พม.ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์หาสียงผู้แทนประเทศไทยเป็นคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ

จันทร์ ๓๐ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๔:๕๘
ดร.อินทร์ริตา นนทะวัชรศิริโชติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน กิจกรรมรณรงค์หาสียงผู้แทนประเทศไทยเป็นคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ ในวาระปี ๒๕๕๖ — ๒๕๕๙ อย่างเป็นทางการในประเทศไทย

ดร.อินทร์ริตา นนทะวัชรศิริโชติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชิวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอชื่อ นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภาและบุคคลพิการทางการเห็น สมัครเข้ารับตำแหน่งคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Committee on the Right of Persons with Disabilities) วาระปี ๒๕๕๖ — ๒๕๕๙ ในฐานะผู้แทนคนพิการไทยที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการประกาศใช้อนุสัญญา CRPD (Convention on the Right of Persons with Disabilities) ตั้งแต่กระบวนการร่างสัญญาฯ การปรับแก้กฎหมายไทยให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ รวมทั้งการอนุวัติสัญญาฯ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ซึ่งหลังจาก ที่องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศหลักการของอนุสัญญาฯ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ โดยสาระสำคัญของอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย การส่งเสริม คุ้มครองสิทธิให้คนพิการสามารถเข้าถึงหลักประกันสิทธิ และเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการทุกรูปแบบ ทั้งนี้ ภายใต้อนุสัญญาดังกล่าวได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ โดยทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบรายงานประเทศ และให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานของรัฐภาคี

ดร.อินทร์ริตา กล่าวต่อว่า สาเหตุที่องค์การสหประชาชาติ ออกประกาศอนุสัญญาฯสำหรับคนพิการ ในปี ๒๕๕๑ เนื่องจากที่ผ่านมาแต่ละประเทศมักมองคนพิการว่าเป็นเรื่องของการสงเคราะห์ ความน่าสงสาร โดยเริ่มมีวิวัฒนาการแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเมื่อไม่นานมานี้ จึงร่วมกันผลักดันไปสู่การจัดทำอนุสัญญาฯเพื่อคนพิการในที่สุด ซึ่งอนุสัญญาฯดังกล่าวมีหลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐาน และรายละเอียดของหลักเกณ์ต่างๆว่ารัฐภาคีจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิด้านต่างๆได้ในทุกมิติ เช่น สิทธิในการเดินทาง สิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ ซึ่งอนุสัญญาฯฉบับนี้มีทั้งมาตรการส่งเสริม และให้ความคุ้มครอง ในส่วนของประเทศไทย ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯฉบับนี้แล้ว เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และมีหน้าที่ปฏิบัติตาม โดยมีการออกกฎหมายให้อนุวัติตามอนุสัญญาฯ นั่นคือ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งออกมาก่อนที่ให้สัตยาบัน นอกจากนี้ยังมี พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และอีกหลายฉบับเพื่ออนุวัติตามอนุสัญญาฯ

ทั้งนี้ “กิจกรรมรณรงค์หาสียงฯในวันนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ร่วมกับสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (กต.) จัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อแนะตัวผู้สมัครจากประเทศไทย นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภาและบุคคลพิการทางการเห็น ในฐานะผู้สมัครรับการเลือกตั้งคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ” ดร.อินทร์ริตา กล่าว.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ