‘ไพลินบุ๊คเน็ต’ ชูกลยุทธ์เพิ่มช่องทางขาย ลดต้นทุนการพิมพ์ หวังรัฐหนุนมาตรการภาษี สร้างความเข้มแข็งอุตสาหกรรมหนังสือ

อังคาร ๒๑ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๑๗:๐๗
ไพลินบุ๊คเน็ต” ชี้ทางออกปัญหาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมศูนย์กระจายสินค้า ภาครัฐต้องกระตุ้นการอ่านและซื้อหนังสือมากขึ้น เพื่อช่วยให้ต้นทุนการพิมพ์ต่อหน่วยลดลง พร้อมสนับสนุนมาตรการทางด้านภาษี หลังต้นทุนอุตสาหกรรมหนังสือทั้งระบบเพิ่มขึ้น ระบุกลยุทธ์ทำตลาดไพลินบุ๊คเน็ตมาถูกทาง โดยปฏิวัติห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมหนังสือ เน้นปั้นนักเขียนผลิตผลงานให้มากขึ้น พร้อมปูพรมบูธจำหน่ายหนังสือทั่วประเทศด้วยราคาจำหน่ายย่อมเยาว์ กระตุ้นการซื้อสินค้า ส่งผลระยะยาวช่วยลดต้นทุนการพิมพ์ต่อหน่วยลง มั่นใจปีนี้ดันยอดขายกว่า 10 ล้านเล่ม

นายฉัตรเฉลิม เฉลิมชัยวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจสิ่งพิมพ์ทั้งการเป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คหลากหลายประเภท เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาพรวมต้นทุนของอุตสาหกรรมหนังสือปรับตัวสูงขึ้นทั้งระบบ ตั้งแต่สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่ายและร้านหนังสือ เนื่องจากแต่ละชื่อเรื่องมียอดพิมพ์เฉลี่ยเพียง 3,000 เล่ม และมียอดขายแค่ 1,500 เล่ม ขายได้น้อย ทำให้ต้นทุนโดยรวมสูงมาก ซึ่งหากพิจารณาจากโครงสร้างต้นทุนในอุตสาหกรรมหนังสือ จะพบว่า สำนักพิมพ์มีต้นทุนค่าลิขสิทธิ์นักเขียนเฉลี่ย 10% จากยอดพิมพ์ โดยมีค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์ 20 % (ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านบริหาร) และเสียค่าจัดจำหน่ายอีก 40% จากยอดขาย ซึ่งสำนักพิมพ์ต้องขายให้ได้ 1,800 เล่มถึง จะเท่าทุน

ส่วนผู้จัดจำหน่ายเอง มีต้นทุนดำเนินการขนส่งและบริหารจัดการ รวมถึงส่วนลดการขายให้ร้านหนังสือ 30% จากยอดขาย เมื่อหักต้นทุนดำเนินการแล้ว จะมีกำไรเหลือเพียง 4-5% เท่านั้น ร้านหนังสือเองก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก แม้จะเป็นร้านหนังสือขนาดใหญ่ที่มีเชนสโตร์มากมาย ก็เหลือกำไรเพียง 4-5 % เช่นกัน ดังนั้น การเรียกเก็บค่ากระจายสินค้า 1 % จากยอดส่ง (หรือประมาณ 2 % จากยอดขาย เพราะหนังสือขายได้เฉลี่ย 50 % จากยอดส่ง) ตอนนี้ก็ยังมีการต่อรองกันอยู่ว่า ใครจะเป็นคนรับภาระนี้ไป ซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิหายไปอีก 2 %

“น่าเห็นใจทุกฝ่าย เพราะซัพพลายเชน หรือห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ค ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย และร้านหนังสือ ขนาดประหยัดแทบตายก็แค่พออยู่ได้ ไม่เหลืออะไรเลย ดังนั้น ภาครัฐต้องส่งเสริมให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการซื้อและใช้มาตรการด้านภาษีเข้ามาช่วย เช่น ลดภาษีซื้อให้เหลือ 0 % ทางสำนักพิมพ์ก็สามารถพิมพ์หนังสือจำนวนมากๆ ต้นทุนพิมพ์ต่อหน่วยก็ลดลง ตัวนักเขียนหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มีรายได้เพิ่ม ผู้จัดจำหน่ายและร้านหนังสือก็มีเปอร์เซ็นต์จากการขายเพิ่มขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” นายฉัตรเฉลิมฯ กล่าว

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไพลินบุ๊คเน็ต กล่าวด้วยว่า การปรับค่าธรรมเนียมกระจายสินค้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อสำนักพิมพ์ไพลินบุ๊คเน็ต เนื่องจากที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้สร้างขีดความสามารถในการรองรับการแข่งขันอุตสาหกรรมหนังสือมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยกลยุทธ์การบริหารซัพพลายเชน เพื่อลดต้นทุนการพิมพ์ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางหรือผู้อ่าน โดยการตั้งจุดจำหน่ายในรูปแบบของบูธหนังสือที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้อ่าน ทำให้สำนักพิมพ์สามารถมอบส่วนลดราคาขายได้ถึง 70% เพื่อกระตุ้นการขายหนังสือเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯขายหนังสือได้เป็นจำนวนมาก ปีละกว่า 10 ล้านเล่ม

“เราให้ความสำคัญกับเรื่องต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์ ทั้งการสร้างนักเขียนหน้าใหม่ขึ้นมา การเพิ่มปริมาณงานเขียนหนังสือต่อนักเขียนเก่า เพื่อพิมพ์หนังสือให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด และที่สำคัญด้านกลยุทธ์ช่องทางขายที่เรามีการออกบูธจำหน่ายสินค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าจำหน่ายภายในร้านหนังสือ ทำให้สามารถตั้งราคาขายย่อมเยาว์ที่ช่วยกระตุ้นให้คนอ่านซื้อหนังสือเพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อว่ากลยุทธ์ดังกล่าว ทำให้เราสามารถเข้มแข็งอยู่ในธุรกิจหนังสือในภาวะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ได้” นายฉัตรเฉลิมฯ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๖ เอ็ม บี เค เปิดโลกนวัตกรรมยานยนต์แห่งสายน้ำสุดล้ำสมัย มหกรรมเรือยิ่งใหญ่แห่งปีกับงาน Riverdale Marina Boat Fair # 3 วันที่ 5-9 มี.ค.
๑๖:๓๑ พาส่องเทรนด์การท่องเที่ยว 'Conscious travel' นักท่องเที่ยวไทยพักผ่อนในโรงแรมนานขึ้น พร้อมมองหาประสบการณ์สุดพิเศษ
๑๖:๒๘ อาการสั่น. สัญญาณเตือนโรคร้ายทางสมอง
๑๖:๓๙ เปิดมุมมองการประเมินคุณภาพภายนอกปี 2567 - 2571 ในรูปแบบ การประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
๑๖:๔๒ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมมือ ฟลิปส์ อินโนเวทีฟ พัฒนาแพลตฟอร์ม 'Flips IP' เปลี่ยนทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล
๑๖:๐๐ Jelly Bunny ส่งต่อความสดใสไปกับคอลเลกชั่น Lost in the Sunshine ต้อนรับฤดูกาลแฟชั่นสปริง - ซัมเมอร์ 2025
๑๖:๕๐ SAPPE โชว์ผลประกอบการปี 67 ทำ All Time High ยอดขายแตะ 6,775 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,252 ล้านบาท
๑๖:๓๑ SCN ออกหุ้นกู้ 2 ชุด กำหนดดอกเบี้ยคงที่ 7.00-7.25% เปิดขาย 26-27 ก.พ. นี้ ผ่านบล.ยูโอบี และบล.เคพีเอ็ม รับแผนเร่งเกมเดินหน้าขยายและต่อยอดธุรกิจปี
๑๖:๔๖ ลดยกเกาะรับซัมเมอร์ !! โฮมโปร-เมกาโฮม เสิร์ฟดีลคุ้ม 5 สาขาเกาะภูเก็ต ครบเรื่องบ้าน-งานช่าง แจกทั้งส่วนลด รับคืนสูงสุด 8,900 บาท เริ่ม 22 ก.พ. 68 นี้ 9
๑๖:๑๘ เมย์แบงก์ เกาะกระแส AI จัดสัมมนาการลงทุนพิเศษ AI on the Rise เจาะลึกตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับนักวิเคราะห์ดังระดับโลกจากวอลล์สตรีท