เด็กไทยคว้า 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง ชีววิทยาโอลิมปิกจากสิงคโปร์

อังคาร ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๗:๒๑
นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่าตามที่ได้คัดเลือกและจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ วันที่ 8 - 15 กรกฎาคม 2555 ณ ประเทศสิงคโปร์ ผลปรากฏว่านักเรียนไทยสามารถคว้าเหรียญรางวัลได้ 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง ดังนี้

นางสาวเมธาวี โฉมทอง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เหรียญทอง

นายอารยะ ทะแพงพันธ์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เหรียญทอง

นายปวีณ เกลียวปิยะ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เหรียญเงิน

นายภูวนัตถ์ สังขปรีชา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เหรียญทองแดง

การแข่งขันครั้งนี้มี รศ.ดร.ธีรพงษ์ บัวบูชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าทีม ดร.นพดล กิตนะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองหัวหน้าทีม รศ.ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ผศ.ดร.ปิติวงษ์ ตันติโชดก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นผู้ช่วยหัวหน้าทีม และนางสาวอรสา ชูสกุล สสวท.ผู้จัดการทีม

คณะผู้แทนโอลิมปิกวิชาการจะกลับถึงประเทศไทยวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฏาคม 2555 เที่ยวบิน TG 414 เวลา 17.15 น. สสวท.จะมีพิธีต้อนรับ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 2 ด้านใน ประตู 1

นางสาวเมธาวี โฉมทอง กล่าวว่าโอลิมปิกวิชาการมีส่วนช่วยให้เด็กไทยสนใจวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเพราะจากที่สัมผัสมาพบว่าช่วยกระตุ้นให้เพื่อนๆรวมทั้งตนเองสนใจค้นคว้าหาความรู้มากขึ้น ปกติอยู่ที่โรงเรียนก็มีการแบ่งปันความรู้กับเพื่อนเพื่อทบทวนหรือเมื่อสงสัยในห้องเรียนก็รีบถามอาจารย์แล้วหาตำรามาอ่านเพิ่ม รู้สึกดีใจที่ได้ช่วยกิจกรรมวิชาการของโรงเรียน ได้ทำค่ายให้น้องในชนบทเพราะชีวิตที่ได้ทำประโยชน์ให้ผู้อื่นเป็นชีวิตที่มีคุณค่า อนาคตอยากเป็นนักวิจัยหรืออาจารย์สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ถ่ายทอดให้คนรุ่นต่อไป

นายอารยะ ทะแพงพันธ์ เผยว่าก่อนจะมาถึงจุดนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆจึงตั้งใจทำให้ดีที่สุด ก่อนไปแข่งมีทบทวนบทเรียนและหมั่นฝึกทักษะปฏิบัติ ชอบเรียนภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เพราะทำให้รู้ว่าโลกนี้ไม่ได้มีแค่เราคนเดียวแต่ยังมีอีกหลายประเทศอยู่ร่วมกัน และจากที่ได้รวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ติวความรู้ก่อนสอบก็ทำให้พบว่าความรู้ที่ตัวเรามีสามารถถ่ายทอดให้ผู้ที่ไม่รู้ได้และยังเป็นประโยชน์มากกว่าเก็บเอาไว้คนเดียวด้วย สำหรับอนาคตอยากทำงานที่ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ หรือคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย

นายปวีณ เกลียวปิยะ เผยว่าตอนแรกไม่คาดหวังว่าจะได้เป็นผู้แทนประเทศไทยดังนั้นจึงพยายามทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ชอบเรียนชีววิทยาเพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันและยังชอบเคมีกับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาที่เรียนรู้ได้เรื่อยๆ ไม่หยุด เวลาอยู่ในห้องเรียนหากสงสัยขั้นแรกจะถามอาจารย์หรือผู้รู้ ถ้ายังไม่ชัดเจนก็หาความรู้เพิ่มโดยเน้นจากตำราเป็นหลักหรืออินเตอร์เน็ต มีวิธีบริหารความเครียดคือถ้าอ่านหนังสือแล้วรู้สึกเบื่อก็จะเล่นเกม ดูโทรทัศน์ ฟังเพลงให้ผ่อนคลาย เป้าหมายชีวิตตั้งใจเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

นายภูวนัตถ์ สังขปรีชา เล่าว่าฝึกทำข้อสอบเก่าเตรียมพร้อมก่อนไปแข่งซึ่งช่วยให้ได้ทักษะทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ ด้านจิตใจก็ทำสมาธิให้เกิดสติและผ่อนคลาย เตือนตัวเองว่าห้ามเครียดแต่ถ้ารู้สึกเครียดจริงๆ ก็จะคุยกับคุณพ่อคุณแม่ให้ท่านรับฟังและช่วยแนะนำ ชีวิตในโรงเรียนสนุกกับกิจกรรมติวความรู้ชีววิทยาให้รุ่นน้อง สอนแล้วรู้สึกสนุก ดีใจได้แบ่งปันความรู้ให้คนอื่นแล้วความรู้ของเราก็ไม่ได้หายไปไหนด้วย อนาคตอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ ทำวิจัยเกี่ยวกับสารและการรักษาโรค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ