นายแพทย์นพพร กล่าวว่า ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นปัญหาของคนทั้งโลก จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน เพิ่มมากขึ้น ซึ่งพบว่าอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและโรคหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองใหญ่ หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาต มีอย่างต่อเนื่อง ส่วนโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นก็มาจากปัจจัย 5 อย่าง คือ 1. การออกกำลังกายน้อยหรือออกกำลังกายไม่เหมาะสม 2. การรับประทานอาหารไม่เหมาะสมมีการรับประทานอาหารี่มีรสหวาน มัน เค็ม เกินมาตรฐาน 3. อารมณ์ ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ วิตกกังวล 4.การสูบบุหรี่ และ 5. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนนั้นจึงเป็นหนทางการแก้ปัญหาที่ถูกวิธี แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนนั้นเป็นเรื่องยากต้องอาศัยผู้นำทางความคิด อสม. เครือข่ายสุขภาพและความร่วมมือจากทุกฝ่าย
นายแพทย์นพพร กล่าวอีกว่า การนำเสนอผลงานในครั้งนี้ไม่ใช่การแข่งขันเพื่อการแพ้ชนะ แต่เป็นการนำเสนอผลงาน และนวตกรรมที่ดี นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในเขตพื้นที่ของตนเอง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมของประชาชน ซึ่งการคัดเลือกผลการพัฒนาการดำเนินงานดีเด่น/ดีเยี่ยม ภายใต้โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลปรากฏว่า
ประเภทหมู่บ้าน/ชุมชน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บ้านงิ้ว จ.นครราชสีมา รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ บ้านนาอ้อ จ.เลย และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ บ้านโหง่ จ.ร้อยเอ็ด
ประเภทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ รพสต. โนนตาล จ.นครพนม รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ รพสต. เหล่าเสือโกก จ.อุบลราชธานี และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ รพสต.หนองสนิท จ.สุรินทร์
ประเภทโรงพยาบาลชุมชน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ รพ.วานรนิวาส จ.สกลนคร รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ รพ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ รพ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
ประเภทสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สสอ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ สสอ.เมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ สสอ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
ประเภทสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สสจ.กาฬสินธุ์ รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ สสจ.ศรีสะเกษ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ สสจ.บุรีรัมย์
ประเภทเขตตรวจราชการ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เขตตรวจราชการที่ 12 รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เขตตรวจราชการที่ 11 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ เขตตรวจราชการที่ 14