อัศจรรย์ควันหลงวันแม่ ลูกปลากระเบนหลังดำ เกิดที่ เชียงใหม่ ซู อควาเรียม

พุธ ๒๒ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๑๓:๒๗
นายนฤทัต เจริญเศรษฐศิลป์ รองประธานกรรมการเชียงใหม่ ซู อควาเรียม เผยว่า เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา นายอมรินทร์ ซีประเสริฐ ผู้จัดการแผนกดูแลสัตว์น้ำ ได้แจ้งว่าปลากระเบนหลังดำภายในอุโมงค์น้ำจืดได้คลอดลูกจำนวน 1 ตัว มีขนาดประมาณ 1 ฟุต สภาพร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี ก่อนหน้านั้นสองวันเจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์น้ำได้สังเกตเห็นปลากระเบนหลังดำเพศเมียตัวดังกล่าวมีลักษณะอาการแปลกไปจากปกติคือไม่ออกมาทานอาหารในเวลาโชว์ป้อนอาหารปลา (10.30 น. และ 15.30 น.) ซึ่งปกติปลากระเบนยักษ์ตัวนี้จะออกมาขออาหารจากเจ้าหน้าที่เสมอ และมีพฤติกรรมที่แปลกไปคือนอนกลับพื้นตลอดเวลา เจ้าหน้าดูแลสัตว์น้ำจึงได้เข้าไปสำรวจจึงพบว่าแม่กระเบนตัวดังกล่าวได้คลอดลูกแล้ว ต่อมาเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการแยกลูกปลากระเบนออกมาจากอุโมงค์ เพื่อให้ลูกปลากระเบนได้ปรับสภาพและเตรียมความพร้อมที่จะนำออกมาจัดแสดงต่อไป

นายนฤทัต เจริญเศรษฐศิลป์ รองประธานกรรมการเชียงใหม่ ซู อควาเรียม ยังกล่าวอีกว่าจะจัดกิจกรรมประกวดตั้งชื่อลูกปลากระเบนหลังดำตัวดังกล่าวต่อไปในอนาคตเมื่อลูกกระเบนพร้อมที่จะจัดแสดง และให้นักท่องเที่ยวได้ยลโฉมก่อนการตั้งชื่อ และด้วยระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบและเหมือนสภาพในธรรมชาติมากที่สุดของเชียงใหม่ ซู อควาเรียมนี้เอง ทำให้เจ้ากระเบนสามารถผสมและให้กำเนิดลูกน้อยออกมาได้ นอกจากปลากระเบนแล้วยังมีสัตว์อื่นอีกหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในระบบนิเวศน์ของเชียงใหม่ ซู อควาเรียม อาทิเช่น ปลาฉลามกบ ปลากลาย ปลาหมอเผือก (ปลาหมอคอนวิคท์) กระเบนโมโตโร่ และเต่าทะเลจากกองทัพเรือที่เคยมาฝักไข่และเกิดที่เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ในอนาคตทางเชียงใหม่ ซู อควาเรียมคาดว่าจะมีสัตว์สายพันธุ์อื่นที่สามารถเพาะพันธุ์ได้เองอีกหลากหลายชนิดภายใต้ระบบนิเวศน์ที่สมจริงของเชียงใหม่ ซู อควาเรียม

ทั้งทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์เชียงใหม่ ซู อควาเรียมจะแจ้งรายละเอียดกิจกรรมและกำหนดการนำลูกปลากระเบนเกิดใหม่ตัวดังกล่าวออกจัดแสดงให้ทราบอีกครั้ง

ข้อมูลทั่วไป ปลากระเบนหลังดำ

ชื่อสามัญ: ปลากระเบนหลังดำ Black-Blotched Stingray

ชื่อวิทยาศาสตร์: Taeniura meyeni

ขนาด: ลำตัว 180 เซนติเมตร ความยาวรอบ 330 เซนติเมตร

ทั่วไป: ลำตัวข่อนค่างกลมและหนา มีจุดสีดำบนลำตัว มีเงี่ยงพิษ 1 คู่ที่บริเวณหาง

ถิ่นอาศัย: อาศัยอยู่บริเวณพื้นทรายใกล้กับแนวปะการัง พบแพร่กระจายแถบอินโดแปซิฟิกตะวักตก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๗ ทันตแพทย์ ม.พะเยา ลงพื้นที่ดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ เติมรอยยิ้มสดใส ฟันดีทุกวัย
๑๗:๐๐ 'สานใจไทย สู่ใจใต้' รุ่นที่ 44 ซีพี - ซีพีเอฟ หนุนโครงการต่อเนื่องมุ่งเสริมสร้างโอกาสการศึกษา พัฒนาความคิดและทักษะอาชีพแก่เยาวชนไทยรุ่นใหม่
๑๗:๑๒ สงกรานต์นี้ ฉลองไปกับโรยัล เอ็นฟีลด์
๑๗:๐๗ ' ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
๑๗:๔๑ ดีพร้อม เปิดโปรเจ็กต์สุดปังหนุนผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นสายมูมงคล ดึงวัฒนธรรม ศรัทธา เสริมพลังบวก
๑๗:๔๑ ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ประกาศผลผู้ชนะโครงการประกวดภาพศิลปะเด็กและเยาวชนแนวคิด ดื่มไม่ขับ หนุนทักษะศิลปะเยาวชน
๑๗:๐๗ โครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์ ประจำปี 2568 ให้คำปรึกษาทางการแพทย์แผนกทุยหนาและกระดูก
๑๗:๔๒ CPF เปิดบ้าน จัดงาน 'CP SPLASH IN SPACE' ปลุกพลัง Soft Power ชวนคนไทยฉลองสงกรานต์ เสิร์ฟความมันส์ ทะลุอวกาศบนถนนสีลม
๑๗:๐๐ BSRC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มีมติอนุมัติเดินหน้าการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัท
๑๗:๑๖ Splashing Together ทรู ดีแทค รวมกัน สงกรานต์สนุกขึ้นเยอะเลย