สถาบันเหล็กฯ ร่วมมือ เอสเอสไอ และผู้ประกอบการในกลุ่มเหล็ก จัด “Thailand Steel House Contest 2012: คำตอบที่เพียงพอในสังคมที่พอเพียง” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ

จันทร์ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๑๑:๓๖
สถาบันเหล็กฯ ร่วมมือ เอสเอสไอ และผู้ประกอบการในกลุ่มเหล็กจัดโครงการ “ประกวดออกแบบบ้านเหล็กด้วยนวัตกรรมเขียว” ประจำปี 2555 (Thailand Steel House Contest 2012: Greenovation: Less is more) ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กฯ มั่นใจการจัดประกวดครั้งนี้ดึงจุดเด่นของเหล็กมาประยุกต์กับ Green Innovation ช่วยประหยัดพลังงานและบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ภายในอาคารสอดคล้องแนวทาง “เศรษฐกิจพอเพียง” ผู้บริหารเอสเอสไอหวังยกระดับบ้านเหล็กได้มาตรฐานระดับประเทศ สร้างชุมชนที่มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ตั้งเป้าโรดโชว์ 25 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ พร้อมเชิญชวนมืออาชีพทั่วประเทศร่วมประกวด

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2555 ณ แพลนนารี่ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในงานแถลงข่าวเปิดตัว โครงการประกวดออกแบบบ้านเหล็ก ด้วยนวัตกรรมเขียว หรือ “Thailand Steel House Contest 2012 (Greenovation: Less is more)” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลรวมกว่า 1,000,000 บาท ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ รวมทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กอื่นๆ เช่น บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด และ บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงโครงการประกวดการออกแบบบ้านเหล็ก ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 3

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า โครงการประกวดออกแบบบ้านเหล็กนี้เป็นโครงการที่ส่งเสริมการใช้เหล็กซึ่งเป็นวัสดุสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตตั้งแต่ระดับจุลภาคจนถึงมหภาค โดยอาศัยการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการใช้เหล็กในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มผู้ออกแบบและสร้างที่อยู่อาศัย ทั้งวงการศึกษาและวิชาชีพ และสนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเขียว (Green Innovation) ที่ให้ความสำคัญเรื่องการประหยัดพลังงาน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงโครงการ “Thailand Steel House Contest 2012” ว่า โครงการประกวดการออกแบบบ้านเหล็กครั้งนี้เป็นการจุดประกายให้มีการนำแบบบ้านหรืออาคารที่พักอาศัยที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าประกวดนำไปเป็นต้นแบบประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ เพราะความพิเศษในหลากหลายด้านของเหล็กทำให้วัสดุชนิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านอุตสาหกรรมก่อสร้างในหลากหลายรูปแบบ โดยนำจุดเด่นซึ่งมีอยู่มากมายของวัสดุประเภทเหล็กมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นจุดเด่นทางด้านรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นเอกลักษณ์ น้ำหนักที่เบาเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างคอนกรีต สามารถใช้ในโครงสร้างที่มีความสลับซับซ้อน หรือโครงสร้างที่ง่ายต่อการดัดแปลงและต่อเติม

“เมื่อนำจุดเด่นของเหล็กมาประยุกต์ร่วมกับเทคโนโลยีเขียว (Green Innovation) ที่ช่วยประหยัดพลังงานและบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ภายในอาคารให้มีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่การออกแบบบ้านพักอาศัย การเลือกวัสดุและวิธีการก่อสร้างบ้าน ตลอดจนคุณภาพชีวิตในการพักอาศัยภายในบ้าน และยังสอดคล้องกับแนวทาง “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย”

นายนาวา จันทนสุรคน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกิจการสาธารณะและความรับผิดชอบทางสังคม บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือเอสเอสไอ กล่าวว่า “เอสเอสไอเล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมเหล็กให้มีการใช้เหล็กอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงสนับสนุนในการประกวดการออกแบบบ้านเหล็ก ด้วยเห็นว่าเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ทั้งนิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการเกี่ยวกับงานออกแบบได้แสดงแนวความคิดในเรื่องการออกแบบบ้าน โดยใช้เหล็กเป็นวัสดุหลัก ทำให้มีเวทีให้ทุกฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิด นอกจากนี้สภาวการณ์โลกที่เริ่มเปลี่ยนไปทั้งจากภาวะโลกร้อน ปัญหาด้านพลังงาน ข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่เร่งรีบของคนเมือง ทำให้แนวความคิดของการนำเหล็กมาเป็นวัตถุดิบในการก่อสร้างจึงนับว่าสอดคล้องกับสภาพดังกล่าวเป็นอย่างดี เพราะจุดเด่นของเหล็ก หากนำมาใช้ในการก่อสร้างจะช่วยลดการใช้พลังงานและระยะเวลาในการปลูกสร้าง นอกจากนี้เหล็กยังสามารถแปรรูปได้หลากหลายรูปแบบ จึงสามารถก่อสร้างบนพื้นที่ขนาดเล็กได้ และที่สำคัญเหล็กเป็นวัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ได้เกือบ 100 % โครงการนี้จึงเป็นโครงการที่มุ่งเน้นสร้างสรรค์บ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง”

โดยเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา สถาบันเหล็กฯ ได้จัดกิจกรรมนำเสนอข้อมูล ให้กับคณาจารย์และนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นแห่งแรก เพื่อเชิญชวนเข้าร่วมส่งผลงานประกวด ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาในการเข้าร่วมฟังกิจกรรมดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยโครงการมีแผนออกเดินสายประชาสัมพันธ์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-กันยายน 2555 ไปยังมหาวิทยาลัย 25 แห่งทั่วประเทศ

ทั้งนี้ภายในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “Thailand Steel House Contest 2012” มีการเสวนาเรื่อง “บ้านเหล็ก... แนวโน้มการพัฒนาบ้านพักอาศัยในอนาคต” โดยคุณประภากร วทานยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท A49 Architect จำกัด และ คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ บริษัท Boon Design รวมทั้งมีการนำเสนอข้อมูลการประกวดออกแบบจากคณะกรรมการ ผู้สนใจสามารถสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 2 พ.ย. 2555 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณจิตติสา 02-712-4402-7 ต่อ171 หรือที่ www.isit.or.th และhttps://www.facebook.com/thailand%20steelhouse.contest#!/thailandsteelhouse. contest

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero