สภาที่ปรึกษาฯ หามาตรการฝ่าวิกฤติ EU หวั่นกระทบภาคส่งออกของไทย

จันทร์ ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๒๖
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นำทัพสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมหาทางออกประเทศไทยจากวิกฤติ EU ด้านรองประธานสภาอุตสาหกรรมฯ เผย 11 มาตรการลดผลกระทบเบื้องต้น เตรียมผลักดันเป็นความเห็นเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

เมื่อวันที่ 19 ก.ค.55 คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาฯ นำโดยนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานฯ จัดการสัมมนาเรื่อง “ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ EU ผลกระทบภาคส่งออกของไทย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น รวมถึงหาแนวทางในการลดผลกระทบจากวิกฤติ เศรษฐกิจในสหภาพยุโรปต่อประเทศไทย ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ

นายอุทัยฯ กล่าวว่า ปัญหาของ EU มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคฯ สภาที่ปรึกษาฯ ในฐานะที่มีบทบาทตามรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงจัดสัมมนาเรื่องดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการช่วยเสนอข้อมูล ความคิดเห็น เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติ EU ที่จะเกิดกับประเทศไทย ส่วนความเห็นที่ได้จากการสัมมนา จะนำมาประมวลเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

เปิดประเด็นโดย รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ชี้ว่า วิกฤติ EU ทุกวันนี้มาจากการขาดเอกภาพของยูโรโซน ทั้งทางด้านความแตกต่างทางโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ความหลากหลายทางการเมือง ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันตก และยุโรปใต้เอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ทั้งผลกระทบด้านการแกว่งไกวของตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ด้านการนำเข้าส่งออก และด้านการท่องเที่ยว รวมถึงผลกระทบทางอ้อม ถ้าหากประเทศในแถบเอเชีย อย่างเช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย เป็นต้น ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ EU ก็อาจทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ด้าน ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร CIMB THAI จำกัด มหาชน มองวิกฤติดังกล่าวว่าเหมือนรถที่กำลังพุ่งเหว ซึ่งไม่สามารถหยุดได้ ทำได้เพียงชะลอให้ช้าลงเท่านั้น ตนเห็นว่าประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันค่อนข้างสูงหลังจากเผชิญวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ.2540 และวิกฤติจากสหภาพยุโรปจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเพียงแค่ทำให้เศรษฐกิจในประเทศหดตัวหรือโตช้าเท่านั้น ไม่ทำให้ประเทศไทยเกิดวิกฤติทางการเงินตามไปด้วยอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าในช่วงนี้ประเทศไทยควรเร่งเปิดเสรีทางการค้าและธุรกิจการบริการให้มากขึ้น

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ เผยข้อเสนอแนะและมาตรการเบื้องต้นสำหรับผลกระทบภาคส่งออกต่อวิกฤติเศรษฐกิจสหภาพยุโรปถดถอย จากการระดมความคิดเห็นของผู้ส่งออกและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ปัญหาเฉพาะหน้าดูแลสภาพคล่องของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ SMEs โดยให้ธนาคารของรัฐเข้ามาปล่อยสินเชื่อแบบผ่อนปรน

2. ดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนและสนับสนุนให้ใช้เงินสกุลต่างประเทศในการชำระค่าระวางเรือ (Freight) และร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 3.0 หรือต่ำกว่านี้ไปจนถึงสิ้นปี

3. ปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้า-ส่งออก แก้ไข ปรับปรุงกฎเกณฑ์ ข้อบังคับในการลดขั้นตอน เพื่อให้การนำเข้า-ส่งออกมีความสะดวก รวดเร็ว

4. ขอให้กรมสรรพากรพิจารณาในการคืนภาษีให้รวดเร็ว โดยเฉพาะการข้อคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย

5. ส่งเสริมการส่งออกกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งให้มีระบบสินเชื่อให้กับคู่ค้า เพื่อให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออก รวมทั้งสนับสนุนและแก้ไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกให้สินค้าเข้า-ออกชายแดน

6. การส่งเสริมการส่งออกทดแทนตลาดหลัก ให้รัฐบาลมีการทำเป็นแบบบูรณาการและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้มีการจัดโครงการส่งเสริมสินค้าไทย โดยให้ SMEs และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ด้อยโอกาสสามารถเข้าร่วมได้โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

7.ส่งเสริมให้มีการจัดหาวัตถุดิบซึ่งขาดแคลนเพื่อผลิตและส่งออกในปริมาณที่เพียงพอและมีแหล่งให้เลือกในการแข่งขันด้านราคา

8. รัฐบาลควรเร่งเจรจาเพื่อขอคืน GRP กลับคืนมา เนื่องจากสินค้าไทยหลายรายการถูกประเทศคู่ค้าตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้า ส่งผลให้สินค้าไทยมีราคานำเข้าสูงกว่าประเทศคู่แข่ง

9. ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน

10. ส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศให้มีความชัดเจน

11. รัฐบาลควรมีการกำหนดเป้าหมายการส่งออกให้สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยเป้าหมายการส่งออกสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากมีปัจจัยภายนอกหรือภายในเข้ามากระทบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version