“ ระบบ 3 มิติ ” อัจฉริยะทางการแพทย์ เพื่อคนพิการทางการเคลื่อนไหว

อังคาร ๒๘ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๑๔:๒๒
แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่ากรมการแพทย์ โดยศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟู สมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ได้นำระบบวิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบสามมิติ(3D motion analysis system) มาใช้ในการพัฒนางานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ระบบนี้จะทำงานร่วมกันระหว่างกล้องความเร็วสูง โดยเชื่อมต่อกับชุดวัดและวิเคราะห์แรง กล้องวิดีโอสำหรับบันทึกภาพผู้ป่วยและชุดวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ มีชุดวัดและวิเคราะห์แรงกดของฝ่าเท้า ชุดตรวจวิเคราะห์การเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถตรวจวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของร่างกาย กล้ามเนื้อ และกำลังของข้อต่อต่างๆ ขณะเคลื่อนไหว เช่น การเดิน ลุกนั่ง การออกกำลังกาย และจะแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตัวเลข กราฟ รายงานผลผ่านจอภาพคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบเวลาจริง (Real time) และประมวลผลทางเครื่องพิมพ์ด้วยระบบ 3 มิติ ทำให้ทราบถึงสาเหตุการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของผู้ป่วยได้

“ระบบวิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบสามมิติ”มีบทบาทสำคัญในการตรวจประเมินคนไข้ การวางแผนการรักษา รวมถึงการประเมินผลหลังการรักษา ผลการวิเคราะห์ที่ได้จะนำมาใช้ในการศึกษา เพื่อการรักษาฟื้นฟูผู้ป่วย คนพิการ อย่างถูกต้อง เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติเพิ่มมากขึ้น ให้ผู้ป่วยได้ใช้เครื่องช่วยที่เหมาะสมกับการฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ให้กลับคืนสู่สภาพที่ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด สามารถพึ่งตนเองหรือปฏิบัติหน้าที่การทำงานได้ตามอัตภาพ ถือเป็นบริการทางการแพทย์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ทางศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ยังได้ทำบันทึกความเข้าใจร่วมกับ Niigata University of Health and Welfare โดยการสนับสนุนของไจก้า(JICA) ในการพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อการพัฒนางานทั้งทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการกีฬา และได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยปีนี้ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ระบบวิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบสามมิติในคนพิการโรคหลอดเลือดสมอง คนพิการขาขาด และนำผลที่ได้ไปใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบการรักษา ฟื้นฟู ประเมินผลในส่วนของกายอุปกรณ์ช่วยผู้ป่วยต่างๆด้วย ด้านนางสาวพรสุรีย์ อ่อนมณี นักกายอุปกรณ์ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวว่าการทำงานของระบบวิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบสามมิตินอกจากจะมีชุดอุปกรณ์หลักแล้ว ยังมีเครื่องมือเสริมที่สามารถใช้งานร่วมกัน เช่น ชุดวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ชุดตรวจวิเคราะห์การเผาผลาญพลังงานของร่างกายขณะทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ นำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการรักษา แก้ไข และประเมินประสิทธิภาพของการฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น การประเมินประสิทธิภาพของกายอุปกรณ์ขณะเดินของผู้ฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก เฉพาะในรอบมกราคม-กรกฎาคม 2555 มีผู้มาใช้บริการแล้วกว่า 50 ราย แต่ละรายมารับบริการตรวจไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการมารับตรวจวิเคราะห์ก่อนการรักษา หลังการรักษา การใส่กายอุปกรณ์ในส่วนของผู้พิการ และภายหลังการใส่กายอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดการบริการได้ที่ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โทร. 0-2591-5455, 0-2591-4242, www.snmrc.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version