เตือนหนุ่ม-สาววัยทำงาน และวัย 40+ ระวังพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสูงร้อยละ 12 สมาคมโรคตับฯ และมูลนิธิโรคตับ ผนึกภาครัฐ-เอกชน รณรงค์วันตับอักเสบโลก 2012

จันทร์ ๓๐ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๐:๕๐
สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิโรคตับ และวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ร่วมรณรงค์วันตับอักเสบโลก 2012 ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของในโครงการ “หยุดไวรัสตับอักเสบบี ต้านภัยมะเร็งตับ...เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” ชวนคนไทยตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและรีบรีกษาก่อนสายลุกลามสู่มะเร็งตับ โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเป็นประธานเปิดงาน ณ ลานอีเดน 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด เมื่อเร็วๆนี้

ภายในงานมีบริการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีให้กับผู้ร่วมงาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ พร้อมบริการให้คำปรึกษา นิทรรศการ และการเสวนา “หยุดไวรัสตับอักเสบบี...ก่อนมะเร็งกินตับ” โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับ อาทิ รศ.นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ นายกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย พลตรี นพ.อนุชิต จูฑะพุทธิ เลขาธิการ มูลนิธิโรคตับ และ รศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ร่วมด้วย นักแสดงและเซเลบชื่อดัง อาทิ คุณโฬม-พัชฎะ นามปาน, คุณจ๊ะ-จิตตาภา แจ่มประถม, คุณหญิงนุ่น-ม.ร.ว.สุทธิภาณี ยุคล, คุณน้ำอบ-ม.ล.อรณิช กิติยากร, คุณมะปราง-ปัทมวดี เสนาณรงค์ และคุณยุ้ย-ณพอาภา เทวกุล ณ อยุธยา นอกจากนี้ ยังมีแขกผู้มีเกียรติคับคั่ง อาทิ ท่านผู้หญิงเพ็ญศรี วัชโรทัย, ม.ร.ว.อัจรา ขจรวิทยา และคุณวรวุฒิ ภิรมย์ภักดีเป็นต้น

เตือนหนุ่มสาววัยทำงาน และวัย 40+ ระวังพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสูง

รศ.นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ นายกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันที่ 28 กรกฎาคม เป็น “วันตับอักเสบโลก” ในประเทศไทย โรคไวรัสตับอักเสบยังคุกคามคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไวรัสตับอักเสบบี มีผู้ติดเชื้อไวรัสบีกว่า 3.5 ล้านคน กว่า 80% ยังมองข้ามอันตรายของโรคไวรัสตับอักเสบบี และเป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่มักถูกละเลย จนนำไปสู่โรคร้ายต่างๆ อาทิ ตับแข็ง ตับวาย มะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งมะเร็งตับเป็นสาเหตุการตายสูงอันดับ 1 ของมะเร็งที่พบในคนไทย และสาเหตุของมะเร็งตับกว่า 70% มาจากไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการอะไรและเข้าใจผิดว่าโรคนี้เป็นโรคที่ไม่น่ากลัวจึงละเลยในการดูแลรักษา รวมถึงบางรายไม่รู้ตัวเองว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีด้วยซ้ำไป โดยพบการติดเชื้อสูงในหนุ่มสาววัยทำงานอายุ 30-40 ปี โดยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบการติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 8-12

ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องเพื่อเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับอย่างสม่ำเสมอ และควรดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีสารพิษจากเชื้อรา รวมถึงยาบางชนิดที่มีผลต่อตับ นอกจากนี้ ควรได้รับการเจาะเลือดอย่างน้อยทุก 3 ถึง 6 เดือน และคอยเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับ ด้วยการตรวจหาสารที่บ่งชี้มะเร็งตับ และการตรวจอัลตราซาวด์ตับ ควรติดตามและปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับการรักษาก่อนสาย และควรให้บุคคลใกล้ชิดตรวจเลือดว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ และแนะนำให้ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม การให้วัคซีนแก่ผู้ที่เป็นพาหะแล้วไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสให้หมดไปได้

ทั้งนี้โรคไวรัสตับอักเสบบีติดเชื้อได้ง่ายกว่าโรคเอดส์กว่า 100 เท่า เพราะปริมาณของเชื้อไวรัสบีในเลือดสูงกว่าไวรัสเอดส์มาก โดยสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นการติดต่อจากแม่สู่ลูก ทางเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ของมีคม ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนเลือด เช่น แปรงสีฟันร่วมกับกับผู้ติดเชื้อ และการใช้เครื่องมือที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อในการสักผิวหนัง

ปัจจุบันการรักษาไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมี 2 แบบ ซึ่งแบบแรกเป็นการรักษาโดยใช้ยาอินเทอเฟอรอนเพื่อช่วยกระตุ้นระบบภูมิของผู้ป่วยให้สู้กับไวรัสตับอักเสบบี และแบบที่สองเป็นการใช้ยากินต้านเชื้อไวรัส ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสและเป็นการลดปริมาณไวรัสในเลือด เป้าหมายการรักษาคือการลดจำนวนไวรัสในเลือดจนถึงระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้ และควรได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เป้าหมายการรักษานี้จะมีผลทำให้การอักเสบของตับดีขึ้น ลดและชะลอการดำเนินของโรคที่จะเป็นตับแข็ง ลดการเกิดมะเร็งตับ ทำให้ชีวิตยืนยาวขิ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้พบว่าการรักษาไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังสามารถทำให้ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งแล้วหายจากตับแข็งได้ และสามารถกลับมามีการทำงานของตับที่ปกติ

แนะตรวจคัดกรองและรักษาก่อนสาย... ภัยร้ายสู่งมะเร็งตับ

รศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า แม้วิทยาการทางการแพทย์ในด้านการรักษาของไทยในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมาก แต่ เมื่อเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีแล้ว ก็จะต้องอยู่กับโรคนี้ไปตลอดชีวิต ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมในระยะยาว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และป้องกันหรือชะลอการเกิดของโรคตับแข็ง อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ต้องเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคควบคู่ไปด้วย ดังนั้นจึงอยากเชิญชวนให้ผู้ที่ยังไม่เคยตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน ให้รีบไปตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีสักครั้งในชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่คนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่เกิดก่อนปี 2535 (ก่อนที่เด็กแรกเกิดไทยจะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน) รวมถึง ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว ก็ควรได้รับการตรวจเพื่อดูว่ามีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นหรือไม่ เพื่อจะได้วินิจฉัยและรักษา หรือเฝ้าระวังก่อนจะลุกลามไปสู่โรคตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับ

พระเอกหนุ่ม โฬม-พัชฎะ นามปาน นอกจากจะไปร่วมเสวนารณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของโรคไวรัสตับอักเสบบีแล้ว ยังนำทีมคุณสาวๆ เจาะเลือดร่วมตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับประชาชน พร้อมให้ความเห็นว่า “ความจริงแล้วโรคนี้อันตรายมากเพราะอยู่ใกล้ตัวเราและไม่แสดงอาการ จะแสดงอาการออกมาก็ต่อเมื่อตับโดนทำลายไปเยอะมากจนเราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ฉะนั้นผมก็อยากจะฝากให้ทุกๆ หมั่นตรวจคัดกรองโรค ทั้งของตัวเองและคนในครอบครัว เป็นประจำนะครับ เพราะโรคนี้ติดต่อกันง่าย เลือดเพียงนิดเดียวก็ติดกันแล้ว ถ้าเราไม่ดูแลตัวเอง แล้วใครจะมาดูแลเราละครับ”

ด้านนางเอกสาว จ๊ะ-จิตตาภา แจ่มปฐม ให้ความเห็นว่า “การที่โรคไม่แสดงอาการไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่เป็นโรค คนส่วนใหญ่มักจะไปกลัวที่ปลายเหตุ คือเป็นแล้วค่อยรักษา แต่ไม่มีใครที่จะให้ความสำคัญในการป้องกันโรคเลย อยากให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรค และตรวจไวรัสตับอักเสบบี ถ้าเรามีเชื้อก็จะได้รักษาได้ทัน อย่าปล่อยเรื้อรังลุกลามเป็นตับแข็งและมะเร็งตับเลยนะคะ สละเวลาแค่ 10 นาที ดีกว่าเสียชีวิตให้กับโรคนี้ค่ะ”

คุณหญิงนุ่น-ม.ร.ว.สุธิภาณี ยุคล ให้ความเห็นว่า ก่อนหน้านี้หญิงอาจมองเรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบีเปนเรื่องไกลตัว แต่พอศึกษาข้อมูลเข้าจริงๆ กลับรู้สึกว่าเป็รเรื่องใกล้ตัวเรามาก และเราก็อาจเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเลี่ยงก็เป็นได้ เพราะโรคนี้น่ากลัวมากนะคะ 12 ใน 100 คน หนึ่งในนั้นจะเป็นเรารึเปล่าก็ไม่รู้ ยิ่งคุณหมอบอกว่าพบบ่อนในวัยทำงานอย่างเราด้วย สู้ยอมเจ็บตัวเจาะเลือดตรวจตรวจคัดกรองนิดเดียว แปปเดียวก็รู้ผลแล้ว ตรวจกันเถอะค่ะ เพราะโรคนี้ป้องกันได้ รักษาให้หายได้ และการที่โรคไวรัสตับอักเสบบีนี้ไม่มีอาการ ยิ่งทำให้เราไม่ทราบว่าคนที่อยู่รอบๆตัวเรามีใครเป็นบ้าง เราต้องดูแลตัวเราเป็นดีที่สุดค่ะ

คุณยุ้ย - ณพอาภา เทวกุล ณ อยุธยา บอกว่า ไวรัสตับอักเสบบี ร้ายแรงกว่าที่เราคิดไว้มากนะคะ ใส่ใจดูแลป้องกัน และถ้าใครยังไม่เคยตรวจ ก็สละเวลาสักนิด ส่วนใครที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแล้ว ก็อย่าท้อแท้ เพราะคุณหมอบอกว่า ปัจจุบันไวรัสตับอักเสบบีรักษาได้ค่ะ อย่ารอให้มะเร็งตับมาเยือน แล้วค่อยตื่นตัว เพราะถ้าถึงเวลานั้น อาจจะสายเกินไปแล้ว และเราไม่สามารถย้อนเวลากลับมาได้ ร่วมกันหยุดไวรัสตับอักเสบบี ....ต้านภัยมะเร็งตับกันซะตั้งแต่วันนี้นะคะ

ขณะที่ คุณแม่คุณเก่ง คุณมะปราง-ปัทมวดี เสนาณรงค์ กล่าวว่า โรคนี้เป็นภัยใกล้ตัวที่เราจะต้องป้องกันและดูแลรักษาให้เป็นอย่างดี อย่าชะล่าใจ ถ้ามีโอกาสตรวจคัดกรองก็ตรวจเถอะ ส่วนตัวมะปรางกับลูกก็ฉีดวัคซีนแล้ว จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ติดเชื้ออย่างแน่นอน อย่าลืมนะคะไวรัสตับอักเสบบีมันไม่ออกอาการ แต่ถ้าออกอาการเมื่อไหร่ คุณหมอบอกว่าต้องจองศาลาวัดได้เลย ตรวจคัดกรอง และป้องกันโรคกันดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดีของเราและคนใกล้ตัวค่ะ

ติดต่อ:

www.thailiverfoundation.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ