สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 105.8 ลดลงจากระดับ 111.1 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งค่าดัชนีที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดย่อมอยู่ที่ 101.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 99.8 ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่ที่ระดับ 105.0 และ 100.0 ปรับลดลงจาก 106.7 และ 109.3 ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ของอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อยู่ที่ระดับ 106.7, 107.1 และ 102.3 โดยปรับลดลงจากระดับ 110.2, 111.9 และ 110.7 ในเดือนพฤษภาคมตามลำดับ
โดยอุตสาหกรรมขนาดย่อม มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 101.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.8 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก, อุตสาหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.7 ลดลงจากระดับ 110.2 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อในประเทศ และยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
อุตสาหกรรมขนาดกลาง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 105.0 ลดลงจากระดับ 106.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น ทั้งนี้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.1 ลดลงจากระดับ 111.9 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 100.0 ลดลงจากระดับ 109.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ และอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้นขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 110.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค ประจำเดือนมิถุนายน พบว่าภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม
ภาคกลาง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ที่ระดับ 101.2 โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 106.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ วิกฤตเศรษฐกิจยุโรปเริ่มส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเห็นได้จากดัชนีคำสั่งซื้อและยอดขายต่างประเทศปรับตัวลดลง ขณะเดียวกันต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น การขาดแคลนแรงงาน และเสถียรภาพทางการเมือง เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องประดับ (มีการชำระเงินล่าช้า เนื่องจากปัญหา “วงเงินเครดิต” แก่คู่ค้าของไทยในยูโรโซน (ผู้นำเข้าสินค้าจากไทย) / ผลิตภัณฑ์ประเภทพลอย ทับทิม เครื่องประดับเงิน มียอดคำสั่งซื้อจากประเทศยุโรปลดลง), อุตสาหกรรมซอฟแวร์ (ยอดขายซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในประเทศลดลง เนื่องจากการเปิดซอฟต์ที่เสรีเพิ่มขึ้น / สินค้าประเภทงานกราฟฟิก เกมส์และมัลติมีเดีย มียอดขายในประเทศลดลง), อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ (ยอดคำสั่งซื้อเรือขนสินค้าในประเทศลดลง / ต้นทุนในการประกอบการเพิ่มขึ้น จากวัสดุ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม เป็นต้น) ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 109.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 103.1 ลดลงจากระดับ 106.4 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะค่าจ้างแรงงงาน ส่?งผลกระทบต่?ออุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอุตสาหกรรมที่ใช้?แรงงานเป็?นหลัก รวมทั้งการขาดแคลนแรงงานฝีมือ เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นมีค่าเกิน 100 แสดงว่าผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับดี สำหรับอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ค่าดัชนีปรับลดลงได้แก่ ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน, อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ และอุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.0 ปรับลดลงจากระดับ 113.6 ในเดือนเพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 100.6 ลดลงจากระดับ 101.9 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยต้นทุนประกอบการที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน รวมถึงการขาดแคลนแรงงาน และสภาพอากาศที่แปรปรวน ยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในเดือนนี้
สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ, อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเหล็ก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 105.0 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 107.8 ลดลงจากระดับ 111.5 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และ ผลประกอบการ โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป เป็นปัจจัยสำคัญต่อภาคการส่งออกของไทย สะท้อนจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายที่ลดลง เนื่องจากคู่ค้าจากสหภาพยุโรป ชะลอคำสั่งซื้อสินค้าจากไทย รวมทั้งส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังตลาดอื่นๆ เช่น ตลาดจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ซึ่งเป็นคู่ค้าของไทยที่นำเข้าวัตถุดิบจากไทยเพื่อผลิตและส่งออกไปยังยุโรป สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ, อุตสาหกรรมอลูมิเนียม และอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.1 ลดลงจากระดับ 113.4 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลงได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 101.5 ลดลงจากระดับ 102.5 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ยอดขายในต่างประเทศ และต้นทุนประกอบการ อุตสาหกรรมที่สำคัญในภาคใต้ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้น การขาดแลนวัตถุดิบ อีกทั้งการส่งออกยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป ขณะเดียวกันราคายางพารา ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาปรับลดลงส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร สำหรับอุตสาหกรรมที่ค่าดัชนีลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ ,อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.3 ลดลงจากระดับ 115.9 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก (ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทั้งกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศปรับลดลงจากเดือนพฤษภาคม
กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 104.0 ลดลงจากระดับ 106.7 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมซอฟแวร์, อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ และอุตสาหกรรมก๊าซ เป็นต้นขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 107.0 ลดลงจากระดับ 112.1 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 94.3 ลดลงจากระดับ 102.4 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.3 ลดลงจากระดับ 106.1 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับด้านสภาวะแวดล้อมในการดําเนินกิจการ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกมากที่สุด รองลงมา คือ สถานการณ์การเมือง อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้นในทุกปัจจัย
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนมิถุนายนนี้ คือ 1.ผลักดันการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดใหม่ เช่น อินเดีย อาเซียน และตะวันออกกลาง เพื่อทดแทนตลาดยุโรปที่กำลังประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ 2.เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบการ เช่น เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ, ขยายวงเงินกู้ 3.กำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการกรณีขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน เช่น มาตรการด้านภาษี, การฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและผู้เชี่ยวชาญให้ตรงกับความต้องการในแต่ละสาขา จัดหาแหล่งวัตถุดิบให้เพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ และ 5.แก้ปัญหาราคา ปริมาณ และคุณภาพวัตถุดิบสินค้าเกษตรที่สำคัญ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างเป็นระบบ