กฟก. เยี่ยม 2 องค์กรเกษตรกรเข้มแข็ง พัฒนาท้องถิ่นอย่างชาญฉลาด

พุธ ๐๘ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๑๔:๒๑
กฟก. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมองค์กรเกษตรกร ในจังหวัดพิจิตรที่ได้รับงบกู้ยืม และได้รับคัดเลือกให้เป็นองค์กรเกษตรกรที่เข้มแข็งจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟู ฯ สาขาจังหวัดพิจิตร จำนวน 2 องค์กร คือ กลุ่มบึงทับจั่นร่วมใจ และกลุ่มผู้ปลูกข้าวบ้านเนินทราย เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำเเหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า กฟก. มีภารกิจในการจัดการหนี้สินของเกษตรกร ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็งเพื่อเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินและความยากจนของเกษตรกร สนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร รวมถึงพัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันของเกษตรกร ปัจจุบัน กฟก. ได้แก้ไขหนี้สินของเกษตรกรอันเกิดจากการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของ กฟก. โดยการชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวนทั้งหมด 19,399 ราย เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,853,623,639.01 บาท และสามารถรักษาที่ดินทำกินได้ 91,487 ไร่ 95.5 ตารางวา ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาถือว่าน่าพอใจ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้นางนุชฎา จำเริญสาร รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) สาขาจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรในจังหวัดพิจิตร

นางนุชฎา จำเริญสาร รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) สาขาจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมองค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบกู้ยืม และได้รับการคัดเลือกจากสาขาจังหวัดพิจิตร ให้เป็นองค์กรเกษตรกรที่เข้มแข็ง 2 กลุ่ม กลุ่มเเรก คือ กลุ่มบึงทับจั่นร่วมใจเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เมื่อปี 2543 รหัสองค์กร 6643005221 มีนายสมพงษ์ สีเรือง เป็นประธานองค์กร ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 130 ราย สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาข้าว และเลี้ยงสัตว์ แต่ประสบปัญหาขายผลผลิตได้ราคาไม่คุ้มกับต้นทุน ทำให้เกิดภาวะหนี้สิน ดังนั้นกลุ่มบึงทับจั่นร่วมใจ จึงเสนอแผนและโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรและพัฒนาอาชีพต้นแบบ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุน (งบกู้ยืม) จากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ และได้รับงบประมาณสนับสนุนประเภทกู้ยืมจำนวน 407,500 บาท ในโครงการ “ ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท ” ทำให้องค์กรสามารถวางแผนการบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยองค์กรจัดทำแปลงสาธิตการทำนาเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นสถานที่ดูงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่สมาชิกองค์กรต่อไป ซึ่งโครงการนี้ถือว่า เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร โดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นยุทธวิธีที่ทำให้องค์กรเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

จากนั้นได้เดินทางไปยังกลุ่มผู้ปลูกข้าวบ้านเนินทราย รหัสองค์กร 6643001358 ตำบลสายคำโห้ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีนายเพราะ อาจวงษ์ ประธานองค์กรเกษตรกรและสมาชิกต้อนรับ กลุ่มนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนประเภทกู้ยืมจำนวน 337,800 บาท จากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในโครงการ “การเลี้ยงปลาในบ่อดิน” มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 48 คน ได้รับการพัฒนาศักยภาพองค์กรและพัฒนาอาชีพแบบยั่งยืนแก่สมาชิก ทำให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกรสามารถวางแผนการบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และทำให้มีบ่อสาธิตการเลี้ยงปลา , กบ ในบ่อดิน ซึ่งจะเป็นสถานที่ดูงาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรต่อไป

ในปีที่ผ่านมาได้ร่วมดำเนินการ กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างชัดเจนทำให้องค์กรเกษตรกรเกิดกระบวนการเรียนรู้และมีความสามารถในการดำเนินการทางการเกษตร ทั้งในระดับของการพึ่งพาตนเองและในระดับของการแข่งขันเป็นกลไกหนึ่งที่สนับสนุนให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มความสามารถไปสู่เป้าหมายของการนำเอากระบวนการกลุ่ม การเสริมสร้างเชื่อมโยงเครือข่าย การมีส่วนร่วม การเสริมสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาและจัดการกับทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างชาญฉลาด เข้ามาใช้เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร และก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือและการดำเนินการเพื่อการพัฒนาองค์กรเกษตรกรให้เข้มแข็ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ