คุณหญิงปราณี เอื้อชูเกียรติ กรรมกรรม มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ในฐานะประธาน อนุกรรมการประสานงานโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เปิดเผยว่า “นิทรรศการมีชีวิต” ภายใต้ชื่อ “ป่าเล็กในเมืองใหญ่” ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริต่างๆ ของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งการทรงงานจะมีความหลากหลายทางด้านชีวภาพ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของคน สัตว์ พืช สายพันธุ์ และระบบนิเวศน์ จนได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ”
สำหรับไฮไลท์ของงาน ผู้เข้าชมนิทรรศการจะได้พบกับ “ไหมดาหลา” ซึ่งเปิดตัวในงานเป็นครั้งแรก ในโลกซึ่งเป็นนวัตกรรมผ้าไหมสุดพิเศษของไทย และพบกับผีเสื้อยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ชมพฤกษา นานาพันธุ์ กล้วยไม้ พันธุ์ไม้หายาก และ บัวควีนสิริกิติ์ บัวไทยที่ผสมขึ้นใหม่ครั้งแรก ได้รับพระราชทานนามล่าสุด ตลอดจนบัวที่ชนะการประกวดระดับโลก และพบกับสัตว์ป่าอนุรักษ์ และสัตว์คุ้มครองใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงหมูจินหัว (หมูแพนด้าจากจีน) เป็ดอี้เหลียง ฯลฯ
นอกจากนี้ ผู้เข้าชมงานยังจะได้ร่วมทดลองทำนาปลูกข้าวด้วยตนเอง พร้อมรู้จักสายพันธุ์ข้าวกว่า 24,000 ชนิด ร่วมชิมและซื้อหาข้าว และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากข้าวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวสังข์หยด ข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว ฯลฯ ตลอดจนอาหาร และผลิตภัณฑ์จากป่าชุมชน ภายในงานยังมีโครงการตาม พระราชดำริต่างๆที่จะนำมาจัดแสดงกลางกรุง อาทิ โครงการสวนเกษตรเมืองงาย โครงการกุหลาบภูพิงค์ โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่าง ผลิตผลต่างๆจากโครงการพระราชดำริ และยังสามารถรับกล้าไม้มงคล เพื่อนำไปปลูกฟรี หรือสามารถร่วมกิจกรรมประกวดถ่ายภาพนกในสวนสมเด็จฯโดยงานจะมีถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2555 นี้ ที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร ตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึง 19.00 น.
ข้อมูลการจัดแสดงรายการนิทรรศการมีชีวิตจากหน่วยงานต่างๆ ( เรียงตามเส้นทางเสด็จฯ )
1. กรมป่าไม้ : นิทรรศการมีชีวิต “ บ้านเล็กในป่าใหญ่ ” จัดแสดง
- นิทรรศการมีชีวิต ไม้พยุง ไม้ในพุทธประวัติ และไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ
- นิทรรศการในบ้าน 9 หลัง ได้แก่
โซนที่ 1 สู่อ้อมกอดแห่งความร่วมเย็น แจกน้ำสมุนไพร
พาสปอร์ตสำหรับเยี่ยมชม และจุดแลกของรางวัล
โซนที่ 2 พระแม่แก้วมิ่งขวัญของแผ่นดิน จุดถวายพระพรบนจอ Touch Screen & card จะไปเชื่อมต่อปรากฏข้อมูลในจอ LCD
โซนที่ 3 พระมหากรุณาหยาดพรหมสู่ปวงไทย
แสดงโครงการพระราชดำริที่กรมป่าไม้ร่วมสนองพระราชดำริ
โซนที่ 4 รื่นรมย์ชมพนา สำหรับดูกิจกรรมการแสดงและร่วมเล่น
โซนที่ 5 มือน้อย ๆ ค่อยประคอง แสดงวิธีการเพาะชำ กล้าไม้ บำรุงรักษา แจก กล้าไม้
โซนที่ 6 จากผืนป่าสู่ผองไทย แสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากป่า พืชอาหาร ผลิตภัณฑ์จากป่าชุมชน
โซนที่ 7 ชื่นอุรสา ชมไพร แสดงความชุ่มชื้น และความหลากหลายของพืชในป่า รูปแบบส่วนแนวตั้งแทรกด้วยพืชสมุนไพรนำมาใช้ประโยชน์
โซนที่ 8 ไม้พะยูง พยุงไทยให้มั่นคง แสดงลวดลายไม้พะยูงและผลิตภัณฑ์
โซนที่ 9 ชีววิถี ชีวมวล แสดงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวมวล
2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช : จัด “ นิทรรศการมีชีวิต การอนุรักษ์สัตว์ป่า เฉลิม พระเกียรติฯ ” จัดนิทรรศการเป็น 4 โซน
โซน เอ จัดแสดงพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า
โซน บี จัดแสดงพรรณไม้หายากทั่วทุกภาคของประเทศไทย
โซน ซี จำลองโครงการพระราชดำริ ป่าเล็กในเมืองใหญ่ ฟาร์มตัวอย่าง และ นิทรรศการป่าสักนวมินทรราชินี
โซน ดี แสดงนิทรรศการด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า พร้อมสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ที่ทรง รับไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เช่น นกกะเรียน นกยูง เก้ง ไก่ฟ้า ฯลฯ
3. กรมส่งเสริมการเกษตร : จัดนิทรรศการมีชีวิต “ พืชแปลก พืชหายาก เฉลิมพระเกียรติฯปี 2555 ” 3 ประเภท
1. จัดนิทรรศการแสดงศักยภาพ พืชแปลก พืชหายากเป็นรายพืช เรื่องราวและต้นกำเนิดไปจนถึงผลิตภัณฑ์ จำนวน 9 พืช เช่น มะแข่วน มะไฟจีน บุก กลอย จันทร์เทศ ต๋าว สาคู ฝาง มะนาวโห่ เป็นต้น
2. นิทรรศการแสดงความหลากหลายสายพันธุ์พืชเศรษฐกิจ แต่ละชนิด จำนวน 9 พืช เช่น กล้วย มะพร้าว ไผ่ มัน พริก ข้าวโพด มะม่วง ลำไย เป็นต้น
3. พืชแปลกที่สวยงาม เช่น ไข่เน่า สะเดาดำ ลังแข บัวสันโดษ ชำมะเลียง ลูกหวาย
4. มูลนิธิคืนคืนช้างสู่ธรรมชาติ : นิทรรศการการอนุบาลช้าง และดำเนินการจนสามารถ คืนสู่ป่าได้
5. กรุงเทพมหานคร : นิทรรศการและการจัดสวนแสดง
1. ประวัติข้อมูลกำเนิดสวนสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่
1. สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
2. สวนรมณีนาถ
3. อุทยานเบญจสิริ
4. สวนเบญจกิติ
5. สวน 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
6. สวนวนธรรม
2. สวนสาธารณะที่ได้รับชื่อพระราชทาน ได้แก่
1. สวนรมณีทุ่งสีกัน
2. สวนรมณีนาถ
3. อุทยานเบญจสิริ
3. พระราชเสาวนีย์ที่มีต่อการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร เช่น ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร พระราชดำริในการปลูกต้นไม้ยืนต้นตามถนนในกทม เป็นต้น
6. กรมประมง : นิทรรศการมีชีวิต โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ
1. ตู้ปลา 4 ชนิด เช่น ปลาฉลาม ปลาอีกง เป็นต้น
2. โมเดล 5 โมเดล เช่น โมเดลธนาคารไข่หมึก โมเดลฟาร์มทะเล และโมเดล Zero waste เป็นต้น
3. บ่อแสดงพันธุ์สัตว์น้ำแบบ Touch pool
4. จำลองระบบนิเวศป่าชายเลนและปูแสม
5. ผลิตภัณฑ์ เกลือทะเล อาหารสาหร่ายทะเล อาหารปลาอีกง
7. สมาคม/ชมรมพรรณไม้ประกวด : จัดแสดงพรรณไม้ชนะการประกวด 9 ชนิด ( อีก 3 ชนิด ) ได้แก่ ชวนชม บอนไซ และกล้วยไม้ต้น แสดงในจุดอื่น บอนสี โป๊ยเซียน ลิ้นมังกร แก้วกาญจนา โกสน ชวนชม พืชกินแมลง ไม้กลุ่ม DRACEANA หมากผู้หมากเมีย
8. กรมวิชาการเกษตร : จัด “ มหัศจรรย์ สีสัน พรรณบัว ”
ส่วนที่ 1 :
- แสดง ( ปลูกพันธุ์บัวในลานบัวของสวนฯ ) พันธุ์บัว 150 พันธุ์ในประเทศไทย
- พันธุ์บัวชนะเลิศที่ 1 ระดับโลกและระดับประเทศ
- พันธุ์บัว ชื่อพระนาม ควีนสิริกิติ์ ศรีกิตติยา
- บัวที่มีต้นเดียวในโลก
- พันธุ์บัวอนุรักษ์
- ความรู้เรื่องพันธุ์บัว การปลูก ดูแลรักษา การใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของบัว
ส่วนที่ 2 : ประโยชน์ของบัวในชีวิตประจำวัน
- อาหาร คาว หวาน จากเม็ดบัว รากบัว เกสรบัว กลีบบัว ไหลบัว ใบบัว
- เครื่องนุ่งห่ม ใยบัวทอเป็นผ้า
- สาธิต นำสีก้านบัวมาย้อมผ้า
- ยารักษาโรค ดีบัว ยาดม ชาเกสรบัว
9. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : แสดงกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ ในโครงการคืนชีวิตกล้วยไม้ไทยสู่ไพรพฤกษ์และร่วมกับสมาคมพฤกษชาติแสดงกล้วยไม้ประกวดสกุล แคทลียา “ ควีน สิริกิติ ”และกล้วยไม้
ประกวดชนิดสีน้ำเงิน/ฟ้า
10. พระตำหนักทักษิณ : แสดงโครงการส่งเสริมการปลูกบอนสีเป็นอาชีพเสริม
11. โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ : นิทรรศการมีชีวิต จำลองโครงการฟาร์มตัวอย่าง พร้อมสัตว์เลี้ยง ในฟาร์ม เช่น หมูจินหัว เป็ดอี้เหลียง แพะ เป็นต้น พร้อมผลิตผลจากโครงการฟาร์มตัวอย่าง
12. โครงการกุหลาบ จากพระตำหนักภูพิงค์ : นิทรรศการกุหลาบ 300 กว่าพันธุ์ที่ปลูกในพระ ตำหนักภูพิงค์ พร้อมตัวอย่างต้นกุหลาบบางชนิดจำนวนหนึ่ง
13. โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย : แสดงเห็ดหลินจือที่ปลูกในโครงการฯ และนำอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แสดงโครงการวิจัยเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดฯ ที่ทำการศึกษาวิจัยที่โครงการสวนเกษตรฯนำคณะสารธารณะสุข ยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ทูลเกล้าถวายเครื่องตีสปอร์เห็ดฯ ( เป็นโมเดล จำลองสวน, เครื่องจริง ติดตั้งไว้ที่สวนเกษตรแล้ว ) เพื่อใช้ในโครงการสวนเกษตรเมืองงายฯ
หมายเหตุ : ได้จัดทำหนังสือวิจัยฯ ทูลเกล้าฯ ถวาย
14. สำนักคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( กปร ) :จัดนิทรรศการ ( ในเต๊น ) ของ 8 หน่วยงาน
15. บริเวณสวนหม่อนไหมแสดงนิทรรศการ 3 กรม ได้แก่
- กรมหม่อนไหม : สวนหม่อนไหม แสดงต้นหม่อนเลี้ยงไหม หม่อนหลวง หม่อนป่า และหม่อนรับประทานผล และต้นดาหลา
- ขอพระราชทานทรงปลูกต้นหม่อนหลวง
- นิทรรศการมีชีวิต “ ไหมดาหลา ” ครั้งแรกของโลก
ผ้าไหมดาหลา หนอนไหมฯ และผีเสื้อยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกิดจากหนอนดาหลา
- กรมข้าว : แสดงพันธุ์ข้าวกว่า 120 สายพันธุ์ที่รับรอง และนิทรรศการ ( ภาพ ) ความหลากหลายเชื้อพันธุ์ข้าวทั้งจำนวน 24,432 สายพันธุ์ในประเทศไทย แสดงต้นข้าวที่สูงที่สุดในโลก
- สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ : นิทรรศการไผ่ในหัวข้อ “ เส้นสานลานไผ่ ”แสดงเส้นทางการใช้ประโยชน์จากไผ่ที่มีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พัฒนาจนเป็นผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ เช่น ผลิตภัณฑ์เส้นใยจากไผ่ เครื่องกรองน้ำที่ทำการถ่านไม้ไผ่ ฯลฯ
16. สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ : นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศและ พระราชกรณียกิจในด้านการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรัฐบาล ( พ.ศ. 2553 ) ถวายพระ ราชสมัญญานาม “ พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ ”