สหรัฐฯประสบภัยแล้งรุนแรงกว่าครึ่งประเทศ เกษตรฯมะกันชี้ราคาอาหารมีแนวโน้มพุ่งจากนี้จนถึงต้นปี 56 อาหารสัตว์ปรับตัวสูง 50% หลายรัฐเริ่มออกมาตรการห้ามล้างรถ-เติมน้ำในสระ

จันทร์ ๓๐ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๐๘:๐๐
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการส่งออกได้รับรายงานทูตพาณิชย์ในสหรัฐฯถึงสภาวะแห้งแล้งรุนแรงเป็นประวัติการณ์ ครอบคลุม 55% ของพื้นที่สหรัฐฯ ( 1,016 มณฑลใน 26 มลรัฐ) รวมถึงพื้นที่ตอนกลางของทวีปที่เป็นแหล่งการเกษตรสำคัญของสหรัฐฯ อยู่ในสภาวะแล้งจัดจนถึงแล้งปานกลาง ได้สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตรที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยเฉพาะข้าวโพด สอดรับกับการคาดการณ์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯคาดเงินเฟ้อสินค้าอาหารสำหรับบริโภคที่บ้าน หรือ อาหารที่ผู้บริโภคซื้อจากตลาดในปีนี้จะเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 2.5-3.5 %

“ข้าวโพดเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายหลายชนิดที่ผู้บริโภคสหรัฐฯใช้บริโภคประจำวัน และยังเป็นอาหารสำคัญของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเนื้อสัตว์ในตลาดสหรัฐฯด้วยเช่นกัน และคาดการณ์ว่า ราคาอาหารของสหรัฐฯจะพุ่งสูงขึ้นอย่างแน่นอนในฤดูใบไม้ร่วงของปีนี้ ไปจนถึงต้นปี 2556” นายภูมิ กล่าวและว่า ขณะนี้ราคาข้าวโพดหน้าฟาร์มได้ขยับสูงขึ้นแล้ว และจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆตามการขยายของภัยแล้ง และจะมีผลต่อราคาพืชอื่น เช่นถั่วเหลืองและวัตถุดิบในอุปทานสินค้าอาหาร เช่น อาหารสัตว์ โดยราคาขายปลีกจะเพิ่มสูงมากเท่าใด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภัยแล้ง

อย่างไรก็ตามความแห้งแล้งของอากาศไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญสูงสุด ที่กระทบต่อราคาอาหารในตลาดสหรัฐฯ แต่หากราคาพลังงานสำหรับใช้ในการผลิตและการขนส่งสินค้าเป็นเงื่อนไขสำคัญสูงสุด ปัจจุบันแม้ว่าราคาแก๊สธรรมชาติในตลาดสหรัฐฯจะลดลง แต่ราคาไฟฟ้ายังคงเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดสหรัฐฯจะเริ่มลดลง แต่ราคาน้ำมันในสหรัฐฯไม่อยู่นิ่ง ทั้งนี้มีสำเหตุสำคัญมาจากความไม่มั่นคงทางการเมืองในประเทศผลิตน้ำมันและความไม่มั่นคงของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหรัฐฯกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางและอเมริกาใต้ หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอีก ในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อทำให้ราคาสินค้าอาหารในตลาดสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากจากที่ได้มีการคาดการณ์ไว้

กระทรวงเกษตรสหรัฐออก เตือนว่า ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นราว 3-4% ในปีหน้า โดยเฉพาะ ราคาเนื้อวัวอาจปรับตัวสูงสุด โดยจะพุ่งขึ้นราว 4-5% ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น 3.5-4.5% ไก่และไข่ 3-4% และเนื้อหมู 2.5-3.5% ปลาและอาหารทะเล 4-5% โดยในบรรดาสินค้าทั้งหมดนี้เนื้อไก่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นเป็นอันดับแรก เนื่องจากไก่เติบโตเร็วสุด

ทั้งนี้ ราคาเนื้อสัตว์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ข้าวโพดและถั่วเหลือง ซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ ปรับสูงขึ้นถึง 50% หลังพื้นที่เพาะปลูกหลักได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ก่อนหน้านี้สำนักงานพยากรณ์สภาพอากาศของมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐ ได้เคยออกคำเตือนว่า หลายพื้นที่ของประเทศอาจประสบกับภัยแล้งยาวจนกระทั่งถึงเดือนตุลาคม ส่งผลให้ในขณะนี้หลายรัฐเริ่มออกมาตรการประหยัดน้ำแล้ว เช่น ห้ามล้างรถ และห้ามเติมน้ำในสระว่ายน้ำ เป็นต้น

อนึ่ง สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯในช่วง 6 เดือนแรก(ม.ค.-มิ.ย.)ของปี 55 มีมูลค่ารวม 11,342 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เพิ่มขึ้น 3.7% โดยสินค้าในกลุ่มอาหารมีมูลค่ารวม 1,526 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ลดลง 11.6 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปี 2554 ไทยส่งออกสินค้าอาหารไปสหรัฐคิดเป็นมูลค่า 3,861ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เพิ่มขึ้น 10.5%

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ