สมัชชาพิจารณ์หลักประกันสุขภาพที่อุบลฯนัดแรก ชาวบ้านร่วมสะท้อนหลักประกันสุขภาพต่อ สปสช.คึกคัก

พุธ ๑๕ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๐๙:๔๗
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 อุบลราชธานี ร่วมกับมูลนิธิประชาสังคมและเครือข่ายจัด เวทีสมัชชาพิจารณ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปแบบมีส่วนร่วมของผู้ให้บริการและผู้รับบริการตามมาตรา18(13) ประจำปี 2555 ระดับโซนอุบลราชธานีกลาง ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีประชาชนและบุคลากรสาธารณสุขจาก 5 อำเภอ คือ อำเภอพิบูลมังสาหาร , วารินชำราบ , สำโรง , โขงเจียม และสิรินธร

เวทีนี้ได้ให้ความสำคัญในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเด็น ที่ประกอบไปด้วย (1) สิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการ (2) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริการด้านสุขภาพ (3) การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ อปท. (4) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและ (5) การคุ้มครองสิทธิทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

จากการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นในทุกประเด็นของผู้เข้าร่วมเวทีที่มีประมาณ 100 คน ประกอบไปด้วย อสม.,อปท.,หมอ,พยาบาล,ผู้สูงอายุ,ผู้พิการและประชาชนทั่วไป แบ่งเป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการคละกัน 5 กลุ่ม พบว่าผู้เข้าร่วมเวทีเห็นว่านโยบายนี้เป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากประชาชนได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงระบบการบริการด้านสุขภาพของรัฐอย่างทั่วถึงในราคาที่ต่ำหรือกระทั่งได้รับการบริการฟรี แต่ทั้งนี้ก็ควรมีการปรับปรุงและแก้ไขบางจุดเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลไกต่างๆที่มีอยู่บางเรื่องประชาชนไม่ทราบข้อมูล เช่น กองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งได้กระจายงบประมาณให้ท้องถิ่นในการนำงบประมาณไปบริหารเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือระบบการคุ้มครองสิทธิ์ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ เช่น ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยควรได้รับการคุ้มครองจากความผิดพลาดอันเกิดจากการบริการของเจ้าหน้าที่ ในขณะเดียวกันก็ควรให้ความเป็นธรรมกับผู้ให้บริการหรือเจ้าหน้าที่เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอาจเป็นเรื่องสุดวิสัย ซึ่งสิทธิต่างๆเหล่านี้ประชาชนทั่วไปหรือแม้กระทั่งเจ้าที่ผู้ให้บริการโดยเฉพาะระดับปฏิบัติการควรจะเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจระบบเหล่านี้ในการเรียกร้องสิทธิ์เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม

มีกลุ่มหนึ่งสะท้อนความเห็นที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อย เช่น 30 บาทเปลี่ยนเป็น รักษาฟรี พอเปลี่ยนรัฐบาลก็กลับมาเป็น 30บาทอีก ทำให้ประชาชนสับสนมาก ไม่ควรเปลี่ยนนโยบายบ่อยเกินไปตามการเมือง บุคลากรสาธารณสุขท่านหนึ่งไม่ประสงค์ออกนามเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบาย 30 บาท นอกจากจะสร้างความสับสนให้ประชาชนแล้วยังสร้างความสับสนให้ผู้ปฏิบัติงานด้วย การเริ่ม 1 กันยายนทันที ในทางปฏิบัติต้องเปลี่ยนระบบหลายอย่าง ทั้งข้อยกเว้นทำให้การจัดการข้อมูลยากขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องเสียเวลามากขึ้นโดยไม่จำเป็นจากที่คนไข้รอเยอะอยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆที่เห็นว่าควรจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลและให้มีบุคลากรทางการแพทย์ครบพร้อมในทุกระดับของหน่วยงานที่ให้บริการนับตั้งแต่ระดับชุมชนเป็นต้นมา อีกทั้งในเรื่องของระบบการเข้าถึงการให้บริการที่ประชาชนควรได้รับความสะดวกมากกว่านี้ เช่น ควรจะให้ระบบสามารถรักษาครอบคลุมได้ทุกโรคอีกทั้งหน่วยงานหรือโรงพยาบาลที่ให้บริการควรจะไม่จำกัดเฉพาะหน่วยงานที่มีชื่อในความรับผิดชอบแต่ควรจะสามารถเข้าไปใช้บริการได้ทุกที่แบบออนไลน์เพื่อให้มีความสะดวกในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ง่ายขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025