งานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรค มือ เท้า ปาก

พฤหัส ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๔:๐๗
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดแถลงข่าวเรื่องงานวิจัยช่วยแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปาก ณ โซนนิทรรศการ บริเวรศูนย์การเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เพื่อนำงานวิจัยมาแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปากในประเทศไทย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า วช. เล็งเห็นผลกระทบและเพื่อให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาในระยะยาวต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะงานวิจัยที่จะนำมาแก้ปัญหาของประเทศชาติ วช. จึงได้ให้การสนับสนุนให้เกิดมีการวิจัยโรค มือ เท้า ปาก เพื่อนำมาแก้ปัญหาของประเทศแบบเร่งด่วน โดยได้มีการสนับสนุน ให้มีการศึกษาวิจัยทางด้านระบาดวิทยาถึงสาเหตุของไวรัสในการก่อโรค การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไวรัสที่เป็นสาเหตุในการระบาด และคาดคะเนการระบาดในอนาคต แนวทางการตรวจวินิจฉัย ให้ได้ผลอย่างถูกต้อง รวดเร็วเพื่อตอบปัญหาในรายที่เป็นรุนแรงและมีอาการของโรคไม่ชัดเจนเพื่อให้ความมั่นใจต่อสังคมในการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง รวมทั้งการตรวจระบบภูมิคุ้มกันของโรค เพื่อเป็นข้อมูลและนำผลไปใช้ในมาตรการการป้องกันและการพัฒนาวัคซีนในการป้องกันโรคในอนาคต

ด้านศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัส เอนเทอโรไวรัส เชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยคือ coxsackievirus A, B รองลงมาคือ enterovirus 71 (EV71) มักเกิดการระบาดในเด็ก การแพร่กระจายเชื้อ มี 2 ลักษณะ คือ 1. การสัมผัสโดยตรง (direct contact ) กับสารคัดหลั่งจากจมูก จากคอหรือน้ำจากในตุ่มใส ตามฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือตามตัว 2. อุจจาระของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัส (fecal - oral route ) ช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการและจะยังสามารถแพร่เชื้อจนรอยโรคหายไป อาจยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วย

ต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ หลายวัน โรคมือ เท้า ปาก มักมาด้วยอาการไข้ โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 39 องศาเซลเซียส เจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร พบตุ่มแผลตื้น ๆ ในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อน ลิ้น กระพุ้งแก้ม มักพบมากกว่า 1 แผล ร่วมกับพบผื่นแดงที่ผิวหนังมีตุ่มน้ำใส (vesicles) บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า เข่า ก้น ส่วนมากมีจำนวน

5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บเล็กน้อย ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผลจะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ บางรายมักมีไข้อย่างเฉียบพลัน บางครั้งไข้สูง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ในรายร้ายแรงจะมี อาการทางระบบประสาทส่วนกลาง มีได้หลายแบบ และความรุนแรงแตกต่างกัน ขึ้นกับเชื้อไวรัสจะไปทำลายระบบประสาทส่วนใด เกิดภาวะสมองอักเสบนั้น มักมีความรุนแรง และมักจะเกิดจากการติดเชื้อ EV-71 และอาจพบร่วมกับภาวะปอดและหัวใจล้มเหลว เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ปี มีไข้สูงนานเกิน 2 วันมีหายใจแรง ชักกระตุก อาเจียน ซึม แขนขาอ่อนแรง ควรพบแพทย์ควรตรวจหาความผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลางอย่างละเอียด เพื่อดูแลและป้องกันในผู้ป่วยในกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย มีผู้ป่วยจำนวนมากเป็นวงกว้างทั่วประเทศ ประกอบกับการระบาดในประเทศกัมพูชา ทำให้เด็กเสียชีวิตมากกว่า 50 ราย สร้างผลกระทบต่อประชากรไทย

ติดต่อ:

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โทร 0 2561 2445

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO