนเรียน ที่ ม.เกษตรฯ น้องสาวไม่สบาย เลยลาออกไปรักษาน้องจนหาย พอกลับมาเรียน ความรู้สึกอยากเป็นหมอเข้ามาเลย มาเรียนต่อหมอ เรียนจนอายุ 40 กว่าจะได้เป็นหมอผ่าตัดหัวใจคนได้ ทำงานเครียดมาก ยิ่งต้องบริหาร ตอนอายุ 51 ไปตรวจเจอดัชนีร่างกายแย่มากแล้ว มีแคลเซียมเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ มีปัจจัยเสี่ยงเต็มไปด้วยข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรค ซึ่งขั้นตอนการรักษาคือ กินยา ทำบอลลูน ทำบายพาส และกินยารักษาไปตลอด เป็นวงจรแบบนี้ถ้าลองได้เป็นโรคหัวใจแล้ว ผมตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการเลย พอดีช่วงนั้นมีการอบรมปฏิวัติพฤติกรรมเพื่อต้านโรคเรื้อรัง โดยอาศัยหลัก 3 อย่าง คือ ออกกำลังกาย — โภชนาการ — ความเครียด ซึ่งผลการวิจัยยืนยันว่า การออกกำลังกายมีผลต่อการรักษาโรค ช่วยแก้โรค และป้องกันได้ดีกว่าการกินยา ผมจึงหันศึกษาด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและลงมือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตลอดเวลา 8 ปีที่ปฏิวัติตัวเอง ปัจจัยเสี่ยงหายไป ไขมันในเลือด ความดันเลือด น้ำหนักลดลง ผมไม่เป็นโรคหัวใจแล้ว ตอนนี้อายุ 60 ผมรอวันเกษียณ จะได้กลับไปทำสิ่งที่อยากทำ ไปปลูกผัก ทำไร่ เขียนรูปสีน้ำมัน ทำความฝันในวัยเด็กให้เป็นจริง

อยากให้ทุกคนหันมาปฏิวัติ เปลี่ยนพฤติกรรม มาทำอะไรที่ทำให้ชีวิตเราไม่ต้องเจอหมอ เพราะผลวิจัย การเป็นคนไข้ชั้นดี กินยาตามที่หมอสั่ง 12 ปี มีแต่ทรุดกับทรุด แย่ลง และเดี๋ยวนี้เดินมา 1 ใน 3 จะมีปัจจัยเสี่ยง โรคหัวใจ หลอดเลือด ความดันสูง ถ้าปัจจัยเสี่ยงมีเยอะ โอกาสขึ้นเขียงก็มีสูง ตามสถิติถ้าอายุเกิน 50 ปีไปแล้ว ถ้าไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ผู้หญิงจะอยู่ได้ถึงอายุ 84 ปี ผู้ชาย 80 ปี ช่วงหลังเกษียณอายุ เราจะมีเวลา 20 ปีกว่าจะหมดอายุ เราจะใช้ชีวิตนอนป่วยเรื้อรังอยู่บนเตียงสะเงาะสะแงะ มีสายระโยงระยาง หรือจะใช้ชีวิตแบบมีความสุขได้ทำในสิ่งที่อยากทำ สิ่งที่ฝันไว้ตอนเด็ก

ติดตามเรื่องราวการปฏิวัติตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข จาก นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ ได้ในรายการเจาะใจ ในวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคมนี้ เวลา 22.25 น. ทางททบ.5

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ