ภาพข่าว: นักเรียนไทยเดินหน้าแข่งขันเวทีโลกฟิสิกส์สัประยุทธ์ระหว่างประเทศที่เยอรมนี

พุธ ๒๕ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๑:๕๘
ผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ระหว่างประเทศในงาน International Young Physicists’ Tournament (IYPT 2012) แข่งขันระหว่างวันที่ 19-30 กรกฎาคม 2555 นี้ ณ เมืองบาดเซาเกา (Bad Saulgau) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ผู้แทนประเทศไทยได้แก่นางสาวอังศุมาลี ลาภานันต์ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย นางสาวพัทธมน กองคำบุตร นายธนกร ทำอิ่นแก้ว นางสาวพิชญาพร เดชสกุล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนายพีระ สีมาขจร โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย นำทีมโดยนายพรชัย อินทร์ฉาย หัวหน้าสาขาพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) รศ.ดร.ประพันธ์ แม่นยำ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง สสวท. กับ 5 มหาวิทยาลัยคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียนสนใจวิทยาศาสตร์ รักฟิสิกส์ และมุ่งมั่นพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ