คณะกรรมการปิโตรเลียม อนุมัติ 2 แหล่งผลิตปิโตรเลียมใหม่ คาดสร้างรายได้ให้กับประเทศ มูลค่ากว่า 13,200 ล้านบาท

พฤหัส ๒๓ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๑๘
คณะกรรมการปิโตรเลียม โดยนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ได้มีการประชุมประจำเดือนสิงหาคม 2555 และได้มีการสรุปสถานการณ์ด้านการจัดหาและพัฒนาปิโตรเลียมในช่วงเดือนกรกฎาคม 2555 ว่าประเทศไทยมีอัตราการผลิตปิโตรเลียมเทียบเท่าน้ำมันดิบทั้งสิ้น 849,144 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 43 ของความต้องการใช้ในประเทศ โดยแบ่งเป็นก๊าซธรรมชาติ 3,531 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลว 96,904 บาร์เรลต่อวัน น้ำมันดิบ 145,194 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งในช่วงเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2555 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน สามารถจัดเก็บค่าภาคหลวง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 42,300 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2554 ร้อยละ 18

สำหรับผลการดำเนินงานในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นบริเวณที่ไทยและมาเลเซียอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปทับซ้อนกันในบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2555 มีการผลิตก๊าซธรรมชาติในอัตรา 1,259 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (นำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยวันละประมาณ 736 ล้านลูกบาศก์ฟุต) และก๊าซธรรมชาติเหลว 15,825 บาร์เรลต่อวัน โดยในช่วงเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2555 ซึ่งสามารถนำส่งรายได้จากการดำเนินงานในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย — มาเลเซีย สู่ประเทศ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,777 ล้านบาท ซึ่งสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมการปิโตรเลียมดังกล่าว ได้มีการอนุมัติพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติม จำนวน 2 พื้นที่ เนื่องจากผลการสำรวจของบริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมพบว่าพื้นที่ดังกล่าว มีศักยภาพทางด้านธรณีวิทยาที่จะพัฒนาเป็นแหล่งปิโตรเลียมเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ประกอบด้วย

- แหล่งดงมูล ของบริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด ซึ่งอยู่ในแปลงสำรวจ L27/43 สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 9/2546/43 โดยคณะกรรมการปิโตรเลียมมีมติเห็นชอบให้ได้รับอนุมัติเป็นพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมรวม 31.91 ตารางกิโลเมตร และคาดว่ามีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 96 พันล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งจะเริ่มผลิตในปี 2558 ซึ่งหากดำเนินการพัฒนาสำเร็จและผลิตได้จะผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 14 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยบริษัทจะมีการลงทุนมูลค่าประมาณ 6,774 ล้านบาท และผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับจากโครงการนี้ประมาณ 3,095 ล้านบาท (คิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ) ส่วนบริษัทจะได้รับผลตอบแทนหลังหักเงินลงทุน ประมาณ 2,066 ล้านบาท (คิดเป็นประมาณร้อยละ 40 )

แหล่งปะการังตะวันตก ของบริษัท เชฟรอนประเทศสำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งอยู่ในแปลง ในทะเล แปลง B11 สัมปทานเลขที่ 1/2515/5 โดยคณะกรรมการปิโตรเลียมมีมติเห็นชอบให้ได้รับอนุมัติเป็นพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมรวม 118.1 ตารางกิโลเมตร และคาดว่ามีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 1 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 8.97 ล้านบาร์เรล ซึ่งจะเริ่มผลิตในปี 2558 และหากดำเนินการพัฒนาสำเร็จและผลิตได้ คาดว่าจะผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 4,300 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติประมาณ 59 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยบริษัทจะมีการลงทุนมูลค่าประมาณ 19,000 ล้านบาท และผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับจากโครงการนี้ประมาณ 10,200 ล้านบาท (คิดเป็นประมาณร้อยละ 57 ) ส่วนบริษัทจะได้รับผลตอบแทนหลังหักเงินลงทุนประมาณ 7,584 ล้านบาท (คิดเป็นประมาณร้อยละ 43 )

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO