ทั้งนี้ ได้คัดเลือกทีมเยาวชนผู้ผ่านการคัดเลือกหนังสั้นทั้งหมด 10 ชิ้น โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1.นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ได้แก่ ทีมชนะเลิศ คือ ทีม Thossagun Art Attack ชื่อผลงาน โจ๊ก จากวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี รองชนะเลิศ คือ ทีม ขมิบ ชื่อผลงาน สะท้อน จากโรงเรียนมารีวิทย์ จังหวัดชลบุรีรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม Caf?’ Film ชื่อผลงาน ICE จากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยจังหวัดศรีสะเกษรางวัลชมเชย 2 ทีม คือ ทีม ยอ. ชื่อผลงาน ยอ. จากโรงเรียนพระหฤทัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และทีมปาร์ตี้ยาไอซ์ ชื่อผลงาน ปาร์ตี้ยาไอซ์ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ2.นิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา/ปวส. ทีมชนะเลิศ คือ ทีม The Face Impact ชื่อผลงาน ท่อ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองชนะเลิศ คือ ทีม S.L. Studios Entertainment ชื่อผลงาน อย่าลอง ถ้าไม่อยากพัง จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ รองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม Maker ชื่อผลงาน ความสุขที่ใกล้ตัว จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ รางวัลชมเชย 2 ทีม คือ ทีม Lamp ชื่อผลงาน Changed color จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และทีม Comlacq ชื่อผลงาน เสียงที่ไม่ได้ยิน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งทีมชนะเลิศจะได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลรวมกว่า ๒๔๐,๐๐๐ บาท อย่างไรก็ตาม หนังสั้นที่ผ่านการประกวดในครั้งนี้จะมีการนำไปเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อรณรงค์และปลูกจิตสำนึกในการปฏิเสธสิ่งเสพติดโดยเฉพาะยาไอซ์ต่อไป
ด้าน นายณรงค์ รัตนานุกูล ที่ปรึกษาการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) กล่าวว่า เวทีการประกวดผลงานในครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาทุกคนได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อร่วมมือกันเยียวยาแก้ไขปัญหายาไอซ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกคนในสังคมต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน และผลงานที่ได้เข้ารอบมานั้นสามารถสร้างแรงกระตุ้นให้เยาวชนผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ฉุกคิดถึงประเด็นปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี