คปก.ตั้ง 6 ประเด็นกฎหมายเข้าชื่อ ทบทวนโทษอาญา-หลักฐานเข้าชื่อ

อังคาร ๑๔ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๑๗:๐๓
คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)จัดสัมมนาเพื่อรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.... ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แจ้งวัฒนะ

นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เปิดเผยว่า นัยสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายแม่บท หากร่างกฎหมายเข้าชื่อที่จะเข้าสู่สภาในวาระ 2 ออกมาดีก็จะส่งผลให้กฎหมายเข้าชื่ออื่นๆด้วย โดยเฉพาะกฎหมายเข้าชื่ออีก 7 ฉบับอาทิ ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ร่างร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่ได้เข้าสู่สภา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดันร่างกฎหมายเข้าชื่อดังกล่าวเข้าสู่สภา โดยก่อนหน้านี้คปก.ได้จัดทำหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคปก.จำนวน 2 ฉบับต่อประธานรัฐสภา การจัดเวทีรับฟังความเห็นครั้งนี้คาดว่าจะได้รับทราบว่าปัญหาที่ยังตกค้างอยู่ โดยคปก.จะเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะฉบับที่ 3 ต่อประธานรัฐสภาต่อไป

นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย เปิดเผยว่า สรุปประเด็นที่จะมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนคือ1. ร่างปี 2542 กำหนดให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอได้เลย แต่ร่างฉบับที่จะเข้าสู่การพิจารณากำหนดต้องมีผู้ริเริ่ม 20คน ทำร่างหลักการความเห็น ส่งไปที่เลขาธิการรัฐสภา เมื่อตรวจสอบแล้วจึงส่งกลับเข้ามาเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง ประเด็นนี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเห็นว่า ไม่ควรกำหนดให้มีมี หากมีควรจะต้องบังคับเพียงแต่แจ้งให้เลขาธิการรัฐสภาทราบก็เพียงพอแล้วซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญแต่มิได้ตั้งข้อสงวนเพื่อแปรญัตติเอาไว้ 2. ประชาชนควรได้รับการสนับสนุน 2 ด้านทั้งความช่วยเหลือทางวิชาการโดยมีสิทธิขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายในการจัดทำร่างกฎหมาย และความช่วยเหลือด้านงบประมาณโดยให้เชื่อมโยงกับกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ให้ประชาชนสามารถเข้าใช้งบประมาณกองทุนได้ ส่วนการสนับสนุนด้านอื่น เช่น การใช้สื่อของรัฐในการประชาสัมพันธ์ หรือ หน่วยงานอื่นที่ต้องให้การช่วยเหลือ ควรระบุว่า หน่วยงานใดบ้างส่วนนี้ได้ตั้งข้อสงวนเพื่อแปรญัตติเอาไว้แล้ว

“3. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ประเด็นนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้สงวนขอแปรญัตติประเด็นนี้เอาไว้ 4.หลักฐานที่ใช้ในการเข้าชื่อนั้น เสนอให้ระบุเลขบัตรประชาชน 13 หลักโดยไม่จำเป็นต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือเอกสารอื่น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ส่วนการตรวจสอบกลับให้ใช้ไปรษณีย์แทนการตรวจสอบจากเว็บไซต์ ประเด็นนี้มิได้แปรญัตติเอาไว้ 5.ระยะเวลาในการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับภาคประชาชนของรัฐสภา ควรกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน 6.การกำหนดโทษทางอาญาสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เป็นประเด็นที่ควรกำหนดให้มีหรือไม่ ซึ่งคปก.มีจุดยืนชัดเจนว่าไม่ควรมีการกำหนดโทษทางอาญา เพราะหากมีการกระทำความผิดที่มีเหตุมาจากการแสดงเอกสารหลักฐานก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามภายหลังจากนี้คปก.จะประมวลความเห็นเพื่อจัดทำความเห็นเสนอต่อประธานรัฐสภาต่อไป” นายไพโรจน์ กล่าว

นางลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวว่า โดยหลักการมีความเห็นว่าไม่ควรกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย แต่หากจะต่อรองก็คิดว่าอาจจะลดโทษลงจากจำคุก 5 ปีเป็นจำคุก 1-2 ปี ขณะเดียวกันตั้งประเด็นเพิ่มเติมว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นกฎหมายทางการเงิน ซึ่งต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรองอาจจะเกิดความล่าช้ายิ่งขึ้นไม่รวมถึงกระบวนการอื่นที่ต้องใช้เวลาพิจารณาอยู่แล้ว

นายภูมิ มูลศิลป์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในฐานะผู้เสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ....ฉบับภาคประชาชน กล่าวว่า ในแง่ของปัญหาเห็นว่าที่ผ่านมามีกระบวนการค่อนข้างมาก เพราะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน นอกจากนี้ผู้รวบรวมรายชื่อยังประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่าย และประชาชนไม่มีศักยภาพเพียงพอในการร่างกฎหมาย ขณะที่กระบวนการในรัฐสภายังไม่มีความแน่นอน ไม่ชัดเจนว่ากฎหมายจะเข้าสู่สภาได้เมื่อไร อย่างไรก็ตามประเด็นโต้แย้ง และพูดกันมากคือเอกสารที่จะใช้แสดงตน บางร่างกฎหมายเห็นว่าควรยื่นเฉพาะเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักน่าจะเพียงพอแล้ว และอีกประเด็นหนึ่งที่มีการคัดค้านกันมากคือ ร่างของรัฐมนตรี ซึ่งระบุจะต้องมีผู้ริเริ่ม จึงเห็นว่าในการพิจารณาร่างกฎหมายใดๆสมควรนำร่างอื่นๆมาประกอบ ซึ่งในชั้นกมธ.ไม่มีการหยิบร่างกฎหมายฉบับอื่นขึ้นมาพิจารณาเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง

นางสาวปัทมา สูบกำปัง นักวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ได้ขอสงวนความเห็นไว้ 4 ประเด็น คือ1.คงหน่วยงาน กตต.ให้ช่วยสนับสนุนการเข้าชื่อกฎหมาย 2.การสนับสนุนค่าใช้จ่ายควรจะขอรับจากกองทุนพัฒนาการเมืองของภาคพลเมือง 3.การติดประกาศรายชื่อผู้เสนอกฎหมาย จากเดิมจะส่งไปที่ส่วนราชการต่างของผู้มีรายชื่อเสนอเข้าชื่อ ก็เปลี่ยนเป็นปิดประกาศไว้บนเว็บไซต์ อาจจะเป็นช่องทางให้นำไปใช้ในทางไม่สุจริตได้ 4.การบรรจุวาระควรให้ความสำคัญกับร่างกฎหมายภาคประชาชนเป็นลำดับแรกๆ

นายทวีป กาญจนวงศ์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า มีความเห็นต่อร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวคือ1.ไม่เห็นด้วยที่จะกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย แต่หากจำเป็นต้องคงเอาไว้ก็ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าลักษณะใด อย่างไรจึงเป็นความผิด 2. เห็นด้วยกับการกำหนดให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้านวิชาการโดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายและด้านการอำนวยความสะดวกโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3.การให้มีผู้ริเริ่ม 20 คน เป็นอุปสรรคในการเสนอกฎหมายภาคประชาชน 4. ควรกำหนดระยะเวลาการพิจารณาของสภาและชั้นพิจารณาอื่นให้ชัดเจน 4. ธรรมเนียมปฏิบัติที่กำหนดให้มีร่างของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกบจึงจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ควรกำหนดให้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ของประชาชนโดยเร็วโดยไม่คำนึงถึงร่างพ.ร.บ.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกบหรือไม่

ยงเกียรติ อดิเศรษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า เหตุที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตัดคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากการให้ความช่วยเหลืออาจจะเป็นเพราะเห็นว่าบทบาทเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากหน้าที่หลัก เช่น จัดการเลือกต้องท้องถิ่น ก็มีอยู่ประจำแล้ว ส่วนเรื่องกองทุนทางคณะกรรมการการเลือกตั้งเคยสะท้อนไปทางสภาพัฒนาการเมือง ซึ่งเห็นด้วยกับการให้กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่าย ขณะที่ประเด็นผู้ริเริ่มเสนอกฎหมายในการกำหนดข้อสงวนในทางปฏิบัติน่าจะสงวนทุกมาตรา เพราะหากมีประเด็นที่ไม่ได้สงวนก็สามารถใช้สิทธิอภิปรายได้

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยที่ให้มีงบประมาณจากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองมาสนับสนุนค่าใช้จ่าย เพราะเป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญของประชาชน แต่ไม่เห็นด้วยกับการให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการดำเนินการเช้าชื่อเพราะอาจจะเข้ามามีส่วนได้เสีย ส่วนเรื่องหลักฐานที่ใช้เห็นด้วยที่ใช้สำเนาบัตรประชาชนเป็นหลักฐานควรให้เซ็นรับรองเพื่อป้องกันการแอบอ้าง และในแง่ของการกำหนดโทษทางอาญา เห็นสมควรให้มีการกำหนดโทษอย่างร้ายแรงแก่สภาผู้ไม่นำร่างของภาคประชาชนเข้ามาพิจารณาแทนที่จะกำหนดโทษผู้เสนอกฎหมาย .

ติดต่อ:

สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย : OFFICE OF LAW REFORM COMMISSION OF THAILAND อาคารซอฟต์แวร์ ปาร์ค ชั้น๑๙ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทร.๐ ๒๕๐๒ ๖๐๐๐ ต่อ ๘๒๗๘ โทรสาร. ๐ ๒๕๐๒ ๖๐๐๐ ต่อ ๘๒๗๔

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version