การเสวนาครั้งนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก และผู้เข้าร่วมเสวนาต่างก็มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะทุกคนต่างให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงของพลังงาน อย่างไรก็ตามเอทานอลไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญคือ การจัดงานเสวนานี้นับเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จะเป็นผู้จัดทำรายงานสรุปผลการเสวนาเพื่อนำเสนอรัฐบาลต่อไป ซึ่งสำนักงาน ก.ส.ล. เห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ตั้งแต่ภาคเกษตรกรรมจนถึงภาคอุตสาหกรรม และวันนี้กระทรวงพลังงานมีแผนที่จะใช้ในปี 2564 ในปริมาณถึง 9 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการใช้เอทานอลทั้งภายในและต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากต่างก็มี พืชพลังงานในประเทศของตน
“เราควรจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ในตลาดจริงที่จะค้าขายเอทานอลขึ้นมาในประเทศหรือการตลาดเพื่อส่งออก และผู้ที่อยู่ในระบบตลาดจริงสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยงทางด้านราคาจากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ซึ่งสำนักงาน ก.ส.ล. มีความพร้อมที่จะกำกับดูแลการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ซึ่งสำนักงาน ก.ส.ล. จะทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองผู้ซื้อผู้ขายให้ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อขาย และให้ผู้ซื้อผู้ขายและนักลงทุนมีความมั่นใจในระบบการซื้อขายล่วงหน้าว่าจะเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
สำนักงาน ก.ส.ล. เห็นว่าการทำงานแบบบูรณาการนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ซึ่งเป็นการเริ่มการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างอนาคตให้แก่ประเทศชาติ และควรที่จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ข่าวสารแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบปัญหาอุปสรรค รวมทั้งแนวทางการแก้ไขต่อไป โดยจะมีรายงานเพื่อนำเสนอรัฐบาลต่อไป” นายวันชัยกล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลที่ใช้ในงานเสวนา สามารถดาวน์โหลด (Download) ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ส.ล. www.aftc.or.th