กฟก.เร่งแก้หนี้ แก้จน สานต่อนโยบายปี 2556 พร้อมส่งเสริมเกษตรกรทำอาชีพอย่างยั่งยืน

พุธ ๒๒ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๓๘
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญในปีงบประมาณ 2555 พร้อมเร่งดำเนินการโครงการชำระหนี้แทน พร้อมกับตั้งเป้าปีงบประมาณ 2556 ยังเน้นการชำระหนี้แทนเกษตรกร ควบคู่ไปกับการทำตลาดเพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกร

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยถึงแนวทางของนโยบายในปี 2556 กฟก.ยังสานต่อนโยบายเดิมคือ การชำระหนี้แทนเกษตรกร เพื่อเป็นการฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับปัญหาจากการทำเกษตรกรรมต่างๆ ซึ่งในส่วนของงบประมาณอยู่ที่ 800 ล้านบาทเนื่องจากงบประมาณเดิมยังคงเหลืออยู่ โดยจะให้เกษตรกรทำโครงการเพื่อนำมาเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารกองทุน ชำระหนี้แทนเกษตรกร และอีกส่วนคือการฟื้นฟูหนี้ ที่จำเป็นต้องนำงบประมาณในส่วนนี้เข้ามา เพื่อขอแปรใช้ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากครม.ก่อน โดยกระบวนการนี้จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางในการกระตุ้นฟื้นฟูหนี้ให้เกษตรกรด้วย

“ในปีงบประมาณ 2555 ตั้งเป้าไว้ 845 โครงการ ณ ปัจจุบันได้อนุมัติโครงการไปจำนวนกว่า 600 โครงการ และยังเหลือเวลาอีก 2 เดือน ก็จะทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในปีงบประมาณ 2556 ตั้งเป้าไว้ไม่ต่ำกว่า 500 โครงการ ในงบประมาณฟื้นฟูหนี้แทนเกษตรกร และตั้งเป้าหมายการซื้อหนี้ไว้ไม่ต่ำกว่า 5,000 คน และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ในปี 2556 คือ กฟก.จะเน้นในเรื่องของการตลาด เพื่อไปช่วยดูแลสนับสนุนให้แก่เกษตรกร ส่งเสริมการปลูกการเลี้ยงต่อจากปี 2555 และหวังว่าโครงการที่ กฟก.ให้เกษตรกรไปดำเนินการนั้นจะสำเร็จถึง 80% และสำหรับพี่น้องเกษตรกรที่ถูกชำระหนี้ไปแล้วเกือบ 20,000 คน ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูหลังการจัดการหนี้ต่อไป เพื่อให้มีเงินมาชำระหนี้คืนกองทุน ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนซื้อหนี้”

ด้านนายมูฮำหมัด ภูยุทธานนท์ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร (กฟก.) สาขาจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ในส่วนของเกษตรกรในจังหวัดปัตตานีถือเป็นจังหวัดชายแดนที่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ซึ่งเกษตรกรก็ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ทำอาชีพเก็บยางพารา โดยปกติเกษตรกรจะเก็บยางในช่วงเวลาตี หนึ่งถึงตีสาม เพราะปริมาณยางจะเก็บได้มากที่สุด เกษตรกรก็ต้องเปลี่ยนเวลาในการเก็บยางใหม่ เป็นช่วงเวลาเช้าคือ หกโมงเช้า ก็จะทำให้ได้ปริมาณยางลดลง ซึ่งก็กระทบกับรายได้ของเกษตรกร ทางจังหวัดก็จะมีมาตรการให้ในช่วยเหลือเป็นกรณีไป และแนะนำให้เกษตรกรหารายได้จากส่วนอื่นด้วย เช่น การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลา การปลูกผักสวนครัว ให้ค่าใช้จ่ายลดลง ก็ถือเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

“สำหรับนโยบายของทางส่วนกลางสามารถช่วยเกษตรกรในพื้นที่ได้มาก ทางจังหวัดได้มีการอบรม แนะนำ สร้างความเข้าใจในการให้เกษตรกรทำงานเป็นกลุ่ม และนำเสนอโครงการผ่านทางกฟก.จังหวัด เพื่อขออนุมัติงบประมาณต่างๆซึ่งจะได้ผลดีมากในโครงการที่ไม่เกิน 500,000 บาท เพราะกลุ่มเกษตรกรจังหวัดจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ส่วนของชายทะเล ซึ่งจะยาวพอสมควร เป็นกลุ่มประมงชายฝั่งเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มประมงชายฝั่งก็ทำอาชีพประมง อาชีพแปรรูป สัตว์น้ำ 2. ส่วนของเชิงเขา ก็จะมีอาชีพเกี่ยวกับยางพาราและสวนผลไม้ ทำการแปรรูปยาง และเลี้ยงสัตว์ 3. ส่วนของที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นไร่นา พืชสวนครัว พืชผัก และสัตว์เลี้ยง ทางจังหวัดจะเน้นการทำความเข้าใจของกลุ่มเกษตร เพราะถ้ากลุ่มไม่เข้าใจในสภาพความเป็นจริงของกลุ่มแล้วการทำงานร่วมกันก็จะยากขึ้น อาจค่อนข้างใหม่ในการทำงานเป็นกลุ่มของเกษตรกร แต่สามารถทำให้เกษตรสามารถทำอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไป นายมูฮำหมัด กล่าว

ติดต่อ:

คุณอาริยา ผิวขำ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ