วว. รับรางวัล Gold Award จากการประกวดบูธนิทรรศการในงาน Thailand Research Expo 2012

จันทร์ ๐๓ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๕:๓๑
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มอบรางวัล Gold Award พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท และโล่รางวัล Thailand Research Expo 2012 ให้แก่ นางสุวรรณา ดอกไม้คลี่ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ในฐานะผู้แทนของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รางวัล Gold Award เป็นรางวัลการประกวดบูธนิทรรศการ (Thailand Research Expo Award 2012) เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกระตุ้นให้ให้หน่วยงานในระบบวิจัย ได้มีแรงจูงใจในการคัดเลือกและสร้างสรรค์การนำเสนอผลงานวิจัยในภาคนิทรรศการเนื่องในงานนิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมการวิจัย "การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555" (Thailand Research Expo 2012) ซึ่ง วช. จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 24-28 สิงหาคม 25545 ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อเป็นเวทีแสดงศักยภาพทางการวิจัยของไทยในระดับประเทศ อันจะเชื่อมโยงกับการนำผลผลิตจากงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์

สำหรับบูธนิทรรศการของ วว. ในครั้งนี้ ได้นำเสนอผลงานวิจัยภายใต้แนวคิด “จากภูมิปัญญาไทย สู่ผลงานวิจัย ก้าวไกลสู่สากล” ในรูปแบบการจัดนิทรรศการภาพรวมการวิจัยและพัฒนาของ วว. ในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างครบวงจร และจัดแสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากการวิจัยและพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จสู่เชิงพาณิชย์ ดังนี้

เห็ดเมืองหนาว.... เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน สังคม ประเทศ วว. สนองโครงการพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการดำเนินงานโครงการหลวง เพาะเห็ดเมืองหนาว ร่วมกับโครงการเกษตรที่สูงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2514 ต่อมาได้จัดตั้ง ศูนย์วิจัยและผลิตเชื้อเห็ด ณ สถานีวิจัยดอยปุย มีภารกิจในการวิจัยและผลิตเชื้อเห็ดสนับสนุนงานส่งเสริมอาชีพใหม่ ทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา

วว. ประสบผลสำเร็จในการ “เพาะเห็ดหอม” ซึ่งเจริญเติบโตในสภาวะแวดล้อมปกติได้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวแก่เกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง…เพาะเห็ดเพื่อปลูกเป็นรายได้เสริม และได้เพิ่มความหลากหลายในการวิจัยและพัฒนาเห็ดเมืองหนาวอีกหลากหลายชนิด อาทิ เห็ดกระดุม เห็ดเข็มทอง เห็ดโคนหลวง เห็ดนางรมหลวง เห็ดนางรมดอย เห็ดปุยฝ้าย เห็ดชิเมจิเห็ดนางรมดอย เห็ดนางรมทอง เห็ดยานางิ เห็ดนาเมโกะ เห็ดซืองิตาเกะ และเห็ดพอตตาเบลโล เป็นต้น อีกทั้งยังได้ต่อยอดความสำเร็จสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดเมืองหนาวให้แก่ภาคเอกชน เพื่อทดแทนการนำเข้าและส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้วิจัยและพัฒนาเห็ดเมืองหนาวสู่ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวจากเห็ดแครง และผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากสารสกัดธรรมชาติเห็ดนางรมทอง-นางรมดอย ซึ่งได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเชิงพาณิชย์ให้แก่บริษัทไนน์ บีบี พลัส จำกัด ณ ปัจจุบันทั้งสองผลิตภัณฑ์ได้วางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว

การแปรรูปผักหวานป่า...ส่งเสริมชุมชน สร้างอาชีพ ลดการทำลายสมดุลธรรมชาติ สถานีวิจัยลำตะคอง วว. จังหวัดนครราชสีมา ประสบผลสำเร็จในการ “ปลูกผักหวานป่าเชิงระบบทางการค้า” ซึ่งเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยมีผักหวานป่าเป็นพืชหลัก และมีการปลูกพืชหลายระดับเพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางลบกับการเจริญเติบโตของผักหวานป่า โดยเริ่มจากปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เช่น แคบ้าน กล้วย มะม่วง และสะเดา เป็นต้น เพื่อใช้เป็นไม้พี่เลี้ยงให้ร่มเงาที่ถาวร เนื่องจากตามธรรมชาติผักหวานป่าเจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ตามด้วยการปลูกไม้ระดับกลางคือผักหวานป่าซึ่งเป็นพืชหลัก และการปลูกพืชระดับล่างเป็นพืชอายุสั้นที่ให้ผลผลิตได้เร็ว เช่น พืชผัก เป็นต้น

นอกจากนี้ วว. ได้วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผักหวานป่านอกเหนือจากการรับประทานสด โดยประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปชาผักหวานป่าให้เป็น “ผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าพร้อมดื่ม” มีคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาใบหม่อนและชาดอกคำฝอย “แกงผักหวานป่าสำเร็จรูป” เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของ วว. ในการเพิ่มมูลค่าผักหวานป่า โดยการนำยอดและใบอ่อนของผักหวานป่ามาอบแห้งในอุณหภูมิที่เหมาะสม พบว่าทำให้ยอดและใบอ่อนมีการเปลี่ยนแปลงของสีและคุณค่าทางโภชนาการเพียงเล็กน้อย กล่าวคือวิตามินซีของยอดผักหวานป่าโดยวิธีการทำแห้งเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผักหวานป่าสด พบว่าวิตามินซีในยอดผักหวานป่าแห้งลดลงไม่เกินร้อยละ 10 ของยอดผักหวานป่าสด

การเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว...สู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ วว.ประสบผลสำเร็จในการวิจัยพัฒนา “ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง” โดยนำวัตถุดิบจากมูลสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น มาทำการบดให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับปุ๋ยยูเรีย ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปัจจุบัน วว. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงแก่เกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งได้รับการตอบรับและมีความพึงพอใจในคุณสมบัติของปุ๋ยดังกล่าวอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นปุ๋ยที่บำรุงทั้งต้นไม้และบำรุงดิน ทำให้ต้นข้าว ไม้ผล เช่น ทุเรียน ขนุน ลองกอง ลำไย ส้มโอ เจริญงอกงามดี ให้ผลผลิตสูง เป็นที่ต้องการของตลาด ช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน อันจะส่งผลถึงการเกษตรที่ยั่งยืนในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้วิจัยและพัฒนาข้าว ซึ่งให้ผลผลิตสูงดังกล่าวสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ดังนี้ ข้าวผงผสมเกลือแร่ ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ “ซี-ไรซ์” เครื่องดื่มสกัดจากปลายข้าว น้ำข้าวกล้องงอกจากข้าวสีนิล น้ำสลัดไร้ไขมัน และแคปซูลยาจากปลายข้าวการส่งเสริมการเพาะเห็ดเขตร้อน สถานีวิจัยลำตะคอง วว. จังหวัดนครราชสีมา ส่งเสริมเกษตรกรในการเพาะเห็ดเมืองร้อน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สำหรับรับประทานในครัวเรือนหรือเป็นรายได้เสริม ดังนี้ การเพิ่มผลผลิตเห็ดนางฟ้าภูฏานโดยใช้กากอ้อยโรงงานน้ำตาล วัสดุเพาะเห็ดนี้สามารถเพิ่มผลผลิตเห็ดนางฟ้าภูฏาน 1.2-1.7 เท่าของการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพียงอย่างเดียวเป็นวัสดุเพาะเห็ด และการใช้กากอ้อยโรงงานน้ำตาลทราย 25 เปอร์เซ็นต์ผสมกับขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์จะให้ผลผลิตของเห็ดนางฟ้าภูฏานมากที่สุด และช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ใช้เวลาประมาณ 9 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ การเพาะเห็ดนางรม/นางฟ้า/เห็ดหูหนู/เห็ดเป๋าฮื้อ/เห็ดโคนญี่ปุ่น/เห็ดลม/เห็ดบดในถุงพลาสติก ให้ผลผลิตดี ต้นทุนต่ำ เนื่องจากใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาเพาะได้หลายชนิด เช่น ฟางข้าวสับ ชานอ้อยสับ ซังข้าวโพด และขี้เลื่อย ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายตัวได้ ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ Call center วว. โทรศัพท์ 0 2579 3000 หรือที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 ในวันและเวลาราชการ www.tistr.or.th E-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ